Notifications

You are here

อีบุ๊ค

อนุภาคนาโนสำหรับการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้าด้วยการกร...

TNRR

Description
อนุภาคนาโนอินทรีย์เป็นหนึ่งในนวัตกรรมแนวใหม่ด้านเทคโนโลยีนาโนทางการแพทย์ที่เรียกว่า เทอราโนสติก ที่รวมเอาคุณสมบัติการรักษาและการตรวจวินิจฉัยมะเร็งมาไว้ในวัสดุชนิดเดียวกัน โดยวัสดุขนาดนาโนดังกล่าวสามารถดูดซึมเข้าเซลล์มะเร็งแบบมุ่งเป้าได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากเซลล์มะเร็งมีช่องเปิดระดับนาโนใหญ่กว่าเซลล์ปกติ โดยในข้อเสนอโครงการนี้ อนุพันธ์ของเอซา-บอดิปี้ จะถูกนำมาใช้เป็นสารดูดซับแสง สำหรับการรักษามะเร็งโดยการกระตุ้นด้วยแสง ซึ่งอนุพันธ์ของเอซา-บอดิปี้ดังกล่าว มีแนวโน้มที่จะปลดปล่อยซิงเกรตออกซิเจนซึ่งมีความว่องไวและสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ ผ่านการกระตุ้นด้วยแสงในย่านใกล้รังสีอินฟราเรด ในขณะเดียวกันอนุพันธ์ดังกล่าวยังสามารถปลดปล่อยสัญญาณแสงฟลูออร์เรซเซ็นต์ได้อีกด้วย โดยสัญญาณแสงดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งพร้อมกับรักษามะเร็งได้ ตามหลักการของเทคโนโลยีเทอราโนสติก อย่างไรก็ตามอนุพันธ์ของเอซา-บอดิปี้ซึ่งมีคุณสมบัติความไม่ชอบน้ำสูง จะถูกนำมาห่อหุ้มเป็นวัสดุนาโนก่อนนำไปใช้ ด้วยเทคนิคนาโนเอนแคปซูเลชันเพื่อวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการละลายน้ำให้กับอนุพันธ์ของเอซา-บอดิปี้ และ 2) เพื่อเพิ่มการดูดซึมเข้าเซลล์มะเร็งแบบมุ่งเป้า ท้ายที่สุดวัสดุนาโนห่อหุ้มอนุพันธ์ของเอซา-บอดิปี้ที่เตรียมได้ จะถูกนำมาทดสอบประสิทธิภาพการดูดซึมเข้าเซลล์มะเร็ง รวมถึงประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์มะเร็งหลังการกระตุ้นด้วยแสง เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการนำไปพัฒนาเป็นวัสดุเพื่อใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อไป<br><br>Organic nanoparticles represent an emerging technology in the field of theranostic nanomedicine that combine diagnostic and therapeutic applications in a single agent. These materials have been shown to specifically target tumor cells via enhanced permeability and retention (EPR) effect allowing a carried therapeutic agent to precisely treat cancer. In this proposal, the 2,6-halogen substituted aza-BODIPY derivatives are proposed to use as photosensitizer for photodynamic therapy (PDT). They are prone to generate singlet oxygen species that can kill cancer cell upon near infrared (NIR) light irradiation. Simultaneously, their fluorescence emissions can be employed for cancer diagnostics which is consistent with the theranostic concept. However, due to the hydrophobicity of the aza-BODIPYs, the nanoencapsulation methods, including nanoprecipitation and emulsification-solvent evaporation techniques are applied to enhance water-suspendability of the dye as well as cancer-targeting ability via EPR effect. Finally, the cell-internalization and photodynamic efficiency for cancer cell treatment of the prepared nanoparticles will be examined to confirm their potential for future clinical uses as new PDT agents.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ