Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การขยายผลการใช้นวัตกรรมการบูรณาการภาษาศาสตร์กับการ...

TNRR

Description
โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นการขยายผลการใช้นวัตกรรมการบูรณาการภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษแก่นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ชั้นประถมศึกษาในจังหวัดพะเยา โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาติพันธุ์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 36 คน จาก 6 โรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่ประถมศึกษาเขต 1 และ 2 จังหวัดพะเยา วัตถุประสงค์การวิจัยมี 5 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อประเมินผลการใช้นวัตกรรมการบูรณาการภาษาศาสตร์ในการพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษทั้งมิติของครูและมิติของผู้เรียนที่เป็นนักเรียนชาติพันธุ์ 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพการสอนของครูผู้สอนภาษาอังกฤษด้วยการใช้นวัตกรรมบูรณาการภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษ 3) เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการสะกด การรู้คำศัพท์ และการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ 4) เพื่อสำรวจทัศนคติของครูที่มีต่อการใช้นวัตกรรมบูรณาการภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษ และ 5) เพื่อสำรวจทัศนคติของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีต่อการใช้นวัตกรรมบูรณาการภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษ โครงการวิจัยนี้ใช้เครื่องมือวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณ คือ 1) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน 2) แบบทดสอบก่อน-หลังการอบรมของครู 3) แบบสอบถามทัศนคติที่มีต่อนวัตกรรมของนักเรียนและครู 4) แบบประเมินนวัตกรรมของครูและผู้บริหารสถานศึกษา ส่วนเครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ 1) ชุดนวัตกรรมบูรณาการภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษ 2) สื่อการเรียนการสอน ประกอบด้วย แผนการสอน แบบฝึกหัด และบัตรคำ 3) แบบสังเกตการเรียนการสอน 4) แบบคำถามที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม 5) แบบบันทึก/แบบรายงานการเรียนการสอนของครู 6) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา 7) แบบสะท้อนความคิดเห็นของครู การดำเนินงานวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่1) ระยะก่อนการใช้นวัตกรรม เป็นการสร้างและตรวจสอบเครื่องมือวิจัย การอบรมการใช้นวัตกรรมแก่ครู การทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษของครูก่อนและหลังการอบรม 2) ระยะการใช้นวัตกรรม เป็นระยะที่ครูนำนวัตกรรมไปใช้กับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ และเก็บข้อมูลภาคสนามของคณะนักวิจัย และ 3) ระยะหลังการใช้นวัตกรรม ซึ่งทำการทดสอบหลังเรียนและสำรวจทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อนวัตกรรม และประเมินการใช้นวัตกรรมของครูผ่านการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือคือ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที (t-test) และ การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)ผลการวิจัยด้านการใช้นวัตกรรมพบว่าผู้บริหารโรงเรียนและครูประเมินนวัติกรรมโดยมีความสอดคล้องกันอยู่ในระดับมากที่สุดเกือบทุกด้าน ส่วนการการอ่านออกเสียง การจัดกลุ่มคำศัพท์ และเขียนย่อหน้าหลังการอบรมของครูสูงกว่าก่อนการอบรม นอกจากนี้การประยุกต์ใช้นวัตกรรมในชั้นเรียนทำให้วิธีการสอนของครูเป็นไปในแนวทางที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น ทำให้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.64) สำหรับผลคะแนนในการอ่านออกเสียง การรู้ความหมายของคำ และการแต่งประโยคของนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และนักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อนวัตกรรมในระดับมากถึงมากที่สุด คำสำคัญ การบูรณาการภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์<br><br>Ethnic students are considered a group that may not have equal access to educational opportunities as others in society. Therefore, to reduce educational disparities and enhance the academic achievement of these students, this research project has been conducted aiming at expanding the using of the innovation of linguistics integration and English language teaching. 36 ethnic students of Prathomsuksa 4 (Grade 4) from 6 different elementary schools under the governance of Phayao Primary Educational Service Area Office 1 and 2 were samples of the study. To elaborate the aim of the study, 5 objectives were situated including 1) to assess the effectiveness of using the developed innovation within two contexts i.e. the context of Thai English teachers and that of ethnic students, 2) to enhance teaching potential of Thai English teachers by integrating the developed innovation into their English classes, 3) to enhance the potential of learning English in terms of vocabulary spelling and English writing among ethnic students by using the developed innovation, 4) to assess the attitudes of Thai English teachers towards the developed innovation, and 5) to assess the attitudes of the ethnic students towards the developed innovation.Research Instruments for gaining the quantitative data were 1) the pre-post English proficiency test for students, 2) the pre-post English proficiency test for the teachers who participated in workshop training, 3) the questionnaire to assess the attitudes of the teachers and the students towards the developed innovation, and 4) the assessment form of the developed innovation of teachers and school administrators while those used for gaining the qualitative data were 1) a package of the innovation that integrates the linguistic knowledge with the English language teaching, 2) instructional materials including lesson plans, exercise book, and flash cards, 3) a teaching observation form, 4) a form of questions for group discussion, 5) a reporting form, 6) a form of questions for school administrators, and 7) a reflective journal form for the teachers. Descriptive statistics including mean, frequency, t-test, and content analysis were applied.The study was conducted in 3 phases. The 1st phase dealt with the development and the validation of all research instruments as well as the training workshop for the recruited Thai English teachers. The 2nd phase was the period of integrating the developed innovation into the English classroom. The 3rd phase was the period of post-using the developed innovation. The students were given the posttest and assessed their attitudes towards the developed innovation. The attitudes of the teachers and school administers were also explored. The group discussion was also conducted during this period.The research findings on the use of the developed innovation showed that school administrators and teachers had assessed it with the highest level of consistency in almost every aspect. As for the results of research on the development of teaching potential of teachers, it was found that the scores in reading aloud, vocabulary grouping, and paragraph writing were higher after training. In addition, the use of the developed innovation throughout the semester has given teachers more confidence in teaching English and has enabled them to change their teaching technique in a more student-centered approach as shown from the level of teachers attitude towards the use of innovation which was highest (Mean = 4.64). For the results of reading aloud, knowledge of the meaning of words, and sentence writing, they were higher than the pretest scores at significant level .01. Therefore, the findings were congruent with research hypotheses. Finally, based on the qualitative data, students possessed a very positive attitude towards the developed innovation as observed from the friendly teaching atmosphere. The students seemed to enjoy the instruction along which the innovation was used.An interesting finding was that most of the teachers participating in the program were intentional and committed. They expressed the potential of using the English language so much that they could enhance their ethnic students’ English proficiency and could also be a mentor to other interested teachers. Besides, the researchers found that the teaching approach that the teachers applied in their classes had urged the students to move to another pace of learning which was peer-tutoring. In terms of the future use of the innovation, the policy makers including school administrators and supervisors played a very important role in driving the achievement of language learning among the students. By creating an innovation learning school or center of developing the proficiency of language learning using an appropriate innovation would definitely reduce the problem of inequality in English language learning achievement.Key words Innovation of Linguistic Integration for English Instruction, Inequality of Education, and Ethnic Students

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ