Description
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการคิวสำหรับการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Queue Management System: QMS) เพื่อเป็นระบบที่เชื่อมระหว่างระบบสารสนเทศของคลังสินค้าของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่เขตปลอดอากร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กับตัวแทนผู้ส่งสินค้า (Freight Forwarder) ที่ใช้บริการคลังสินค้า และคนขับรถ (Driver) ที่มารับสินค้าจากคลังสินค้า โดยระบบจะทำการรับข้อมูลสินค้าและสถานะของรายการสินค้าจากสายการบิน และทำการประมวลผลข้อมูลรายการสินค้าจากการดำเนินงานของคลังสินค้า (Shipment Status) ได้เป็นรหัสอ้างอิง (TRN Number) ในรูปแบบ QR code ที่ประกอบด้วย 1) เวลารับสินค้า (Pickup Time) 2) หมายเลขช่องจอดรถ (Truck Dock Number) และ 3) รหัสเพื่อการอนุญาตผ่านเข้าไปยังพื้นที่ช่องจอดหน้าท่าเทียบรถ (Truck Dock) ให้แก่ตัวแทนผู้ส่งสินค้า (Freight Forwarder) ในการรับสินค้าที่คลังสินค้า เพื่อลดระยะเวลาการรอคอยสำหรับการรอรับสินค้าล่วงหน้า หลังจากโครงการวิจัยได้พัฒนาระบบบริหารจัดการคิวสำหรับการขนส่งสินค้าเสร็จสิ้น จึงมีการทดสอบระบบในการปฏิบัติงานจริงของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัทผู้นำเข้าและส่งออกสินค้าทางอากาศจำนวน 4 บริษัท เป็นระยะเวลา 2 เดือน เพื่อประเมินผลการทำงานของระบบ โดยพบว่า ระบบสามารถประมวลผลได้ถูกต้อง (Accurate) ภายในระยะเวลาที่กำหนด (Real Time) และมีความต่อเนื่อง (Consistency) อย่างไรก็ตาม การทดสอบระบบในช่วงเวลาที่จำกัดและไม่มีสินค้าอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากมาตรการปิดเมือง (Lockdown) ภายใต้สถานการณ์โรค COVID-19 ทำให้โครงการวิจัยจึงไม่สามารถประเมินผลลัพธ์จากการทดสอบระบบได้ ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาตัวแบบเพื่อจำลองสถานการณ์ (Simulation Model) เพื่อประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานของการใช้งานระบบ QMS เทียบกับการทำงานรูปแบบเดิมในปัจจุบัน (Baseline) ซึ่งผลลัพธ์จากแบบจำลองสถานการณ์ พบว่า เมื่อมีการใช้ระบบ QMS ของโครงการวิจัยนี้ในการปฏิบัติงานสามารถลดระยะเวลาการทำงานรวม (Total Operating Time) โดยเฉลี่ย ตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นเมื่อสินค้าถูกรับเข้าในคลังสินค้าจนถูกส่งมอบให้แก่รถบรรทุกที่รับสินค้า จากเดิมใช้เวลา 202 นาทีต่อลูกค้า ลดลงเหลือ 164 นาทีต่อลูกค้า หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 18.81 และสามารถลดระยะเวลารวมโดยเฉลี่ยของรถบรรทุกที่เข้ามารับสินค้า (Truck Operating Time) จากเดิมใช้เวลา 214 นาทีต่อคัน ลดลงเหลือ 51 นาทีต่อคัน หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 76.17 นอกจากนี้ยังสามารถลดระยะเวลาการรอคอยคิวโดยเฉลี่ยของรถบรรทุก (Truck Waiting Time: Queue) ซึ่งจากเดิมใช้เวลา 202 นาทีต่อคัน ลดลงเหลือ 39 นาทีต่อคัน หรือลดเป็นระยะเวลา 163 นาทีต่อคัน และสามารถลดการเกิดคิวโดยเฉลี่ยของรถบรรทุก (Number of Queue) จากเดิมที่มีจำนวน 60 คิว ลดลงเหลือ 11 คิว หรือลดลงเป็นจำนวน 49 คิวต่อรถบรรทุกที่เข้ามารับสินค้า ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย<br><br>Queue Management System for Air Cargo Terminal Operations is a research project funded by the National Research Council of Thailand fiscal year 2020. This research is collaborated with Thai Airways International Public Company Limited, Thai Cargo Terminal Business Unit at Suvarnabhumi Airport Free Zone. Due to the rise of e-commerce, air cargo shipments have grown significantly which created some challenges to Thai Cargo Terminal operations particularly service lead-time and truck dock area traffic flow. Thus, this research aims to develop Queue Management System to be a solution tool to overcome these challenges. The objective of this research is to develop Queue Management System (QMS) to receive data and information from Thai Cargo Terminal system then process to generate shipment status which indicate 1) pick up time and 2) truck dock number send to Freight Forwarder for allocating driver to pick up the shipments. This system is also generated TRN Number (Truck Reference Number) as a QR Code for driver’s entrance authorization. The System that developed by this research project has been field tested as a fully implementation for 2 months at Thai Cargo Terminal. It can be found that the system is running according to the design system process flow and produce accurate output and consistency. To evaluate research outcome, we have developed simulation model to compare baseline with scenario analysis in case of Queue Management System that developed by this research project is fully implemented as part of business operations. Simulation results revealed that if Queue Management System has been implemented, the total operating time (start from shipment has been arrived TG Cargo Terminal until shipment is delivered to truck) can be reduced from 202 minutes per customer to 164 minutes or 18.81% reduction. In terms of truck operating time, it can be reduced from 214 minutes per truck to 51 minutes per truck or 76.17% reduction. In addition, for truck waiting time (Queue) can be reduce from 202 mins per truck to 39 minutes per truck or reduce number of queue from 60 queue inline to 11 queue in line (or 49 queue in line reduction). Apart from total operations lead-time reduction and truck driver waiting time reduction, this research is also contributing to enhance logistics sector’s competitive advantage to stakeholder in air shipments business.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read