Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนากระบวนการการดักจับอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กด้วยละ...

TNRR

Description
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนากระบวนการการดักจับอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กด้วยละอองน้ำที่มีประจุไฟฟ้าและสร้างเครื่องต้นแบบในการดักจับอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กด้วยละอองน้ำที่มีประจุไฟฟ้า ซึ่งอนุภาคที่ใช้ในการทดลองคือ แป้งฝุ่นและผงถ่านหิน ทำการทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นโดยเปรียบเทียบจากน้ำหนักของแผ่นกรองก่อนและหลังการทดสอบ กรณีแรกจะทดสอบในห้องทรงกระบอกทำจากพลาสติกที่มีความสูง 2 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.9 เมตร ศึกษาผลจากตัวแปรต่างๆที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นคือ แรงดันไฟฟ้าที่ให้กับละอองน้ำ ความหนาแน่นของอนุภาค และอัตราการไหลของละอองน้ำ กรณีที่สองจะทดสอบในอุโมงค์ลมวางในแนวนอน เพื่อศึกษาอิทธิพลของความเร็วอากาศที่มีผลต่อการดักจับอนุภาคโดยทดสอบ 3 วิธีการคือ ไม่มีการสเปรย์น้ำ สเปรย์น้ำ และสเปรย์น้ำที่มีการชาร์จประจุไฟฟ้า กรณีสุดท้ายจะทดสอบบริเวณพื้นที่โล่งในห้องทดสอบขนาดสูง 3 เมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร เพื่อหาประสิทธิภาพในการดักจับอนุภาคในที่โล่งโดยฉีดละอองน้ำที่มีการชาร์จประจุไฟฟ้าที่อัตราการไหล 3.22 มิลลิลิตรต่อวินาที จากการทดลองในกรณีแรกพบว่า ผลของแรงดันไฟฟ้า 7.5 กิโลโวลต์ที่ชาร์จให้กับไอน้ำช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดักจับอนุภาคขึ้นประมาณ 30 % เมื่อเทียบกับละอองน้ำที่ไม่มีการชาร์จประจุ ความหนาแน่นของอนุภาคยิ่งสูงมากขึ้นจะทำให้ประสิทธิภาพในการดักจับลดลง และเมื่อเพิ่มอัตราการไหลของละอองน้ำโดยแรงดันไฟฟ้าคงที่จะทำให้ประสิทธิภาพในการดักจับลดลง กรณีที่สองพบว่า ช่วงที่อากาศไหลแบบราบเรียบเมื่อชาร์จประจุให้กับละอองน้ำประสิทธิภาพในการดักจับอนุภาคจะสูงขึ้นประมาณ 35% และช่วงที่อากาศไหลแบบปั่นป่วนประสิทธิภาพในการดักจับอนุภาคของวิธีการสเปรย์น้ำที่มีประจุไฟฟ้าจะเริ่มมีค่าลดลงเข้าใกล้กับวิธีที่สเปรย์น้ำแต่ไม่มีการชาร์จประจุไฟฟ้า แต่อย่างไรก็ตามวิธีการดักจับแบบที่มีชาร์จประจุไฟฟ้าก็ยังคงมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าโดยเฉลี่ยประมาณ 20 % กรณีสุดท้ายพบว่า เมื่อเพิ่มระยะเวลาการฉีดละอองน้ำ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการดักจับอนุภาคเพิ่มขึ้น <br><br>The goal of this research was to study on development of small dust particle precipitating process electrical charged water mist and develop a model for particle capture by electrical charged water mist. Particles used in the test were talc powder and coal powder. The capture efficiency could be considered from air filter weights before and after the test. The first experiment was performed in a plastic cylindrical chamber having a height of 2 m, and a diameter of 0.9 m. The effects on the capture efficiency of the parameters, charging voltage to water spray, density of particle, and water spray flow rate, were investigated. The second experiment was performed in a horizontal wind tunnel to study influence of air velocity on the particle capture. Three methods, no water spray, water spray, and electrical charged water spray were, carried out. The last experiment were performed in an open area which was a room having dimensions of 3 m height x 2 m width x 2 m length. The capture efficiencies for the water spray with and without electrical charge were performed with the water flow rate of 3.22 ml/s. From the first experiment, it was found that with 7.5 kV electrical charging to water spray, the capture efficiency could be enhanced about 30% when compared with no electrical charged water spray. As the particle density was increased, and increase of water spray flow rate, the capture efficiency was reduced. In the second experiment, it was found for the laminar airflow, with electrical charging to water, the capture efficiency increased about 35%. For the turbulent airflow, the capture efficiency of electrical charged water spray was reduced and close to that with no electrical charged condition. However, the capture efficiency of the electrical charged condition was about 20% higher on average. In the last experiment, it was found that, the capture efficiency increased with the increased time of water spraying.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ