Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกคร...

TNRR

Description
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการของ อปท. ที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ อปท. ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) เพื่อหาแนวทางการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้สูงขึ้น อาศัยการวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับ อปท. ในภาคเหนือ โดยการเลือกแบบเจาะจง (Speculative random sampling) ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา อุตรดิตถ์ และน่าน รวม 6 จังหวัดๆ ละ 5 แห่ง รวมเป็น 30 แห่ง ทั้งนี้แต่ละแห่งทำการคัดเลือกตัวอย่างเกษตรกรในพื้นที่ของตนเองแห่งละ 10 ครัวเรือน ได้เกษตรกรตัวอย่างทั้งโครงการ 300 ครัวเรือน เพื่อวัดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรอัจฉริยะพอเพียง และวิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณะด้านการเกษตรของ อปท. ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางเศรษฐศาสตร์ (Data Envelopment Analysis Program: DEAP) อภิปรายผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ จากนั้นทำการจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับ อปท. และเกษตรกร เพื่อใช้ในการวางแผนเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น ด้วยการ Focus Group และวิพากษ์ด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 9 องค์กร ผลการวิจัยพบว่า อปท. ทั้ง 30 แห่ง มีการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพในระดับสูง โดยมีค่าประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณะด้านการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2564 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 88.30 และแต่ละจังหวัดมีค่าคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80.00 โดยมีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณะด้านการเกษตรของ อปท. คือ (1) สัดส่วนงบประมาณด้านการเกษตรต่องบประมาณทั้งหมด (ร้อยละ) (2) พนักงานประจำ (คน) ที่ดูแลด้านการเกษตร และ (3) จำนวนศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตร (แห่ง) และทั้งนี้พบว่า อปท. ที่มีประสิทธิภาพในการให้บริการสูงสามารถยกระดับความเป็นเกษตรกรอัจฉริยะพอเพียง (Smart SEP Farmer) ในระดับเข้าถึงด้วย ได้แก่ (1) อบต.ห้วยทราย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โดย นายนิกร แจ้งแสง (2) ทต.ป่าสัก อ.เมือง จ.ลำพูน โดย นายอำนวย ผัดสัก (3) อบต.สันกลาง อ.พาน จ.เชียงราย โดย นายอนุชิต วงศ์ไฝ และ (4) อบต.หัวง้ม อ.พาน จ.เชียงราย โดย นายหนุ่ย อังก์นันท์ และเมื่อทำการจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับ อปท. และเกษตรกร และวิพากษ์ด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 9 องค์กรแล้วพบว่า เกษตรกรสามารถการยกระดับความเป็นอยู่ได้สูงขึ้นจากไม่เข้าข่ายเป็นเข้าข่าย เข้าใจ และเข้าถึงความเป็นเกษตรกรอัจฉริยะพอเพียง และเกษตรกรทั้ง 4 แห่งที่มีระดับเข้าถึงจะเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบให้กับเกษตรกรทั้งหมด ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะคือ อปท. ควรวางแผนการขับเคลื่อนและยกระดับประสิทธิภาพให้สูงขึ้น โดยการจัดทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตรที่ส่งผลต่อการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้สูงขึ้น มีการกำหนดงบประมาณ และบุคลากรผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน และบูรณาการงานร่วมกับนักวิจัย โดยระบุไว้ในแผนงบประมาณปี 2565 และแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ของ อปท. ให้เกิดความยั่งยืนต่อไป<br><br>The purposes of the research were to 1) study the management of the subdistrict administrative organization that affects the drive to improve farmers’ livelihoods according to Sufficiency Economy Philosophy (SEP); 2) investigate the factors affecting the SEP, and 3) enable the ways to improve farmers’ livelihoods based on SEP. The participatory research with the subdistrict administrative organizations was carried out by speculative random sampling organizations in Chiang Mai, Lamphun, Chiang Rai, Payao, Uttaradit, and Nan. The sum of subdistrict administrative organizations in 6 provinces were 30 places, 5 places of each province. Each subdistrict administrative organization selected farmers for 10 households in its area. The sample farmers of the project were 300 households. The smart SEP farmers were tested for measuring the level of Sufficiency Economy, and then analyzed the efficiency of agricultural public services of the subdistrict administrative organization using the Data Envelopment Analysis Program (DEAP). The resulted were discussed with descriptive statistics, mean, and percentage. After that, a forum was organized to return information to subdistrict administrative organizations and farmers for use in planning to improve farmers’ livelihoods by focus group and criticizing experts from 9 relevant institutes. The research results revealed that all 30 subdistrict administrative organizations had high-efficiency management that affected the drive to improve the farmers’ livelihoods based on the SEP. The efficiency values in agricultural public service for the fiscal year 2021, the average score was 88.30 per cent, and each province had a score of not less than 80.00 percent. The factors affecting the efficiency of agricultural public service of the subdistrict administrative organizations were : (1) the proportion of agricultural budget to the local budget (per cent) (2) full-time employees (persons) in charge of agriculture and (3) number of agricultural learning center (locations). In addition, it was found that the subdistrict administrative organization with high efficiency could upgrade the level of smart SEP farmers to the accessible level as well, including (1) Hui Sai Subdistrict Administrative Organization, Mae Rim District, Chiang Mai Province, by Mr. Nikorn Chaengsang (2) Pasak Subdistrict Municipality, Muang District, Lamphun Province, by Mr. Amnuay Padsak (3) San Klang Subdistrict Administrative Organization, Phan District, Chiang Rai Province, by Mr. Anuchit Wongfai and (4) Hua Ngom Subdistrict Administrative Organization, Phan District, Chiang Rai, by Mr. Nui Angknan. Then organized a forum to return information to the subdistrict administrative organizations and farmers and criticized with experts from 9 related agencies. it was found that farmers were able to raise their livelihoods higher, from not being in the category to understand, and access to being smart SEP farmers. And all 4 farmers in the subdistrict administrative organizations with accessible levels will be models of learning centers for all farmers. However, there are some suggestions that the subdistrict administrative organizations should plan to drive and upgrade to higher efficiency by establishing a Sufficiency Economy project in agriculture. That affects to increase the livelihoods of farmers by having a budget and personnel responsible, and integrating work with researchers. That is stated in the budget plan for the year 2022 and the 5-year strategic planning of the subdistrict administrative organizations to ensure sustainability.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ