Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวจิ้งหรีดและการพัฒนาผลิตภ...

TNRR

Description
บทคัดย่อจิ้งหรีดเป็นแมลงที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อย่างไรก็ตามการศึกษาเกี่ยวกับจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์พื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลของการลวกหลังการเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพของผงจิ้งหรีด (2) เปรียบเทียบวิธีการอบแห้ง (3) พัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นฐานจากจิ้งหรีด (4) เพื่อศึกษาอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ และ (5) พัฒนากระบวนการสกัดน้ำมัน การศึกษาครั้งนี้ใช้จิ้งหรีด 2 ชนิด ได้แก่ จิ้งหรีดทองดำ (Gryllus bimaculatus) และสะดิ้ง (Acheta domestica) นำจิ้งหรีดทั้ง 2 ชนิดมาศึกษาผลของอุณหภูมิและเวลาในการลวก จากนั้นเปรียบเทียบวิธีการการอบแห้ง 4 วิธี ได้แก่วิธีการอบแห้งแบบถาด (80?C เวลา 14 ชั่วโมง ) เตาอบ (140?C เวลา 8 ชั่วโมง) พลังงานแสงอาทิตย์ (60?C เวลา 48 ชั่วโมง) และแบบแช่เยือกแข็งแห้ง (-20?C เวลา 72 ชั่วโมง) เพื่อให้มีความชื้นต่ำกว่าร้อยละ 10 พบว่าการลวกจิ้งหรีดที่อุณหภูมิ 80 ถึง 90?C นาน 10 นาที เป็นสภาวะที่เหมาะที่สุดสำหรับลวกจิ้งหรีดทั้ง 2 ชนิด สามารถลดจำนวนจุลินทรีย์ให้อยู่ในระดับมาตรฐานและตรวจไม่พบแบคทีเรียโคลิฟอร์ม รวมถึงการลวกด้วยสถาวะนี้ไม่ส่งผลต่อปริมาณองค์ประกอบทางเคมีและมีฮีสตามีนต่ำกว่า 4 ไมโครกรัม/กรัมการศึกษาผลของวิธีการอบแห้งต่อคุณภาพผงจิ้งหรีด พบว่าผงจิ้งหรีดที่ได้จากวิธีการอบแห้งแบบพลังงานแสงอาทิตย์และแบบแช่เยือกแข็งแห้งมีคุณภาพใกล้เคียงกัน จิ้งหรีดอบแห้งที่ได้นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์พื้นฐานได้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ (1) ผลิตภัณฑ์ผงจิ้งหรีดไขมันเต็ม (2) น้ำมันจิ้งหรีด โดยเปรียบเทียบวิธีการสกัด 2 วิธี ได้แก่การสกัดด้วยเครื่องบีบอัดและการสกัดด้วยเฮกเซน (3) ผลิตภัณฑ์ผงจิ้งหรีดสกัดน้ำมัน (4) โปรตีนจิ้งหรีดเข้มข้น และ (5) ผงไคตินจากจิ้งหรีด พบว่าผลิตภัณฑ์ผงจิ้งหรีดไขมันเต็มเป็นแหล่งของโปรตีนที่ดี โดยมีโปรตีนร้อยละ 69-70 ในผงสะดิ้งและร้อยละ 59-60 ในผงจิ้งหรีดทองดำ ผงจิ้งหรีดมีกรดอะมิโนจำเป็นครบทุกชนิด มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวและมีวิตามินบีสูง รวมทั้งมีสารประกอบฟีนอลิกและมีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ จิ้งหรีดมีจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและตรวจไม่พบโคลิฟอร์ม ผงจิ้งหรีดไขมันเต็มสามารถเก็บรักษาในสภาพสุญญากาศในสภาวะเร่งที่อุณหภูมิ 60?C ได้นานกว่า 2 เดือน การศึกษาการสกัดน้ำมันจิ้งหรีดและคุณภาพน้ำมันพบว่าปริมาณผลผลิตของน้ำมันที่ได้จากการสกัดด้วยเครื่องสูงกว่าการสกัดด้วยเฮกเซน น้ำมันจิ้งหรีดที่ได้มีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงโดยพบกรดลิโนเลอิกในปริมาณสูงสุด ส่วนผลิตภัณฑ์ผงจิ้งหรีดสกัดน้ำมันซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่พลอยได้จากการสกัดน้ำมันพบว่ามีปริมาณโปรตีนสูงขึ้น โดยมีโปรตีนเท่ากับร้อยละ 76.24 ในผงจิ้งหรีดทองดำสกัดน้ำมันและร้อยละ 75.69 ในผงสะดิ้งสกัดน้ำมัน ส่วนผงโปรตีนจิ้งหรีดเข้มข้นมี่ผลิตได้มีปริมาณโปรตีนเท่ากับร้อยละ 80 และผงไคตินมีปริมาณผลผลิตเท่ากับร้อยละ 8 ของจิ้งหรีดทั้งหมด ผลการศึกษาที่ได้รับในครั้งนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลนำไปสู่การจัดการจิ้งหรีดหลังการเก็บเกี่ยวและผลิตผลิตภัณฑ์พื้นฐานจากจิ้งหรีดที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยและได้มาตรฐานต่อไป คำสำคัญ: การทำแห้ง ผงจิ้งหรีด ฟลาวร์จิ้งหรีด น้ำมันจิ้งหรีด โปรตีนเข้มข้น ไคตินจิ้งหรีด เครื่องสกัดน้ำมัน<br><br>AbstractCrickets are high-nutritional insects. However, postharvest management and processing of cricket-based products are crucial. The objectives of this research were: (1) to study the effect of blanching on the quality of crickets, (2) to compare drying methods, (3) to develop cricket-based products, (4) to study product shelf life, and (5) to develop cricket oil extraction process. Two types of crickets were used, namely the field cricket (Gryllus bimaculatus) and the house cricket (Acheta domestica). The effect of temperature and blanching time were investigated. Four drying methods were compared including tray drying (80?C, 14h), oven drying (140?C, 8h), solar drying (60?C, 48h), and freeze-drying (-20?Cม 72h) in order to obtain moisture content lower than 10%. Blanching crickets at 80 and 90?C for 10 min was the most suitable condition for blanching both types of crickets. This could reduce the microbial count within standard levels and no coliform bacteria detection, and contained low histamine content (4 ?g/g). This condition did not affect the chemical compositions. The study on the effect of drying methods on the quality of cricket flour showed that the cricket flour obtained from the solar drying method and the freeze-dried drying had a similar quality. Dried crickets were processed into 5 cricket-based products, including (1) full-fat cricket powder (2) cricket oil using two extraction methods including machine and hexane extraction (3) defatted cricket flour (4) cricket protein concentrate, and (5) chitin powder. Full-fat cricket powder was found to be a good source of protein. The protein was up to 69-70% in house cricket and 59-60% in field cricket powder. Cricket powder was a good source of essential amino acids, unsaturated fatty acids, vitamin B, phenolic compounds, and antioxidant activity. The resulting cricket powder had a lower microbial count than the standard level and no coliforms were detected. The histamine content was less than 4 ?g/g. The full-fat cricket powder could be stored in a vacuum under an accelerated condition for more than 2 months.The study of cricket oil extraction and oil quality revealed that the yield of oil obtained from hexane extraction was higher than by machine extraction. The cricket oil contained high unsaturated fatty acids, with the highest amount of linoleic acid. The defatted cricket flour, a by-product of the oil extraction, was found to have high protein content, 76.24% in house cricket and 75.69% in infield cricket. The protein concentrate powder contained 80% protein. The yield of chitin powder was 8% of the total cricket weight. The results obtained can be used as useful data to manage post-harvest cricket and to produce good quality with safe, and standardized cricket-based products of standard quality. Keywords: Drying method, cricket powder, cricket flour, cricket oil, cricket protein concentrate, cricket chitin, oil extraction machine

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ