Notifications

You are here

อีบุ๊ค

มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินท...

TNRR

Description
มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสมในการกำหนดเขตการใช้ที่ดิน (zoning) ในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำแหง อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ดำเนินงานในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำแหง ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน อยู่ในชุดดินวังสะพุง (Wang Saphung series : Ws) กลุ่มชุดดินที่ 55 ชุดดินแม่สาย (Mae Sai series : Ms) กลุ่มชุดดินที่ 15 ดำเนินการในปี พ.ศ.2558-2560 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของมาตรการการอนุรักษ์ดินและน้ำ ที่มีต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสม เมื่อมีการกำหนดเขตการใช้ที่ดินในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำแหง อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อย 2 โครงการ คือ โครงการย่อยที่ 1 การศึกษาดินเสื่อมโทรมที่มีผลกระทบต่อระบบผลิตทางการเกษตรของที่ดิน ในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำแหง อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน โดยใช้โปรแกรมของโครงการ Land Degradation Assessment in Dryland (LADA) Project เป็นการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อประเมินความเสื่อมโทรมของที่ดินคือ ความลาดชันของพื้นที่ การชะล้างพังทลายของดิน กำลังการผลิตของดิน และการจัดการดิน ประกอบด้วย ข้อมูลด้านดิน สมบัติทางเคมีและกายภาพ สภาพภูมิประเทศ และข้อมูลด้านระบบการปลูกพืช ศักยภาพในการผลิตของดิน ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2558-2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือและวิธีการประเมินขนาดและอัตราการเสื่อมโทรมของที่ดิน และผลกระทบต่อระบบนิเวศ เพื่อประเมินความเสื่อมโทรมของที่ดิน โดยเน้นด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่อการเสื่อมโทรมของดิน วิธีดำเนินการคือ นำข้อมูลดิน ข้อมูลสภาพภูมิอากาศ และข้อมูลระบบการปลูกพืชในพื้นที่ วิเคราะห์เพื่อประเมินความเสื่อมโทรมของที่ดิน เพื่อให้ได้แผนที่ระดับความเสื่อมโทรมของที่ดิน และวิเคราะห์ข้อมูลจากการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน การเจริญเติบโตด้านความสูง และการให้ผลผลิตของพืชข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่ต้นน้ำ (พื้นที่สูง) และพื้นที่กลางน้ำ (พื้นที่ดอน) และการปลูกข้าวนาปี ในพื้นที่ปลายน้ำ (พื้นที่ลุ่ม) แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความแตกต่างทางสถิติ โดยใช้วิธีการแบบ T-Test และการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจและสังคม โครงการย่อยที่ 2 การศึกษาการใช้หญ้าแฝกแทนคันดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของยางพารา ในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำแหงอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2558-2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาผลของแถบหญ้าแฝกที่ปลูกเป็นแถบพืชอนุรักษ์ดินและน้ำที่มีต่อการเจริญเติบโตของยางพารา 2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และกายภาพของดิน ในการใช้แถบหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำในระบบการปลูกยางพาราเปรียบเทียบกับการใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างอื่น วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 3 ซ้ำ มีจำนวน 5 วิธีการ วางแผนการทดลองแบบ RCBD (Randomized Complete Block Design) มี 3 ซ้ำ5 วิธีการประกอบด้วย 1) ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ ในพื้นที่ปลูกยางพารา 2) คันดินแบบ 5 เป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ ในพื้นที่ปลูกยางพารา 3) ใช้แถบหญ้าแฝกเป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ปลูกยางพารา 4) ใช้คันดินแบบ 5 สลับกับแถบหญ้าแฝก เป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ ในพื้นที่ปลูกยางพารา 5) ใช้คันดินแบบ 5 เป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ และมีการปลูกหญ้าแฝกบนสันคันดินในพื้นที่ปลูกยางพารา ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ลุ่มน้ำย่อยน้ำแหงที่มีความเสื่อมโทรมของที่ดินสูงมาก มีจำนวน 108,546 ไร่ พื้นที่ที่มีความเสื่อมโทรมแล้ว 48,953 ไร่ รวมสองพื้นที่จะมีพื้นที่ที่มีความเสื่อมโทรมแล้ว 157,499 ไร่ หรือ 24.09 เปอร์เซ็นต์ และมีความเสื่อมโทรมน้อย จนถึงมีศักยภาพในการเสื่อมโทรมอีก 21,762 ไร่ หรือ 3.32 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเสื่อมโทรมต่อไป ในพื้นที่ต้นน้ำในชุดดินวังสะพุง แปลงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในดินลดลงอย่างรวดเร็ว ให้ผลผลิตเฉลี่ย 621.42 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนรวมของแปลงเกษตรกร 4,245.53 บาทต่อไร่ ได้กำไรสุทธิ 1,160.90 บาทต่อไร่ มีแนวโน้มเสื่อมโทรมรวดเร็ว เนื่องจากมีการกร่อนหน้าดินสูง พื้นที่กลางน้ำ (พื้นที่ดอน) ในชุดดินวังสะพุงที่เป็นดินลึกมาก แปลงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในดินลดลงค่อนข้างรวดเร็ว ให้ผลผลิตเฉลี่ย 621.42 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนรวมแปลงเกษตรกร 4,245.53 บาทต่อไร่ ได้กำไรสุทธิ 1,160.90 บาทต่อไร่ มีแนวโน้มเสื่อมโทรมค่อนข้างเร็ว เนื่องจากมีการกร่อนหน้าดินค่อนข้างสูง พื้นที่ปลายน้ำ แปลงข้าวนาดำ ในชุดดินแม่สาย ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในดิน มีแนวโน้มฟื้นฟูได้ดีจากการจัดการที่ดิน ผลผลิตข้าวพันธุ์ กข 6 เฉลี่ย 630 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนรวมของแปลงเกษตรกร 5,096.30 บาทต่อไร่ ได้กำไรสุทธิ 2,778.70 บาทต่อไร่ มีแนวโน้มเสื่อมโทรมช้า เนื่องจากมีการกร่อนหน้าดินน้อย กล่าวโดยสรุปคือ การทำการเกษตรในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง จะเป็นการเร่งให้ดินมีความเสื่อมโทรมเร็วยิ่งขึ้น ผลการทดลองพบว่า แถบหญ้าแฝกที่ปลูกเป็นแถบพืชอนุรักษ์ดินและน้ำมีผลต่อการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุและมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญโดยวิธีการที่ 5 การใช้คันดินแบบที่ 5 เป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำและมีการปลูกหญ้าแฝกบนสันคันดินในพื้นที่ปลูกยางพารา มีปริมาณอินทรียวัตถุสูงสุดเท่ากับ 3.71เปอร์เซ็นต์ รองลงมา วิธีการที่ 4 ใช้คันดินแบบ 5 สลับกับแถบหญ้าแฝก เป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ปลูกยางพาราเท่ากับ 3.67 เปอร์เซ็นต์ ส่วนวิธีการที่ 1 ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ ในพื้นที่ปลูกยางพาราวิธีการที่ 2 คันดินแบบ 5 เป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ ในพื้นที่ปลูกยางพารามีปริมาณอินทรียวัตถุน้อยที่สุด เปอร์เซ็นต์ความชื้นระดับ 0-15 เซนติเมตรและความชื้นระดับ 15-40 เซนติเมตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปีพบว่าวิธีการที่ 4 ใช้คันดินแบบ 5 สลับกับแถบหญ้าแฝก เป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ปลูกยางพาราและวิธีการที่ 5 การใช้คันดินแบบที่ 5 เป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำและมีการปลูกหญ้าแฝกบนสันคันดินในพื้นที่ปลูกยางพารามีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสูงกว่าวิธีการอื่นๆซึ่งมีค่าเท่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นเท่ากับ 23.18 และ 23.83 ตามลำดับ ความหนานแน่นของดินจากปี 58-60 ทุกวิธีการมีค่าลดลงทุกปีและไม่มีความแตกต่างทางสถิติซึ่งการทดลอง ปี 2558 มีค่าอยู่ระหว่าง 1.47-1.52 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ปี 2559 1.46-1.58กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตรหลังการทดลองปี 2560 มีค่าอยู่ระหว่าง 1.28 -1.37กรัมต่อลูกบาศก์ ความหนานแน่นลงลงทุกปีเป็นผลเนื่องมาจาก ไม่มีการเผาเศษพืชและไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าในพื้นที่ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ทุกวิธีการมีค่าเพิ่มสูงขึ้นทุกวิธีการอันเนื่องมาจากมีการใช้ปุ๋ยเคมีและมีการตกค้างในพื้นที่ ส่วนโพแทสเซียมที่สกัดได้มีค่าอยู่ในระดับ ต่ำถึงปานกลางจาก 35.40 ถึง 77.80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในส่วนของปริมาณการสูญเสียดินพบว่าแถบหญ้าแฝกที่ปลูกเป็นแถบพืชอนุรักษ์ดินและน้ำมีผลต่อปริมาณการสูญเสียดินและแตกต่างทางสถิติโดยวิธีการที่ 4 ใช้คันดินแบบ 5 สลับกับแถบหญ้าแฝก เป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ปลูกยางพาราและวิธีการที่ 5 การใช้คันดินแบบที่ 5 เป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำและมีการปลูกหญ้าแฝกบนสันคันดินในพื้นที่ปลูกยางพารามีค่าเท่ากับ 345และ184 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนวิธีการที่ 1 ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ ในพื้นที่ปลูกยางพารา มีการสูญเสียดินมากที่สุดเท่ากับ 1031 กิโลกรัมต่อไร่<br><br>Soil and water conservation measure for suitable land use on land zoning in land development zone in Nam Hang watershed Na noi District, Nan Province. Operate in the watershed development area. Watershed Wang Saphung series : Ws Soil group No 55 Mae Sai series : Ms. Soil group No 15. During of the year 2015-2017. The purpose to study the effects of soil and water conservation measures. The use of appropriate land. There are two sub-projects under the project, namely, The land development zone Nam Hang watershed Na Noi District, Nan Province. Sub-project 1 The Study on Land Deterioration Affected to Agricultural System Production in Nam Hang watershed Na Noi District, Nan Province, by LADA assessment (land degradation assessment in dry land project) The project was used to analyze the degradation of the land. The slope class. The soil erosion. The soil productivity and soil management consists of soil information. Physical and chemical properties Terrain And information on cropping systems. Potential for the production of soil. Performed during the year 2015-2017 aims to develop tools and methods to assess the size and rate of land degradation. And ecological impacts. To assess the degradation of land. The emphasis is on the use of land that affects soil degradation. The way to do this is to put the soil data, climate data. And information on cropping systems in the area. Analysis to assess the degradation of land. To get a map of the degradation of land. Analyze data from soil chemical changes. Height growth And the yield of corn plants. In the upstream areas (highlands) and water areas (Don area) and rice cultivation. In the downstream area The data were analyzed for statistical difference. Using T-Test and Economic and Social Analysis. Sub-project 2 Effect of Vetiver Grass Strips for Soil and Water Conservation on ParaRubberGrowth Gate in Nam Hang Watershed Land Development Zone Nanoi District, Nan Province. During of the year 2015-2017.The objectives of this study were to 1. To study the effect of vetiver grass on soil and water conservation of rubber plantations. 2. To study chemical changes. And physical The use of vetiver grass for soil and water conservation in the rubber plantation system compared with other soil and water conservation measures. Three RCBD plot designs were used. Five RCBD (Randomized Complete Block Design) schemes were used. There were 3 replications. Five methods were included.1) No soil and water conservation measures. 2) Soil type 5 is a soil and water conservation measure. 3) Use vetiver grass as a measure to conserve soil and water in rubber plantations. 4) Use a 5-tiered alternating vetiver with vetiver grass. As a measure of soil and water conservation. 5) Use a 5-tiered clay as a soil and water conservation measure. Vetiver grass was planted on the ridges of rubber plantations. The results showed that. The Nam Hang watershed is high land degradation area of 108,546 rai. The area of degraded area is 48,953 rai. Two areas are degraded with area of 157,499 rai or 24.09 percent and less degraded. The potential for further degradation is 21,762 rai or 3.32 percent, which is likely to deteriorate further. In the upstream area in Wang Saphung series : Ws. The corn plantation of pH in soil. The amount of organic matter, phosphorus, and potassium in the soil decreased rapidly. Average yield was 621.42 kg / rai. The total cost of 4,245.53 baht per rai of farmers was 1,160.90 baht per rai. Because of high erosion. In the middle of the water (Don area) in a Wang Saphung very deep variants : Ws-vd. The corn plantation of pH in soil. Organic matter Phosphorus And potassium in the soil decreased quite quickly. Average yield was 621.42 kg / rai. Total farmer cost is 4,245.53 baht / rai. Net profit of 1,160.90 baht / rai is likely to deteriorate relatively quickly. Due to high erosion. Downstream area of paddy rice in Mae Sai series : Ms. Organic matter, phosphorus and potassium in soil Good recovery from land management. The yield of paddy rice is 630 kg per rai. The total cost of the farmers farm was 5,096.30 baht / rai. The net profit of 2,778.70 baht / rai was likely to deteriorate. Because of the erosion. In summary, Agriculture in high slope areas It will accelerate the deterioration of the soil faster. The results showed that the vetiver grass was planted as soil and water conservation. There is no statistical difference in the average rubber yield for the 3 years (2015 - 2560). The third method uses vetiver grass as a measure of soil and water conservation in the rubber plantation area at the height of 209.27 cm, which is higher than other methods. Method 5 uses a clay soil type 5 as a measure of soil and water conservation. The vetiver grass was planted on the ridges in the rubber plantation area at the height of 206.67. In the rubber plantation area. At the height of 200.67 cm and method 4 with the height of 193.67 cm. The method 1 does not contain soil and water conservation measures in the rubber plantation. The minimum height is 182.50 cm. The circumference of the rubber. Method 3 uses vetiver grass as a measure of soil and water conservation in the rubber plantation area. The longest circumference is 7.37 cm, respectively. Method 1 does not contain soil and water conservation measures. In the rubber plantation area, the lowest circumference was 5.97 cm. By the way, 5 is used as a clay 5 as a measure of soil and water conservation. The vetiver grass was planted on the ridges in the rubber plantation area. Vetiver grass planted with soil and water conservation vegetation affected the increase of organic matter and significant statistical difference by method 5. Vetiver grass is planted on ridges in rubber plantations. Maximum organic matter content 3.71 percent. The fourth method uses a 5-tiered clay vetiver. Soil and water conservation measures in the rubber plantation area were 3.67 percent. Method 2 Soil Type 5 is a soil and water conservation measure. In the rubber plantation area, the amount of organic matter was minimal. Moisture levels of 0-15 cm and moisture content of 15-40 cm are likely to increase every year. Method 4 uses a 5-tiered earth shake alternating with vetiver grass. As a measure of soil and water conservation in the rubber plantation area, and method 5, the use of clay type 5 as a soil and water conservation measure and the planting of vetiver grass on the ridges in the rubber plantation area has a higher moisture content than other methods. The moisture content was 23.18 and 23.83, respectively. Soil moisture content from 58-60 years was lower every year and there was no statistically significant difference. The experiment in 2015 is between 1.47-1.52 grams per cubic centimeter in 2016 1.46-1.58 grams per cubic centimeter after the experiment in the year 2560 is between 1.28 -1.37 grams per cubic centimeter The decline is down every year as a result. No crop residue and no herbicide in the area. The amount of phosphorus that is beneficial is increased every time due to the use of chemical fertilizers and residues in the area. The extracted potassium was at levels. Low to moderate levels of 35.40 to 77.80 mg/kg. In terms of soil loss, it was found that the vetiver grass that was planted as soil and water conservation affected soil loss and statistically significant difference. It is a measure of soil and water conservation in the rubber plantation area and method 5. The use of clay type 5 is a soil and water conservation measure and the vetiver grass is planted on ridges in the rubber plantation area at 345 and 184 kg per hectare. farm Method 1 does not contain soil and water conservation measures. In the rubber plantation area. The maximum soil loss was 1031 kg/rai.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

กรมพัฒนาที่ดิน

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ