Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาจีนเชิงสร้างสรรค์ผ่านศาส...

TNRR

Description
ศาสนวัตถุภายในวัดถ้ำสิงโตทอง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรีมีคุณค่าต่อการจัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้ทางภาษาจีน โดยเชื่อว่าศาสนวัตถุของวัดแห่งนี้เป็นสื่อเชื่อมโยงการเรียนรู้ทางภาษาจีนที่แฝงไว้ด้วยคุณธรรมและจริยธรรมแก่ผู้ที่เดินทางมาท่องเที่ยวหาความรู้ การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาลักษณะทั่วไปของศาสนวัตถุในวัดถ้ำสิงโตทอง และจัดแหล่งเรียนรู้ภาษาจีนผ่านศาสนวัตถุในวัดถ้ำสิงโตทองสำหรับใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น แล้วสร้างคู่มือแหล่งเรียนรู้ภาษาจีนเชิงสร้างสรรค์ผ่านศาสนวัตถุวัดถ้ำสิงโตทอง ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและสำรวจเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทั่วไปของศาสนวัตถุในวัดถ้ำสิงโตทอง สามารถจำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1) แหล่งเรียนรู้ที่ถูกสร้างขึ้นจากความเชื่อและความศรัทธา เช่น ลานสักการะ และกุฏิหลวงปู่โต๊ะ เป็นต้น 2) แหล่งเรียนรู้ที่เกิดจากธรรมชาติสร้างขึ้น ประกอบด้วย ถ้ำหลวงปู่โต๊ะ และถ้ำสิงโตทอง รวมถึงต้นไม้และสมุนไพร การจัดแหล่งเรียนรู้ภาษาจีนผ่านศาสนวัตถุในวัดถ้ำสิงโตทองสำหรับใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นพบว่า การจัดแหล่งเรียนรู้ภาษาจีนผ่านศาสนวัตถุในวัดถ้ำสิงโตทองสำหรับใช้ เป็นแหล่งเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ศาสนวัตถุภายในวัดถ้ำสิงโตทองที่เป็นรูปธรรมสามารถจับต้องได้มีจำนวน 6 แหล่ง และประเภทที่ 2 ศาสนวัตถุภายในวัดถ้ำสิงโตทองในส่วนที่เป็นรูปธรรมจับต้องไม่ได้มีจำนวน 3 แหล่ง ผลการจัดสร้างคู่มือแหล่งเรียนรู้ภาษาจีนเชิงสร้างสรรค์ผ่านศาสนวัตถุวัดถ้ำสิงโตทอง พบว่า ได้จำแนกบทเรียนภาษาจีนออกเป็น 9 บทเรียน ได้แก่ 1) ประวัติวัดถ้ำสิงโตทอง 2) ลานสักการะ 3) ประวัติพระครูภาวนาโชติคุณ 4) กุฏิหลวงปู่โต๊ะ5) อัตชีวประวัติพระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ) 6) ส่วนหน้าและส่วนในถ้ำหลวงปู่โต๊ะ 7) บนยอดเขาถ้ำหลวงปู่โต๊ะ 8) ถ้ำสิงโต และ 9) ไม้ยืนต้นและพืชสมุนไพร<br><br>The artifacts in Thum-Sing-Tho-Thong Temple, in Chombueng, Ratchaburi were valuable and enriched with historical Chinese traces. The temple was worth to become as a Chinese Language Learning Center. As the items were filled with Chinese morality and ethics, they could be well depicted with the stories that the tourists were keen to learn. The objective of this study were (1) to investigate the general characteristics of the artifacts found in Thum-Sing-Tho-Thong Temple, and (2) to establish the temple to become a Local Chinese Language Learning Center transferring the knowledge through those artifacts, as well as (3) to develop a tourist manual. It was a qualitative research. Data were collected by using In-Depth Interview with key informants, Non-Participant Observation, Documentary Survey and the data were analyzed by using Content Analysis. The findings revealed that the general characteristics of the artifacts found in the temple could be categorized into 2 groups, including (1) man-made artifacts created from the root of cultural belief and faith such as the ritual courtyard, Luang Pu Tho’s (the former abbot) monastery, etc, (2) natural learning resources, including Luang Pu Tho Cave, Sing-Tho-Thong Cave, as well as a variety of herb plants. Management of the artifacts for the learning center was divided into 2 types as (1) type 1 was determined as tangible religious artifacts consisted of 6 sources, and (2) type 2 was determined for intangible artifacts consisted of 3 sources. For the tourist creative manual, it was designed with 9 topics of the learning content including the information regarding (1) the history of Thum-Sing-Tho-Thong Temple, (2) the ritual courtyard, (3) the history of Phrakhru Pawanachotikun, (4) Luang Pu Tho’s monastery, (5) Luang Phu Tho’s biography, (6) Luang Phu Tho Cave, both in the front and the back areas, (7) the summit of the hill of Luang Pu Tho Cave, (8) Sing-Tho-Thong cave, and (9) perennial plants and herb plants.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ