Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การขยายผลการจัดการความรู้เทคโนโลยีถังหมักขยะอินทรี...

TNRR

Description
ปัญหาการจัดการขยะเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศ โดยเฉพาะปัญหาขยะมูลฝอยที่เรื้อรังมานาน ซึ่งจำนวนประชากรที่ขยายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีปริมาณขยะจากภาคครัวเรือน ชุมชนต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง โดยขยะส่วนใหญ่ถูกนำไปฝังกลบโดยไม่มีการแยก ในขณะที่อัตราขยะที่ถูกนํามาใช้ประโยชน์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้วิกฤตปัญหาขยะ จึงถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ขยะอินทรีย์ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ เช่น ปัญหากลิ่นเหม็น น้ำชะขยะมูลฝอย การแพร่กระจายของเชื้อโรค รวมทั้งการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากกระบวนการฝังกลบ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาโลกร้อน (Global Warming) ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นหากครัวเรือนและชุมซน คัดแยกขยะอินทรีย์มากำจัดโดยใช้เทคโนโลยีการย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจนเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ ที่สามารถบำบัดขยะอินทรีย์ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในขยะชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีผลพลอยได้เป็นปุ๋ยชีวภาพ จะช่วยแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย เป็นการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ชุมชนและสังคม ทางกลุ่มวิจัยของสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมชีวโมเลกุล สถาบันวิทยสิริเมธี จึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ โดยการออกแบบนวัตกรรมการแปลงขยะอินทรีย์จากเศษอาหารด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ถังสุดดี (ถังหมักประสิทธิภาพสูงที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกหัวเชื้อจำเพาะสูงภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจน) และขยายผลการใช้งานจริง ผลิตเป็นก๊าซชีวภาพสำหรับเป็นพลังงานทดแทนก๊าซหุงต้ม และผลิตสารบำรุงพืชชีวภาพที่ใช้ในการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวแบบปลอดสารพิษ คณะผู้ดำเนินโครงการ ได้ดำเนินการสำรวจ ติดตั้ง และถ่ายทอดความรู้ระบบถังสุดดีให้แก่โรงเรียนเป้าหมาย จำนวนรวมทั้งสิ้น 11 สถานี 7 จังหวัด ซึ่งเป็นไปตามแผนงานและกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ (6 สิงหาคม 2564 – 6 สิงหาคม 2565) ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลระยะเวลา 8 เดือน (มกราคม – สิงหาคม 2565) พบว่า สามารถจัดการขยะอินทรีย์ได้ 1,998 กิโลกรัม ได้ค่าพลังงานที่เกิดจากก๊าซชีวภาพได้เท่ากับ 623.38 กิโลวัตต์ชั่วโมง ผลิตปุ๋ยชีวภาพได้ประมาณ 1,816 ลิตร รวมมูลค่าการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้กลับมาสู่โรงเรียนและชุมชนคิดเป็นจำนวนเงิน 182,820.00 บาท และจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ ให้กับครูอาจารย์ นักเรียน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อโรงเรียนโดยตรงแล้ว ยังเป็นการทำให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าของการแยกและจัดการกับขยะมากขึ้นอีกด้วย โดยมุ่งหวังที่จะสร้างและส่งเสริมพฤติกรรมของครัวเรือนและชุมชนในการแยกขยะ เพื่อสร้างสังคมไร้ขยะอย่างยั่งยืน<br><br>-

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ