Description
โครงการพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบทางเลือกในการแก้ไขปัญหาหมอกควันที่ยั่งยืนในพื้นที่ดอยยาว ดอยผาหม่น จังหวัดเชียงราย และได้ดำเนินการโครงการนำร่องพัฒนาพื้นที่ต้นแบบจากรูปแบบทางเลือกที่ชุมชนได้ร่วมกันคิดวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันในพื้นที่ ได้แก่ 1) โครงการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน 2) โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์โดยใช้เศษวัสดุเหลือทิ้งจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ และ 3) โครงการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนในพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น ดังนั้น ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม จึงดำเนินการวิจัยเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานของโครงการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ประการ ได้แก่ 1) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานทั้งผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการนำร่อง 2) วิเคราะห์กลไกและกระบวนการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค เพื่อให้ทราบปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของโครงการนำร่อง และ 3) เสนอบทเรียนและแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมในการพัฒนาการทำงานของโครงการนำร่อง และก่อให้เกิดการขยายผลการดำเนินโครงการนำร่องซี่งจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาหมอกควันในพื้นที่อย่างยั่งยืนต่อไป ผลการประเมินพบว่า ผลผลิต และผลลัพธ์ของโครงการนำร่อง ทั้ง 3 โครงการ เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ กระบวนการศึกษาวิจัยช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน มีส่วนช่วยในการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจของชุมชนในประเด็นปัญหาหมอกควัน ทำให้ชุมชนให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการป้องกันปัญหาหมอกควัน ในช่วง 60 วันอันตราย ปลอดการเผา ปี 2560 ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งพบว่า ฮอตสปอต ที่เกิดจากไฟป่าหมอกควัน ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และพื้นที่ดอยยาว ดอยผาหม่น มีจำนวนน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โครงการนำร่องผลิตปุ๋ยอินทรีย์โดยใช้เศษวัสดุเหลือทิ้งจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตอบโจทย์วิถีชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะหมู่ที่ 15 บ้านร่มฟ้าผาหม่น ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นในหมู่บ้าน มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากมูลค้างคาวในพื้นที่ และสามารถขายนำรายได้ให้กับกลุ่มได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังผลิตใช้ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์ในหมู่บ้าน นอกจากนั้นสถานีควบคุมไฟป่าภูชี้ฟ้า สามาถนำองค์ความรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์โดยใช้ซังและเปลือกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ขยายไปในหมู่บ้านเครือข่ายเฝ้าระวังไฟป่า จำนวน 4 หมู่บ้าน ของสถานีควบคุมไฟป่าภูชี้ฟ้า สำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 15 ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้ภารกิจประจำของหน่วยงาน และมีงบประมาณรองรับ ทำให้การขยายผลมีประสิทธิภาพ ส่วนการพัฒนาการท่องเที่ยวต้องปรับให้เหมาะสมกับชุมชนในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตร คนในชุมชนส่วนใหญ่ไม่มีความเข้าใจเรื่องท่องเที่ยวยั่งยืน มีเพียงกลุ่มคนที่เข้าร่วมดำเนินโครงการทางเลือกเท่านั้นที่มีความรู้ ความเข้าใจ การพัฒนาการท่องเที่ยวต้องคำนึงถึงด้านสังคม/วัฒนธรรม/วิถีชีวิต และ สิ่งแวดล้อม รวมทั้ง คุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ ส่วนคณะกรรมการพัฒนาดอยยาว ดอยผาหม่น ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกลไกการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหมอกควันในพื้นที่ดอยยาว ดอยผาหม่น ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ ของคณะกรรมการอย่างเป็นรูปธรรม
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการ พบว่ากลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนโครงการนำร่องแก้ไขปัญหาหมอกควัน คือผู้นำชุมชนในพื้นที่ ซึ่งการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ ต้องคำนึงถึงภูมิหลังของชุมชน ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน ต้องมีทีมงานที่เข้มแข็ง และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินโครงการนำร่อง รวมทั้งการที่ชุมชนได้รับผลประโยชน์ร่วมในการดำเนินโครงการนำร่อง ตลอดจนการขยายผลโครงการนำร่องไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ ในพื้นที่
<br><br>The Development of Community Participation Mechanisms for Sustainable Alternative Solution of Haze Problem in Doi–yon Doi–Pha Mon Area, Chang Rai Province is aimed to implement the model, which is developed based on community participation, in solving the smog problems, and to build up a substantial area for community learning on sustainable solutions to smog problems in Doi Yao – Doi Pha Mon area, Chiang Rai Province. The participatory action research was used in the study. Three pilot projects to implement the model was build including development of sustainable agriculture, organic fertilizer from maize cob and sustainable tourism. The Environmental research and training centre has set up the monitoring and evaluation research project of the operation in 3 pilot projects, with an aim to learn the present status, outcomes and output; to study the process of the operation, problems–obstacles, factors to the success as well as lesson learned and suggestion for appropriate operation guidelines.
The outcome of the evaluation has found that the project yielded the outputs as planned. The participatory action research help to develop community learning process on sustainable solutions to smog problems which showed the less number of hot spot in Doi–yon Doi–Pha Mon area the year of 2017. As the result of the best co - operation between local government and community to protect smog problems. The organic fertilizer from maize cob is suitable for community way in the study area. Especially in Ban Rom Fah Pha Mon, there were a trial production of compost fertilizers from maize cob and can make income for community. Beside that Forest Fire Control Station could set up learning area of maize cob compost fertilizers and could extend result to 4 community network for smog problems monitoring. For sustainable tourism should adapt to community way and consider in social, culture and environment. Most of them do not understand in sustainable tourism. Regarding the aspect of community participation mechanisms did not work well. Even though the project was set up the development of Doi Yao – Doi Pha Mon committee in the study area.
The Factors to success are leaders who have directed the work; operation is base on the local context of the community participation; the results have been extended to build network in smog problems monitoring and the communities are benefitted from the activities.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read