Description
บทคัดย่อ การท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทยได้รับการพัฒนาเกือบ 3 ทศวรรษ จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม การศึกษาเพื่อยกระดับระบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการฐานข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทยแบบมีส่วนร่วม ศึกษากลไกการพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย ศึกษาอัตลักษณ์ การตลาด และระบบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย เสนอระบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนองค์รวมของประเทศไทย และนำเสนอแนวทางยกระดับระบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน พื้นที่วิจัยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง จากฐานข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ได้ศึกษาไว้ในระยะที่ 1 และ 2 เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย การสำรวจพื้นที่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดประชุมกลุ่มย่อย และแบบสอบถาม ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในคณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชนและหน่วยงานส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนทั่วประเทศ แกนนำชุมชนและสมาชิกที่เกี่ยวข้องภายในชุมชน นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวกลุ่มตลาดเฉพาะ และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในชุมชน ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนารูปแบบการจัดการระบบปฏิบัติการฐานข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทยแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ที่ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองข้อมูล สิทธิของส่วนบุคคล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาและการดูแลระบบปฏิบัติการฐานข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทย ได้แก่ การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ การนำเข้าข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เก็บรวบรวมระหว่างปี 2561 และ 2562 เข้าสู่ระบบ การจัดการการเข้าถึงข้อมูลระบบ การคุ้มครองข้อมูลและความปลอดภัยของข้อมูล และมีระบบการเชื่อมต่อข้อมูลไปสู่เว็บไซต์ภายนอก ประเทศไทยแบ่งเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับประเทศ ภูมิภาค จังหวัด และชุมชน รูปแบบของเครือข่าย แบ่งออกเป็น 4 ระดับ เช่นกัน ได้แก่ 1) กระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่ม 2) วิเคราะห์สถานภาพของเครือข่าย 3) กำหนดยุทธศาสตร์ และ 4) ปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ รูปแบบการจัดตั้งเครือข่ายในแต่ละระดับ และรูปแบบเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนในแต่ละภูมิภาค มิติด้านการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชุมชนส่วนใหญ่มีโปรแกรมท่องเที่ยวที่เสนอขายห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวพื้นฐาน ธุรกิจเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน รูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่ไปท่องเที่ยวชุมชนท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (2019) ระบบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้แก่ การเคลื่อนที่ทางกายภาพ การเคลื่อนที่ของข้อมูลข่าวสารยุคใหม่ และการเคลื่อนที่ทางการเงินในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล และอัตลักษณ์ชุมชนที่ถูกนำมาพัฒนาเป็นสินค้าด้านการท่องเที่ยว ระบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย ประกอบด้วย จัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เป็นแผนเดียวกัน ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่องค์กรธุรกิจ และพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ได้มาตรฐานการท่องเที่ยว นอกจากนี้ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาระบบเครือข่ายการสื่อสาร พัฒนาดิจิทัล แฟลตฟอร์ม และสร้างคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพิ่มขึ้น เป็นแนวทางที่จำเป็นในการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน ทั้งนี้ การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับจังหวัดที่ การนำนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการท่องเที่ยว และการรวมตัวกันเป็นองค์กรธุรกิจที่สามารถแข่งขันได้ยังเป็นจุดอ่อนที่สำคัญของการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย คำสำคัญ: การท่องเที่ยวโดยชุมชน, ฐานข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชน, อัตลักษณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชน,เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน, ระบบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวโดยชุมชน<br><br>AbstractCommunity-based tourism in Thailand has been developed for three decades from government and private sector agencies to use as the tool for developing social, economy and environment. Project a study for raise the system of community-based tourism management of Thailand towards sustainability aims to study to develop participatory community-based tourism database system in Thailand, study the mechanic to develop community-based tourism network in Thailand, study community-based tourism identity, marketing and logistic system, propose the holistic community-based tourism management system of Thailand, and propose the approach to raise community-based tourism management system of Thailand towards sustainability. Study areas were selected by purposive sampling from studied community-based tourism database in phase 1 and 2, field survey, in-depth interview, focus group discussion and questionnaire were used to collect data, the sampling population consisted of the representative from government and private agencies of CBT Thailand, marketing promotion organizations both government and private sectors, nationwide community-based tourism network, tourism relevant leaders and members within community, community-based tourism academic, niche market tour operators and tourists visiting tourism community. It found that the developing a model for management of participatory community-based tourism database operating system in Thailand consisting of Personal Data Protection Act B.E. 2562 that gives precedence to data protection and right of privacy, agency involving community-based tourism, guidelines for stakeholders’ participation in the development and maintenance of community-based tourism database operating system in Thailand i.e., websites design and development, input community-based tourism data collected in 2018-2019, management of access system information, data protection and security, and system to connect data to external websites. Thailand divides the community-based tourism network into four levels: country, region, province, and community. The network model is also sprites into four level: stimulate and encourage group integration, analyze network status, formulate a strategy, and implement the strategic plan. Dimensions of community-based tourism marketing: most communities design tourism program that offer a basic tourism supply chain, behavioral patterns of tourists visiting community amid the coronavirus pandemic 2019 (2019). The community-based tourism logistics system consists of physical mobility, the movement of information in new era, and financial mobility in the technology era. The community identity being developed into tourism products. Community-based tourism management system in Thailand comprises of single community-based tourism development plan, driving community-based tourism to business organization, and developing community-based tourism that meets tourism standards. In addition, developing infrastructure, communication system network, digital flatform, and create more new generations to participate in community-based tourism management are essential approach to raise Thailand’s community-based tourism towards sustainability. Thailand’s community-based tourism, however, the development of community-based tourism networks at the provincial level, use innovation and digital technology for tourism development and being a competitive business organization is still a majority weakness of Thailand’s community-based tourism.Keyword: community-based tourism, Community-based tourism database, community-based tourism identity, community-based tourism logistics system
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read