Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์...

TNRR

Description
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์กับมูลสัตว์ โดยใช้กระบวนการหมักแบบ 2 ขั้นตอนร่วมกับระบบทำความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ทำการทดลองในแต่ละกรณีทั้งหมดจำนวน 7 วัน โดยมีปัจจัยที่ทำการศึกษา คือ อัตราส่วนผสม 30:50:20 30:35:35 30:20:50 (น้ำ:มูลสัตว์:เศษอาหาร) เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ กรณีใช้และไม่ใช้น้ำร้อนในกระบวนการหมัก ผลจากการทดลองแสดงให้เห็นว่าการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์กับมูลสัตว์สามารถผลิตก๊าซชีวภาพไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีการย่อยสลายของจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในถังหมักก๊าซชีวภาพสามารถให้ปริมาณผลผลิตของก๊าซชีวภาพที่มีก๊าซมีเทน (CH4) เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของก๊าซชีวภาพได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นแล้วยังมีปริมาณก๊าซมีเทนที่ได้จากการวิเคราะห์ผลกรณีใช้และไม่ใช้น้ำร้อนของทั้งสองกรณีเท่ากับร้อยละ 49.86 และ44.33 ซึ่งอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมต่อการติดไฟของก๊าซมีเทนที่ได้จากกระบวนการหมักแบบ 2 ขั้นตอน สำหรับในส่วนของกรณีที่มีการใช้น้ำร้อนเพิ่มประสิทธิภาพในการหมักสามารถช่วยในกระบวนการหมักและช่วยให้อัตราการย่อยสลายของจุลินทรีย์ภายในถังหมักก๊าซที่มีผลต่อการผลิตก๊าซชีวภาพได้ในปริมาณที่มากกว่ากรณีที่ไม่มีการใช้น้ำร้อนช่วยในการหมักก๊าซ คือ ร้อยละ 31.94 นอกจากนั้นแล้วอัตราส่วนผสมมีส่วนที่สำคัญในการผลิตก๊าซเนื่องจากความเข้มข้นของสารอินทรีย์ที่ใช้ในการหมักที่มีสัดส่วนที่แตกต่างกันจึงทำให้มีผลโดยตรงต่อปริมาณผลผลิตของก๊าซมีเทนแตกต่างกัน ในแต่ละกรณีของการศึกษาในครั้งนี้เช่นเดียวกัน<br><br>This research aims to study the optimization of biogas production from organic waste and animal manure using 2-stage fermentation with solar heating system The study was conducted at the rate of 30:50:20 30:35:35 and 30:20:50 (water: animal waste: food waste). Use case and do not use hot water in the fermentation process Experiments have shown that the production of biogas from organic waste and animal manure causes the degradation of microorganisms within biogas digesters to yield the methane yield of methane. Biogas well In addition, the methane content obtained from the analysis of water use and non-hot water in both cases was 49.86% and 44.33%, respectively, in the optimum amount for methane combustion from 2-stage fermentation when In the case of using hot water, fermentation efficiency can help in the fermentation process and help the rate of microbial degradation in the fermentation tank affect the production of biogas in more than the case. No hot water was used in gas fermentation. 31.94% In addition, the rate of the mixture is important in the production of gases due to the different concentrations of organic compounds used in the fermentation, which has a direct effect on the methane yield in each case of this study, the same.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ