Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การประเมินผลกระทบภายนอกจากการท่องเที่ยวในจังหวัดท่...

TNRR

Description
แผนงานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบภายนอกจากการท่องเที่ยวในชุมชนท่องเที่ยวของจังหวัดท่องเที่ยวรองจากการใช้ข้อมูลปฐมภูมิเพื่อประมาณการแบบจำลองทางเลือกและการสร้างบัญชีเมตริกซ์สังคมด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย ผลการศึกษา พบว่า การขยายตัวของการท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองส่งผลกระทบต่อประชาชนในชุมชนท่องเที่ยวทั้งในด้านผลบวกและผลลบประเมินได้เป็นความต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์เท่ากับ 164.30 บาทต่อคนต่อวัน ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2563 ลดลงเท่ากับ 6,407.87 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.99 ของรายได้จากการท่องเที่ยวของปี 2563 ผลจากการพัฒนาบัญชีเมตริกซ์สังคมด้านการท่องเที่ยว ระบุว่า การขยายตัวของการท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองจะชักนำให้เกิดการผลิตและการบริโภคในสาขาการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ทำให้เกิดผลกระทบภายนอกด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ผลกระทบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG Emission) ผลกระทบต่อการใช้พลังงาน และ ผลกระทบด้านขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สรุปได้ว่า การขยายตัวของการท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองในปัจจุบันมีต้นทุน คือ ผลกระทบภายนอกภาคการท่องเที่ยว ต้นทุนในส่วนนี้จะไม่สามารถมองข้ามได้อีกต่อไป จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการให้ผลกระทบภายนอกภาคการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นเปลี่ยนสถานะจากต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของท่องเที่ยวเป็นผลได้ทางเศรษฐศาสตร์จากการท่องเที่ยว เกิดขึ้นจากการกำหนดมาตรการ นโยบาย และแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เหมาะสม ที่จะส่งเสริมผลกระทบภายนอกด้านผลบวก และ ลดผลกระทบภายนอกด้านผลลบ ได้แก่ (1) การผลักดันการดำเนินมาตรการและแผนงานต่างๆ อย่างต่อเนื่องและเข้มข้น (2) การสนับสนุนการขยายตัวของการท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวจากออกแบบและสร้างห่วงโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวด้วยวัฒนธรรมและอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น (Unique Local Supply Chain) (3) ควรสนับสนุนการพลังงานทดแทนอย่างจริงจัง เช่น ด้วยการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) และการท่องเที่ยวที่ปราศจากขยะ (Zero Waste) (4) ควรมีการระบุทิศทางการขยายตัวของการท่องเที่ยวแต่ละจังหวัดท่องเที่ยวรองที่ชัดเจน (5) ควรมีการดำเนินมาตรการในระยะสั้นเพื่อชดเชยผลทางลบที่เกิดเพื่อรักษาความรู้สึกที่ดีกับการขยายตัวของการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในชุมชน (6) ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จของการดำเนินมาตรการ คือ การบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และ ประชาชนในชุมชนท่องเที่ยว และ (7) ควรจะนำต้นแบบที่ได้นี้ไปใช้ประเมินผลกระทบภายนอกภาคการท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวหลักให้มีความครบถ้วนและสามารถนำไปใช้เพื่อกำหนดมาตรการหรือนโยบายในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ต่อไป<br><br> The objective of this project is to evaluate the tourism externalities in second-tier tourism provinces by applying both primary and secondary data. The results shown that the tourism expansion in second-tier tourism provinces can introduced both positive and negative impacts on people who live in tourism area. The tourism externalities equal -164.30 baht per person per day. Then, the tourism revenues in 2020 must declines by 6,407.87 million baht. By using tourism social accounting matrix (SAM), the results shown that the tourism expansion induces production and consumption in tourism related sectors and generate the externality on environment including GHG emission, energy consumptions, and solid waste. Tourism externalities can be recognized as the cost of tourism which cannot disregard. To manage the tourism externalities, the policy recommendations are (1) focus on the tourism development strategies continously (2) create the unique local supply (3) promote green tourism and zero waste campaigns (4) enhancing the cooperation among related unit involving policy managements (5) subsidies to people who live in tourism area (6) and (7) evaluate the tourism externalities in other provinces.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ