Description
โครงการส่งเสริมพื้นที่สงวนชีวมณฑลสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชให้เป็นแหล่งเรียนรู้และวิจัย ด้านความหลากหลายทางชีวภาพในระดับนานาชาติและสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย BCG (BIO-CIRCULAR-GREEN ECONOMY) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช และสร้างการรับรู้ต่อนานาประเทศ ผลการศึกษาที่ได้จากข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์และสำรวจการรับรู้ จากนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศที่ใช้สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชเป็นฐานดำเนินงานวิจัย และมี การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่สงวนชีวมณฑล สามารถสรุปความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช คือ เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล (Biosphere reserve) ที่เหมาะต่อการศึกษาวิจัยทางด้านนิเวศวิทยาป่าไม้เขตร้อนในระดับนานาชาติ ลักษณะป่าที่เป็นทั้งป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่ารอยต่อ เอื้ออำนวยต่อการศึกษาเชื่อมโยงกับพื้นที่อุทยานอื่นๆ ซึ่งร้อยละ 65 ของกลุ่มตัวอย่าง เห็นว่าเป็นจุดดึงดูดในการเข้ามาศึกษาวิจัยเพื่อค้นพบสิ่งใหม่หรือสิ่งที่ได้เคยบันทึกไว้แล้ว จากผลการศึกษาที่ได้ นำไปสู่ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมพื้นที่สงวนชีวมณฑลสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชให้เป็นแหล่งเรียนรู้และวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพในระดับนานาชาติเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย BCG (BIO-CIRCULAR-GREEN ECONOMY) ใน 3 มิติ คือ - การขับเคลื่อน B-Bio Economy เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ป่าสะแกราชมากที่สุด โดยเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ มาพัฒนา (Development) ชุมชนที่อยู่โดยรอบเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม- สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ร่วมขับเคลื่อน G-Green Economy ในมิติเชิงอนุรักษ์ ผ่านบทบาทสำคัญในการร่วมกับชุมชนดูแลและอนุรักษ์ป่าไม้และทรัพยากรทางธรรมชาติ โดยอาศัยจุดเด่นที่มีชุมชนรอบพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชที่เป็นมิตร ช่วยลดการสูญเสียพื้นที่ป่า และการดำเนินการในด้านต่างๆ - สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ขับเคลื่อน C-Circular Economy ผ่านการสาธิต การฝึกอบรม และให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ให้แก่นักเรียน นักศึกษา นักวิจัย และประชาชนทั่วไป ในรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์ โดยเรียนรู้และสัมผัสจริง (Learning by doing) และเป็นต้นแบบชีวิตประจำวันเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การลดการใช้น้ำ-ไฟฟ้า-กระดาษ การตั้งอุณหภูมิแอร์ที่พอเหมาะ งดการเดินทางที่ ไม่จำเป็น และการใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับแนวทางการพัฒนาสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และสามารถสนับสนุนนโยบาย BCG อย่างยั่งยืน คือ การรักษาสภาพแวดล้อม ความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการคงไว้ซึ่งความเป็นพื้นที่ชีวมณฑล สร้างการรับรู้ให้สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ ในการเป็นพื้นที่ศึกษาวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นห้องปฏิบัติการทางธรรมชาติ การสนับสนุนงานด้านการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย BCG การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการภายในสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช และการสร้างความร่วมมือกับชุมชนโดยรอบพื้นที่<br><br>The project promotes Sakaerat Biosphere Reserve as an international source of biodiversity learning and research and supports BCG (BIO-CIRCULAR-GREEN ECONOMY) aims to analyze the unique and outstanding characteristics of the Sakaerat Environmental Research Station (SERS) and raise international awareness. This study relied on secondary and primary data gathered through interviews and surveys with academic/scholars both inside and outside Thailand. According on the findings of the study, the Sakaerat Environment Research Station was recognized as a Biosphere Reserve since it has been designated by UNESCO Man and Biosphere Reserve: MAB, with 65% of the sample group viewing SERS as an internationally known research place for tropical forest ecology. The Sakaerat forest consists of dry evergreen forest, dipterocarp forest, and boundary forest, facilitates the ability to study and connect with other forest areas.The studys findings led to recommendations for establishing the Sakaerat Biosphere Reserve as an international biodiversity learning and research center to promote BCG (BIO-CIRCULAR-GREEN ECONOMY) (Bio-Circular-Green Economy) in 3 dimensions including- Driving the B-Bio Economy is the most appropriate approach with the potential of the Sakaerat forest area which utilizing natural resources and biodiversity to develop (Growth) surrounding communities to achieve long-term economic and social development.- Sakaerat Environmental Research Station plays an important role in collaborating with the community to conserve forests and natural resources by leveraging the strengths of the community surrounding the station for reducing the loss of forest areas and operating in various fields to jointly drive the G-Green Economy in the conservation dimension.- Sakaerat Environmental Research Station promotes the C-Circular Economy through science camp demonstrations, training, and educating about the environment for students, researchers, and the public. The science camp offers learning by doing and being a model for everyday life to reduce carbon dioxide emissions, such as reducing the water use, electricity, and paper, setting the right air temperature, avoid unnecessary travel and the use of thermal slate building materials.The directions of establishing Sakaerat Environmental Research Station to be learning center and being the long-term BCG policy support, include preserving the environments abundance and biodiversity in attempt to preserve a biosphere reserve area, raising awareness for Sakaerat Environmental Research Station to be known internationally as a study area for environmental and biodiversity research and a natural laboratory, and supporting research work related to BCG policy as well as development of facilities and services within the Sakaerat Environmental Research Station, and also collaboration with surrounding communities.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read