Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การใช้เถ้าลอยและผงหินปูนเพื่อปรับปรุงกำลังอัดและคว...

TNRR

Description
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และกำลังอัดของคอนกรีตที่ใช้ มวลรวมคอนกรีตรีไซเคิล โดยใช้อัตราส่วนมวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลต่อมวลรวมหยาบที่ร้อยละ 0 10 25 50 และ 100 โดยน้ำหนัก อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.40 0.50 และ 0.60 อัตราส่วนเถ้าลอยต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.20 และ 0.30 และอัตราส่วนผงหินปูนต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.10 ทำการหล่อตัวอย่างคอนกรีตทรงลูกบาศก์ขนาด 10?10?10 ซม3 สำหรับทดสอบกำลังอัดคอนกรีตที่ระยะเวลาบ่มน้ำ 28 56 และ 91 วัน ทำการหล่อตัวอย่างคอนกรีตทรงกระบอกขนาด ? 10 ซม. และสูง 20 ซม. สำหรับทดสอบการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งของคอนกรีตที่ที่ระยะเวลาบ่มน้ำ 28 56 และ 91 วัน และการทดสอบแทรกซึมคลอไรด์แบบแช่ของคอนกรีตภายหลังระยะเวลาบ่มน้ำ 28 วัน และเผชิญในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 3.0% เป็นเวลา 28 56 และ 91 วัน จากผลการทดลองพบว่า เมื่อใช้อัตราส่วนมวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลต่อมวลรวมหยาบสูงขึ้นทำให้ความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และกำลังอัดของคอนกรีตต่ำลง คอนกรีตที่ผสมมวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานต่ำมีความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์สูงกว่าคอนกรีตที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานสูง คอนกรีตที่ใช้มวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลร้อยละ 10 และเถ้าลอยที่อัตราส่วนเถ้าลอยต่อวัสดุประสาน 0.30 มีกำลังอัดสูงกว่าและความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีตดีกว่าคอนกรีตที่ไม่ผสมเถ้าลอยที่อายุ 91 วัน คอนกรีตที่ใช้มวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลและใช้ผงหินปูนที่อัตราส่วนผงหินปูนต่อวัสดุประสาน 0.10 มีกำลังอัดต่ำลงและความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์น้อยกว่าคอนกรีตที่ไม่ผสมผงหินปูน จากความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดและปริมาณประจุไฟฟ้าที่ไหลผ่านของคอนกรีต และความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดและสัมประสิทธิ์การแพร่คลอไรด์ของคอนกรีตสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเลือกส่วนผสมคอนกรีตที่มีความต้านทานคลอไรด์และกำลังอัดที่ดี<br><br>This research aims to study the chloride penetration resistance and compressive strength of concrete with recycled concrete aggregate (RCA). The RCA was used as coarse aggregate replacement materials at the replacement percentages of 0%, 10%, 25%, 50% and 100 %. The water to binder ratios of 0.40, 0.50 and 0.60 were used. Fly ash and limestone powder were used as binder replacement materials at the ratios of 0.20 to 0.30 and 0.10, respectively. Concrete cube specimens of 10 ? 10 ? 10 cm3 size were casted for testing compressive strength of concrete. Concrete cylinder specimens of 10-cm diameter and 20-cm height size were casted for testing chloride penetration resistance of concrete. The rapid chloride penetration and compressive strength tests were performed after water curing for 28, 56 and 91 days. Bulk chloride diffusion tests of concrete were done after 28-day water curing and submerged in 3.0% sodium chloride solution for 28 56 and 91 days. From the experimental results, it was found that the increase of RCA to coarse aggregate ratio results in lower chloride penetration resistance and compressive strength. Concrete containing RCA with low water to binder ratio has higher chloride resistance than that with high water to binder ratio. Concrete with 10% RCA replacement of coarse aggregate and fly ash to binder ratio of 0.30 has higher compressive strength and chloride penetration resistance than that without fly ash at 91-days age. Whereas, concrete with limestone powder to binder ratio of 0.10 has lower compressive strength and chloride penetration resistance than that without limestone powder. According to the relationship of compressive strength and charge passed and the relationship of compressive strength and chloride diffusion coefficient of concrete, these can be applied for the selection of concrete having with good chloride penetration resistance and compressive strength.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

มหาวิทยาลัยบูรพา

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ