Notifications

You are here

อีบุ๊ค

รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพตามบริบทชุ...

TNRR

Description
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการจัดการขยะมูลฝอย และพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมตามบริบทชุมชนตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งประชากรในการวิจัยนี้ ได้แก่ ตัวแทนครัวเรือน และตัวแทนหน่วยงานราชการ ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stakeholder)ในพื้นที่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี(Mixed- Methodology Research) ซึ่งวิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประกอบด้วยการศึกษาปริมาณ องค์ประกอบขยะโดยใช้เทคนิค Quartering Sampling และใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการศึกษาสภาพปัจจุบันการจัดการขยะมูลฝอย โดยกลุ่มตัวอย่างคือตัวแทนครัวเรือน จำนวน 400 ครัวเรือน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนวิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้กระบวนการสนทนากลุ่มย่อย(Focus Group Discussion) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา(Content Analysis) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ พบว่า ตำบลนาฝายมีปริมาณมูลฝอยเกิดขึ้น และสะสมในพื้นที่จำนวนมาก เนื่องจากจำนวนประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยแหล่งกำเนิดขยะที่สำคัญคือครัวเรือน และหอพัก ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบคือ มีขยะตกค้างล้นชุมชน ไม่สามารถจัดเก็บได้หมด รวมทั้งประชาชนมีพฤติกรรมการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสมโดยไม่ได้มีการคัดแยกมูลฝอย ซึ่งตำบลนาฝายมีปริมาณขยะเกิดขึ้น ประมาณ 3,260 กิโลกรัมต่อวัน อัตราเกิดขยะมูลฝอยเฉลี่ยคิดเป็น 1.21 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน โดยส่วนใหญ่เป็นขยะรีไซเคิลร้อยละ 30.3 รองลงมาเป็นขยะอินอินทรีย์ร้อยละ 26.11 และ ขยะทั่วไปร้อยละ 20.41และขยะอันตรายร้อยละ 13.10 2. แนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมตามบริบทชุมชนตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ พบว่า รูปแบบการจัดการขยะที่เหมาะสมตามบริบทชุมชนตำบลนาฝายควรให้มีการร่วมมือกันจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการ เอกชน และประชาชน ในการวางแผน กำหนดมาตรการและดำเนินการในการจัดการขยะ ซึ่งได้แนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนตำบลนาฝายประกอบด้วย 9 แนวทาง ดังนี้ 1) กำหนดให้ทุกหมู่บ้านมีการคัดแยกขยะที่ต้นทาง 2) เพิ่มระยะเวลาในการเก็บขนขยะในชุมชน 3) มีกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการคัดแยกขยะ 4) มีกิจกรรมสร้างจิตสำนึกและวินัยในการทิ้งขยะแก่เยาวชนเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง 5) ศึกษาดูงานการจัดการขยะจากพื้นที่ต้นแบบอื่น 6) มีการดำเนินการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การคัดแยก รวบรวม ขาย ใช้ประโยชน์ แยกกำจัด ขยะอันตราย พลาสติก 7) มีธนาคารขยะ และกรรมการดำเนินงาน 8) สร้างกติกาหมู่บ้าน มีมาตรการสำหรับคนที่ทิ้งขยะในที่สาธารณะ 9) การดำเนินการจัดการขยะต้องมีการร่วมมือกันจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล นักวิชาการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานเอกชน และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งการยืนยันรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมตามบริบทชุมชนตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิโดยใช้กระบวนการของเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) พบว่ารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมตามบริบทชุมชนตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่ามีความความเหมาะสมระดับมากที่สุด มีเพียงเพิ่มระยะเวลาในการเก็บขนขยะในชุมชนที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันมีความเหมาะสมในระดับมาก ส่วนความพึงพอในการจัดการขยะมูลฝอยตามรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพตามบริบทชุมชนอย่างยั่งยืน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการจัดการขยะมูลฝอย ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.41 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.51<br><br>This research aims to study the current situation in solid waste management and the guidelines for the development of solid waste management model by community participation in tambon Na fai, Muang District, Chaiyaphum Province. The population in this study are: household agent and representatives of government agencies. There are a stakeholder in the area. This research is a mixed-methodology research (Explanatory Sequential Design). The quantitative data collection method to studies the composition of garbage using Quartering Sampling Technique and use the questionnaire. (Questionnaire) is a tool to study current conditions of solid waste management. The samples were 260 households. Analyze data with statistical packages program as average, percentage was used. Qualitative research uses focus group discussion and analyze data by content analysis. The results are summarize ed as follows. 1. Current condition of solid waste management in Tambon Na Fai, Muang District, Chaiyaphum Province found that Tambon Na Fai has a large amount of solid waste and has accumulated in many areas due to rapid population growth. The major sources of waste are households and dormitories, which have the greatest impact. There is a lot of trash overflowing the community. it is cannot store all. The waste management behavior was not appropriated by the public. the solid waste of Tambon Na Fai has an average of 3,260 kilograms per day. Average waste incidence is 0.51 kg per person per day. Most of them are recyclable waste 30.3%. Secondly, organic waste was 26.1 percent and 23.4% general waste. 2. Guidelines for the development of solid waste management model by community participation Nafai Sub-distric, Muang District, Chaiyaphum Province.It was found that the appropriate waste management model in the context of Nafai community should be cooperated with those involved.Local government officials, academics, private and public.In planning, defining, implementing and managing waste. There are three approaches to waste management in Nafai Sub-distric. 1) Every village has to separate waste from the source. 2) increase the time to collect waste in the community. 3) There are training activities to educate the public on the separation of waste. 4) There are continuous activities to create awareness and disciplines in garbage disposal for youth on a regular basis. 5) Study of waste management from other prototype areas. 6) There is a systematic waste management system. From sorting, collecting, selling, utilizing, separating, removing, hazardous, plastic waste. 7) There are junk banks and operating committees. 8) Create village rules There are measures for people dumping in public places. 9) Waste management must be co-ordinated by those involved, ie local government officials. The stakeholders are the officials of the Tambon Administration Organization, academic staff, the private sector. And the relevant government agencies. Including local people. Consensus of A Efficiency Model of solid waste management Participatory with the urban context Sustainability use Delphi Technique. Professionals have consistent comments are Most levels, But Should Increase duration for Collection Solid Waste in Community. For complacency in Model of solid waste management Participatory with the urban context Sustainability is Most people have more complacent, Average 2.41 S.D 0.51

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ