Description
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลการผลิตสัตว์น้ำที่มีมูลค่าน้อยเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า และเพื่อศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรสัตว์น้ำมูลค่าน้อยของชุมชนประมงพื้นบ้าน จ.ปัตตานีวิธีการดำเนินการวิจัย คณะผู้วิจัยได?กำหนดระเบียบวิธีการวิจัย โดยการใช?กระบวนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ(qualitative research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงเอกสาร การบันทึกข้อมูล การสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก/การเก็บข้อมูลแบบมีส่วนร่วม การสร้างปฏิบัติการจริงระหว่างการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งหมายถึง ชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่เป้าหมายที่จับสัตว์น้ำมูลค่าน้อย จำนวน 50 % จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และกลุ่มผู้ไม่เข้าร่วมโครงการ หมายถึง ชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่เป้าหมายที่จับสัตว์น้ำขายให้กับแพปลาชุมชนหรือแปรรูปสัตว์น้ำและนำไปจำหน่ายเองผ่านช่องทางต่างๆ จำนวน 50 % จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดยมีเครื่องมือในการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านแบบสำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการวิจัยและการสร้างปฏิบัติการในการวิจัย เป็นต้นผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาเส้นทอดสุญญากาศรีดน้ำมันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรายได้ของชาวประมงพื้นบ้าน กล่าวคือ เกิดการเปลี่ยนแปลงรายได้ระหว่างก่อนดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนใน เช่น กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการ ก่อนดำเนินโครงการนั้น กลุ่มตัวอย่างอยู่ในกลุ่มที่ไม่ยากจนแต่ต่ำกว่า 40% มีจำนวน 65% กลุ่มที่อยู่ในเกณฑ์ยากจน มีจำนวน 35 %หลังดำเนินโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการ ที่เคยอยู่ในเกณฑ์ยากจน จำนวน 35 % ขยับไปอยู่ในเกณฑ์กลุ่มไม่ยากจนแต่ต่ำกว่า 40% เพิ่มจาก 65 % เป็นจำนวน 90 % นอกจากนั้น ยังพบจำนวนกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มที่สูงกว่า 40% แต่ยังต่ำกว่าค่ามัธยฐานจำนวน 10 % จากก่อนดำเนินโครงการไม่มีกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มเกณฑ์รายได้นี้เลย เนื่องจากผู้เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าเดิม สามารถนำเงินไปลงทุนจัดหาเครื่องมือประมงพื้นบ้านเพิ่มขึ้น ทำให้จับสัตว์น้ำได้มากขึ้น และมีรายได้จากการนำสัตว์น้ำมูลค่าน้อยมาจำหน่ายให้กับวิสาหกิจฯในราคาที่สูงกว่าแพปลา เช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิงที่เดิมไม่มีรายได้เลย เมื่อได้มาปฏิบัติงานด้านการแปรรูปอาหารทะเลส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากทุกแหล่งรายได้ รวมทั้งแหล่งรายได้จากการทำประมง/แปรรูปด้วย ในส่วนของ กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เข้าร่วมโครงการ ก่อนดำเนินโครงการส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มไม่ยากจนแต่ต่ำกว่า 40% มีจำนวน 60% กลุ่มที่อยู่ในเกณฑ์ยากจน มีจำนวน 35 % และกลุ่มที่สูงกว่า 40% แต่ยังต่ำกว่าค่ามัธยฐาน มีจำนวน 5 % เมื่อเปรียบเทียบรายได้ก่อนและหลังดำเนินโครงการ พบว่า ก่อนดำเนินโครงการ มีรายได้เฉลี่ยต่อปีมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการ หลังดำเนินโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เข้าร่วมโครงการ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากหมวดค่าตอบแทนจากการทำงานและเงินช่วยเหลือ/สวัสดิการต่างๆ ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เข้าร่วมโครงการสามารถขยับจากกลุ่มที่ต่ำกว่าเส้นยากจนมาเป็นกลุ่มไม่ยากจนแต่ต่ำกว่า 40%ได้เพิ่มขึ้นจำนวน 15% ในขณะที่แหล่งรายได้จากหมวดรายได้สุทธิการประมง/แปรรูปน้อยลงจากก่อนดำเนินโครงการ เนื่องจาก กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เข้าร่วมโครงการนำสัตว์น้ำที่จับมาได้ไปขายตามแพปลาที่ตนเองมีภาระหนี้สินผูกพันอยู่ ซึ่งราคาสัตว์น้ำที่แพปลารับซื้อมักผันผวน ในขณะที่ในส่วนของอาหารทะเลแปรรูปกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เข้าร่วมโครงการก็ประสบปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดนัดปิด รวมทั้งมีการควบคุมจำนวนประชาชนในการเข้าไปจับจ่ายใช้สอยในตลาด ทำให้กลุ่มผู้หญิงมีรายได้ลดลง<br><br>AbstractThis research project aims to study low-value aquaculture production data to develop into value-added products. And to study the creation of added value for low-value aquatic resources of the local fishery community in Pattani.Research methods ; The research team has determined the research methodology ,by using the qualitative research methodology consisting of document research data recording, survey, observation, in-depth interview/participatory data collection creating real operations during research. The sample in the research consists of a group of project participants, which means 50% of the target fishermen in the target area that catch small amounts of fish.From all sample groups and the non-participant group means the local fishermen in the target area that catch fish, sell to fish rafts, community fish or fish processing and sell themselves through various channels of 50 % from all sample groups with research and data collection tools through surveys In-depth interview observation research and research operations, etc.The results show that the development of vacuum-rolled fish products causes changes in the income of local fishermen, i.e. revenue changes during the project and after the project. Project participants have increased revenue clearly in such as the sample groups that participated in the project before proceeding that project .The sample group is in a group that is not poor but less than 40%, with 65%. The group that is in the poverty threshold is 35 %.After project implementation participants who had previously been in poverty threshold 35% moved to the non-poor group threshold but less than 40% increased from 65% to 90%. In addition, the number of samples in the group was higher than 40% But still below the median of 10 % from before the project was implemented, there was no sample in this revenue threshold. Since the participants have more income than before able to invest in more local fishery tools causing more fishery to catch and have a small income from the sale of small-value fish to the enterprise at a price higher than fish rafts like the original female sample, there is no income at all. When operating seafood processing, resulting in increased revenue when comparing before and after the project, participants found that have increased income from all sources of income, including Sources of income from fisheries / processing as well . As for the sample groups that do not participate in the project before implementing the project, most of the groups were not poor but less than 40%, with 60%. The groups in the poverty threshold were 35% and the group was 40% higher but still below the median is 5 % when comparing revenue before and after the project, it was found that before the project was implemented have an average annual income more than the sample groups that participated in the project. After the project Sample groups that do not participate in the project there is an increase in income from work compensation and grants/welfare results in the non-participating sample being able to move from a group below the poverty line to a non-poor group, but less than 40% has increased by 15% . While the source of income from the net fishery income category/Less privatization from before the project was implemented, as the sample group that did not participate in the project brought the fish that had been sold to the fish raft that they had a burden of debt bound. In which the price of fish that the fish bought is often volatile while in the processed seafood, the sample groups that do not participate in the project also experience problems from the situation of the epidemic of the covid 19 virus in the past resulting in a closed market Including controlling the number of people entering the market spending causing women to have lower incomes .
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read