Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาการใช้ประโยชน์ศัตรูธรรมชาติเพื่อการควบคุมศ...

TNRR

Description
บทคัดย่อโครงการวิจัยนี้ มีสามกิจกรรมย่อย กิจกรรมที่หนึ่ง การพัฒนาชีวภัณฑ์เชื้อ Bacillus subtilis SK1-3 ในรูปผงแห้งแบบพ่นฝอย (spray dried) และทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรครากเน่าโคนเน่ากะหล่ำปลี สาเหตุจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii Sacc. (Polyporales: Atheliaceae) ชีวภัณฑ์แบบผงที่ผลิตได้มีสาร carboxymethyl cellulose (CMC) ผสมแป้งมันสำปะหลังเป็นสารปกป้องเซลล์ B. subtilis SK1-3 จากความร้อนที่อุณหภูมิ 65 oซ ที่ใช้ในการผลิต อายุเก็บรักษาชีวภัณฑ์ที่ระยะเวลาหกเดือนที่อุณหภูมิ 4 oซ พบเชื้อ B. subtilis SK1-3 รอดชีวิต 1.20x107 cfu/ml และ ที่อุณหภูมิห้องพบเชื้อรอดชีวิต 1.10x106 cfu/ml นำผงชีวภัณฑ์เลี้ยงเพิ่มปริมาณเป็นหัวเชื้อชีวภัณฑ์ (starter culture) และเชื้อขยาย (multiplied medium culture) ก่อนนำไปทดสอบการควบคุมโรครากเน่าโคนเน่ากะหล่ำปลี ในสภาพโรงเรือนและแปลงทดสอบ พบว่ากะหล่ำปลีเกิดโรคน้อยที่สุด 6.66% และ 8.89% ตามลำดับ กิจกรรมที่สอง การเพาะเลี้ยงศัตรูธรรมชาติ ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 ถึง กรกฎาคม 2564 ผลิตผงชีวภัณฑ์เอสเค ผงชีวภัณฑ์บีมิกซ์ ได้จำนวน 125 และ 130 กิโลกรัม ตามลำดับ ผลิตชีวภัณฑ์เชื้อรา Trichoderma harzianum Rifai (Hypocreaceae : Hypocreales) สายพันธุ์ UB-01, Beauveria bassiana (Bals.-Criv) Vuill (Moniliales : Moniliaceae) สายพันธุ์ UB3-1, Metarhizium anisopliae Metsch. Sorokin (Moniliales: Moniliaceae) สายพันธุ์ YT1-5 และสายพันธุ์ MN02 ในรูปหัวเชื้อ (10 กรัม/ขวด) ได้จำนวน 250, 160, 250 และ 60 ขวด ตามลำดับ ในรูปเชื้อสดพร้อมใช้ได้ จำนวน 500, 620, 800 และ150 กิโลกรัม ตามลำดับ ผลิตไส้เดือนฝอยทำลายแมลงในรูปพร้อมใช้จำนวน 420 ถุง เพาะเลี้ยงแมลงช้างปีกใส Mallada basalis Walker (Neuroptera : Chrysopidae), มวนพิฆาตEocanthecona furcellata Wolff (Hemiptera: Pentatomidae), มวนเพชฌฆาต (Sycanus collaris Fabricius (Heteroptera: Reduviidae), แมลงหางหนีบสีดำ (Euborellia sp. (Dermaptera : Chelisochidae) และด้วงเต่าลายหยัก(Menochilus sexmaculatus Fabricius. (Coleoptera: Coccinellidae) ได้ 5,618, 4,597, 3,077, 10,680 และ 3,987 ตัว ตามลำดับ กิจกรรมที่ 3 การถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการศัตรูผักโดยชีววิธี ประกอบด้วยสองส่วน ส่วนที่หนึ่ง) ทำแปลงสาธิตการควบคุมศัตรูผักคะน้า สลัดกรีนคอส และกะหล่ำปลี โดยชีววิธีร่วมกับการควบคุมแบบผสมผสานแต่ไม่ใช้สารเคมี ในแปลงเกษตรกร ผลการทดสอบพบว่า สลัดกรีนคอสมีอัตราส่วนของรายได้ต่อการลงทุน (Benefit cost ratio, BCR ) อยู่สูงสุดทั้งฤดูปลูกที่หนึ่งและสอง โดยมีค่า BCR เท่ากับ 12 และ 14 ตามลำดับ ส่วนที่สอง) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการควบคุมศัตรูผักโดยชีววิธีผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการเจ็ดครั้ง มีผู้รับการถ่ายทอดจำนวน 175 คน ประเมินผลก่อนและหลังรับการถ่ายทอดความรู้ พบว่าผู้รับการอบรมฯมีความรู้ด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีเพิ่มขึ้น30.43% ทำการติดตามการใช้ศัตรูธรรมชาติของผู้รับการอบรมฯ พบว่ามีผู้นำชีวภัณฑ์ไปใช้จำนวน 52 ราย และจำนวน 7 รายที่ผลิตศัตรูธรรมชาติใช้เองหรือแจกจ่ายให้สมาชิกในกลุ่มคำสำคัญ การควบคุมโดยชีววิธี การถ่ายทอดเทคโนโลยี ชีวภัณฑ์แบบพ่นฝอย<br><br>AbstractThe projects consisted three sub-activities. The first activity was development of spray-dried powder biopesticide from Bacillus subtillis SK1-3 for controlling the root rot and stem rot disease caused from Sclerotium rolfsii Sacc. (Polyporales:Atheliaceae) fungus. Spray dried B. subtilis SK1-3 powder was produced. As shelf life analysis result at six months undert 4 oC and room temperature was examined. The highest amount of survival B. subtilis SK1-3 (1.20x107 cfu/ml and 1.10 x 106 cfu/ml, respectively) were found. Mass rearing of B. subtilis SK1-3 were produced for starter culture and multiplied medium culture. The controlling root rot and stem rot pathogen, S. rolfsii, in cabbage under green house and field trail condition were tested. It were showed that, lowest percentage of disease incidence at 6.66% and 8.89 %, respectively. The second activity was to cultivate natural enemies of pests. During November 2020 to July 2021, SK-biopesticide (130 kgs), B-mixed biopesticide (125 kgs) were produced. For antagonistic fungi, Trichoderma harzianum Rifai (Hypocreaceae : Hypocreales) UB-01 strain, Beauveria bassiana (Bals.-Criv) Vuill (Moniliales : Moniliaceae) UB3-1 strain, Metarhizium anisopliae Metsch. Sorokin (Moniliales: Moniliaceae) YT1-5 and MN02 strains, were produced in form of starter culture (10 g/bottle), which were 250,160, 250 and 60 bottles, respectively, and in form of fresh culture, which were 500, 620, 800 and 150 kgs, respectively. The Entomopathogenic Nematode were produced to 420 packages. To increase the number, predatory insects including Mallada basalis Walker (Neuroptera : Chrysopidae) (5,618 adults), Eocanthecona furcellata Wolff (Hemiptera: Pentatomidae) (4,597adults, Sycanus collaris Fabricius (Heteroptera: Reduviidae) (3,077 adults), Euborellia sp.(Dermaptera : Chelisochidae (10,680 adults, and Menochilus sexmaculatus Fabricius. (Coleoptera: Coccinellidae) (3,987adults). The third activity was transferring technology of biological control on vegetable pest management. There were two activities in this part. The first activity was to apply biological controls for controlling pests of kale, cos lettuce and cabbage to demonstration plots, which were 3 farmer fields. The highest benefit cost ratio (BCR) was founf of cos lettuce was 12 and 14, respectively. The second activity is to transfer biological control technology by training were held seven times. There were 175 participants. According to the evaluation of pre-tests and post-tests from these trainings, the results showed that the participitants (30.43%) had better understanding in biological control technology. In the monitoring process, showed that there were fifty- two people using biopesticides and seven people producing natural enemies by themselves or distributing to their group.Keywords: biological control, technology transfer, spray-dried powder biopesticide

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ