Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการศึกษาวิจัยการกำหนดวิธีการซ่อมแซมบำรุงรักษาโ...

TNRR

Description
รายงานการวิจัย “โครงการศึกษาวิจัยการกำหนดวิธีการซ่อมแซมบำรุงรักษาโครงสร้างอาคารที่อยู่อาศัยที่เสียหายหรือเสื่อมสภาพและวิธีการทดสอบวัสดุสำหรับงานซ่อมแซมในโครงการของการเคหะแห่งชาติ” ได้ข้อสรุปออกมาเป็นคู่มือ 6 เล่มซึ่งมีความเชื่อมโยงกันตั้งแต่คู่มือเล่มที่ 1 จนถึงเล่มที่ 5 สำหรับคู่มือเล่มที่ 6 เป็นการประยุกต์การใช้งานของคู่มือทั้ง 5 เล่มกับอาคารตัวอย่างของการเคหะแห่งชาติเพื่อแสดงตัวอย่างการใช้งานคู่มือกับอาคารจริง และเพื่อให้การนำคู่มือเหล่านี้ไปใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็วในทางปฏิบัติ ที่ปรึกษาจึงได้ทำผังการใช้งานในรูปแบบของ flow chart ซึ่งจะช่วยให้วิศวกรสามารถนำคู่มือทั้ง 5 เล่มไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คู่มือเล่มที่ 1 กล่าวถึงกลไกการวิบัติและสาเหตุของการเสื่อมสภาพของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถใช้เป็นคู่มือในการจำแนกรอยร้าวเบื้องต้น ซึ่งเนื้อหาโดยละเอียดจะอธิบายถึงทฤษฎี สาเหตุของการเกิดการเสื่อมสภาพ พร้อมทั้งแสดงตัวอย่างรูปภาพการเสื่อมสภาพของคอนกรีตประเภทต่างๆไว้ด้วย ความเสียหายที่เกิดขึ้นในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กสามารถจำแนกได้เป็น 13 รูปแบบ ซึ่งจัดกลุ่มได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ การเสื่อมสภาพจากการรับน้ำหนักส่วนเกิน (Excessive load) และ การเสื่อมสภาพจากความคงทน (Durability) ซึ่งท้ายที่สุดแล้วผลของการเสื่อมสภาพจากทั้งสองกลุ่มนี้ จะทำให้เหล็กเสริมในโครงสร้างทำปฏิกิริยากับออกซิเจนและน้ำจนเกิดเป็นสนิมเหล็ก และทำให้เหล็กเสริมสูญเสียกำลังรับแรงดึง และความสามารถในการต้านทานน้ำหนักในที่สุดนั่นเอง การแตกร้าวจากการรับน้ำหนักส่วนเกิน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การออกแบบที่ผิดพลาด การควบคุมงานก่อสร้างที่ไม่มีคุณภาพ หรือการใช้งานอาคารที่ผิดประเภท โดยรูปแบบการแตกร้าวจากน้ำหนักบรรทุกส่วนเกินนี้ จำแนกได้เป็น 4 รูปแบบได้แก่ รอยร้าวดัด รอยร้าวเฉือน รอยร้าวเนื่องจากการสูญเสียแรงยึดเหนี่ยว และรอยร้าวเนื่องจากแรงอัด สาเหตุของการเสื่อมสภาพจากความคงทนของคอนกรีต ประกอบด้วย 5 สาเหตุหลัก ได้แก่ การเสื่อมสภาพโดยสาเหตุทางกายภาพ ทางเคมี ทางกล ทางชีวภาพ หรือเกิดจากสาเหตุรวม ในคู่มือเล่มนี้ได้แบ่งรูปแบบความเสื่อมสภาพจากความคงทนของคอนกรีตออกเป็น 9 รูปแบบได้แก่ 1. การเสื่อมสภาพจากคาร์บอเนชัน 2. การเสื่อมสภาพจากการเกิดสนิมโดยคลอไรด์ 3. การเสื่อมสภาพจากการกัดกร่อนโดยซัลเฟต 4. การเสื่อมสภาพจากการกัดกร่อนโดยกรด 5. การเสื่อมสภาพจากการแข็งตัวและหลอมเหลวของน้ำในคอนกรีต 6. การเสื่อมสภาพจากการสึกกร่อนเนื่องจากการขัดสี การไหลของน้ำและการแตกตัวของฟองอากาศ 7. การเสื่อมสภาพของคอนกรีตจากสาเหตุทางชีวภาพ 8. การหดตัวแบบแห้ง และ 9. การเสื่อมสภาพจากปฏิกิริยาระหว่างด่างกับมวลรวม เนื้อหาในคู่มือเล่มที่ 2 กล่าวถึงการประเมินความเสียหายของโครงสร้าง ซึ่งจะทำให้สามารถกำหนดแนวทางการปฏิบัติต่อความเสียหายของโครงสร้างได้อย่างเหมาะสม และสามารถวางแผนการซ่อมแซมและเสริมกำลังโครงสร้างได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงการบำรุงรักษาโครงสร้างในระยะยาว โดยขั้นตอนการประเมินความเสียหายประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นที่ 1 การตรวจพินิจหรือการสำรวจด้วยสายตา (Visual inspection) ขั้นที่ 2 การประเมินโครงสร้างขั้นต้น เพื่อจำแนกความเสียหายออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ความเสียหายที่มีความสำคัญมาก ความเสียหายที่มีความสำคัญปานกลาง และความเสียหายที่ควรให้การพิจารณา ความเสียหายแต่ละประเภทยังถูกจัดระดับความรุนแรงออกเป็น 4 ระดับได้แก่ระดับที่ 1 เป็นระดับความเสียหายที่ไม่กระทบต่อโครงสร้าง ระดับที่ 2 เป็นความเสียหายที่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ในขณะเวลาที่ทำการสำรวจ ซึ่งจำเป็นจะต้องทำการติดตามความเสียหายนี้อย่างต่อเนื่อง ระดับที่ 3 และ 4 เป็นระดับที่รุนแรง มีความจำเป็นที่จะต้องหาข้อมูลเชิงลึกหรือดัชนีชี้วัดเพิ่มเติม เพื่อนำข้อมูลที่ได้เข้าสู่การประเมินในขั้นรายละเอียด ขั้นที่ 3 สำหรับความเสียหายที่ถูกจัดอยู่ในระดับ 3 และ 4 ต้องทำการระบุค่าดัชนีความเสียหาย 22 ค่าโดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ขั้นที่ 4 จากค่าดัชนีชี้วัดที่ได้ในขั้นตอนที่ 3 จะนำไปใช้ในการประเมินระดับความรุนแรงซึ่งประกอบด้วย 3 ระดับ คือ รุนแรงมาก ปานกลาง และเล็กน้อย ซึ่งผลการวินิจฉัยอาจมีได้ตั้งแต่การยอมรับได้ไปจนถึงการซ่อมแซมและเสริมกำลังโครงสร้าง และ ขั้นที่ 5 ดำเนินการซ่อมแซมและหรือการเสริมกำลัง เนื้อหาในคู่มือเล่มที่ 3 กล่าวถึงการใช้เครื่องมือในการทดสอบเพื่อระบุดัชนีความเสียหาย 22 ค่า โดยอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งการทดสอบจำแนกได้เป็นการทดสอบไม่ทำลายและการทดสอบกึ่งทำลาย การทดสอบแบบไม่ทำลายนั้น เป็นการทดสอบที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่โครงสร้าง ส่วนการทดสอบกึ่งทำลายเป็นการทดสอบที่ทำให้เกิดความเสียหายบางส่วนเพียงเล็กน้อย การทดสอบจะให้ค่าดัชนีความเสียหาย 22 ค่าซึ่งสามารถนำไปใช้ระบุสาเหตุของความเสียหายและวิธีการซ่อมแซมหรือการเสริมกำลังที่เหมาะสมต่อไป หลักการในการตรวจสอบแบบไม่ทำลายนั้นอาศัยปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ เช่น หลักการแพร่และการสะท้อนของคลื่น คลื่นเสียงความถี่สูง การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนทางไฟฟ้า การเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น โดยผลที่ได้จะเป็นการสังเกตการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติหรือการเสื่อมสภาพของวัสดุที่ทำการทดสอบนั้น โดยลักษณะของความผิดปกติหรือการเสื่อมสภาพนั้นสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นที่บริเวณผิว และความผิดปกติภายในวัสดุซึ่งไม่สามารถตรวจสอบด้วยตาเปล่าได้ เนื้อหาของคู่มือเล่มที่ 4 กล่าวถึงแนวทางการเลือกใช้วิธีการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับอาคารของการเคหะแห่งชาติ โดยอาศัยข้อสรุปสาเหตุของความเสียหายจากการวินิจฉัยเบื้องต้นตามเนื้อหาในคู่มือเล่มที่ 1 ผนวกกับการวินิจฉัยโดยละเอียดตามเนื้อหาในคู่มือเล่มที่ 2 และข้อมูลจากการตรวจสอบสภาพคอนกรีตตามเนื้อหาในคู่มือเล่มที่ 3 หลังจากที่ทราบสาเหตุของความเสียหาย คู่มือเล่มที่ 4 นี้จะให้วิธีการซ่อมแซมประเภทต่างๆ ตามความเหมาะสมกับสาเหตุของความเสียหาย วิธีการซ่อมแซมคอนกรีตที่ได้นำเสนอนี้ถูกคัดกรองให้มีความเหมาะสมกับปัญหาความเสียหายส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในอาคารของการเคหะแห่งชาติ โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 8 วิธี ได้แก่ 1. การแทนที่คอนกรีตทั้งองค์อาคาร 2. การแทนที่คอนกรีตเฉพาะจุด 3. การแทนที่คอนกรีตด้วยการเททับเป็นชั้นบางๆ 4. การเททับด้วยคอนกรีตใหม่ 5. การอุดรอยร้าวด้วยการฉีดอีพอกซี 6. การแทนที่ผิวคอนกรีตด้วยการฉาบผิว 7. การเพิ่มเหล็กเสริมเพื่อทดแทนเหล็กเสริมที่เป็นสนิม และ 8. การเคลือบผิวคอนกรีต นอกจากนี้คู่มือยังได้รวบรวมข้อมูลสรุปโดยย่อและราคาโดยประมาณของวิธีการข้างต้น เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจเลือกใช้วิธีการซ่อมแซมที่เหมาะสมต่อไป เนื้อหาในคู่มือบทที่ 5 กล่าวถึงวิธีการเสริมกำลังโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับอาคารของการเคหะแห่งชาติ โดยวิธีที่นำเสนอจะถูกแบ่งตามประเภทขององค์อาคาร นั่นคือ (1) คาน (2) แผ่นพื้นทางเดียว (3) แผ่นพื้นสองทาง และ (3) เสา นอกจากนั้น วิธีการเสริมกำลังยังถูกแบ่งย่อยเพื่อให้เกิดความหลากหลายในการใช้งานตามรูปแบบการวิบัติที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละองค์อาคาร ได้แก่ (ก) การดัด (ข) การเฉือนและการบิด (ค) แรงยึดเหนี่ยว และ (ง) การอัด โดยมีวีธีเสริมกำลังทั้งสิ้น 14 วิธี ได้แก่ (1) Steel plate lining (2) FRP lining (3) Ferrocement jacketing for beams (4) Section enlarging method (5) FRP jacketing for beams (6) Steel beam supporting (7) Ferrocement beam supporting (8) Internal reinforcements (9) Steel collar (10) RC collar (11) Ferrocement jacketing (12) RC jacketing (13) FRP jacketing (14) Steel plate jacketing แนวทางในการคัดเลือกวิธีการเสริมกำลังที่ใช้ในคู่มือเล่มนี้อาศัยแนวคิดของ ความปลอดภัย ความทันสมัย ความเหมาะสมในการประยุกต์สำหรับงานก่อสร้างในประเทศไทย รวมถึงความคุ้มค่าในการเสริมกำลัง ดังนั้นเพื่อตอบสนองต่อแนวคิดข้างต้น คู่มือจึงได้นำเสนอวิธีทางเลือกไว้หลากหลายโดยกำหนดเกณฑ์ (Criteria) สำหรับช่วยในการตัดสินใจเชิงวิศวกรรม เช่น ขนาดหน้าตัดที่เหมาะสม ความยาวขององค์อาคารที่เหมาะสม และความสามารถในการเข้าถึงสถานที่ทำงาน เป็นต้น รวมถึง ให้ข้อแนะนำด้านราคาการเสริมกำลังต่อหน่วย เพื่อช่วยในการตัดสินใจเชิงเศรษฐศาสตร์ด้วย <br><br>The contents of the project “Research and study on repair and maintenance of damaged or degraded residential building structures and test methods of repair materials in NHA projects” can be summarized into 6 manuals which are connected from manual 1 to manual 5. Manual 6 illustrates the application of the previous 5 manuals to the real example buildings of NHA. These manuals are summarized into the flow chart that will aid the engineers to use the manuals effectively and conveniently. Manual no. 1 describes failure mechanism and causes of deterioration of reinforced concrete structures. It is used to classify cracks. The manual explains the theory, causes and formation of deterioration in detail. Photos of each deterioration type are also included. The damages in reinforced concrete structures can be classified into 13 types, all of which can be grouped into 2 major categories, that is, (1) deterioration due to excessive loading and (2) deterioration due to durability. These two deteriorations can lead to chemical reaction between reinforcements and oxygen and moisture that form rusting and cause the bars to lose strength and finally resulting in the failure of the structure. Deterioration due to excessive loading is caused by several factors such as design error, bad construction supervision, misuse of buildings etc. There are four types of cracks caused by excessive loading, namely, flexural crack, shear crack, bond splitting crack and compressive crack. The deterioration due to durability is caused by 5 major factors, namely physical deterioration, chemical deterioration, mechanical deterioration, biological deterioration and mixed causes. In this manual, the deterioration due to durability has been classified into 9 cases, namely Carbonation, Corrosion due to chloride, Deterioration due to sulfate attack, Deterioration due to acid attack, Deterioration due to Freeze and Thaw, Deterioration due to abrasion and cavity, Deterioration due to biological effect, Drying shrinkage and Alkali-Silica reaction. Manual no. 2 deal with assessment of structural damages, which will assist in determining the appropriate measures for repairing, strengthening and long term maintenance of structures. The damage evaluation consists of 5 steps as follows, Step 1: Visual inspection is the first step to visually observe damage and severity. Step 2: Preliminary structural evaluation. In this step, damage will be classified into 3 cases depending on the significance level as Critical damage, Moderate damages and Damages needing consideration. Each of damage can be classified further as level 1-4, depending on its severity. The level 1 damage is minor and is mostly confined to the plastering layer on the surface of the members. For the level 2, the damage is acceptable during the times of investigation. However, periodical monitoring is required to follow up the progress of damage. Level 3 and 4 are severe damages that require additional damage indices for further judgement. Step 3: For damages that are classified as level 3 and 4, in-depth investigation for additional indices are required in order to quantify the severity of incurred damages. There are 22 key indices, each of which is described in detail in the manual. Step 4: From the indices, we can categorize the severity into 3 levels, namely, severe, moderate and minor. For each severity level, different measures have been recommended, including repairing, strengthening and monitoring. Step 5: In the step 5, the repair and/or strengthening will be applied as appropriate. Manual no.3 provides details on testing and instruments to determine 22 indices. The tests can be divided into 2 major categories, non-destructive testing and semi-destructive testing. The non-destructive testing is the test that does not cause damage to the existing structures, but semi-destructive testing can cause some minor damages. The test usually gives numeric data of 22 indices which are useful for the evaluation of causes and for deciding the suitable repair and/or strengthening method. The non-destructive testing works on physics phenomena such as wave propagation and reflection, high frequency waves, electromagnetic, magnetic induction etc. The results of testing can determine the extent of deterioration or irregularity at the surface or the interior part of the structures. Manual no. 4 proposes suitable repair methodology for concrete structures. The selection of suitable repair method depends on causes which are identified in the preliminary investigation in manual no.1, detailed investigation in manual no.2 and testing results in manual no.3. This manual proposes 8 repair methods, namely (1) total member replacement, (2) partial member replacement, (3) surface conditioning, (4) concrete overlay, (5) epoxy injection, (6) plastering, (7) reinforcement addition and (8) surface coating. In each repair method, brief description and approximate budget are also recommended to aid users in deciding the appropriate method. The manual no. 5 explains the strengthening method for reinforced concrete structures. The strengthening method is categorized according to the member types, that is, (1) beam, (2) one-way slab, (3) two-way slab and (4) column. For each member type, the strengthening method has been sub-divided further according to the failure modes, namely (a) flexural, (b) shear and torsion, (c) bond and (d) compression. Totally, 14 strengthening methods have been proposed. They are (1) Steel plate lining (2) FRP lining (3) Ferrocement jacketing for beams (4) Section enlarging method (5) FRP jacketing for beams (6) Steel beam supporting (7) Ferrocement beam supporting (8) Internal reinforcements (9) Steel collar (10) RC collar (11) Ferrocement jacketing (12) RC jacketing (13) FRP jacketing and (14) Steel plate jacketing. The guideline for selection of strengthening method is based on safety, modern technology, suitability with Thai construction and economy. In order to comply with these criteria, the manual provides the conditions to use each strengthening method, for example, appropriate dimensions and accessibility and also unit cost for economical consideration.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

การเคหะแห่งชาติ

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ