Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภา...

TNRR

Description
การวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อทรัพยากรน้ำชุมชน และคาดการณ์สภาพภูมิอากาศในอนาคตของพื้นที่ศึกษาโดยคัดเลือกจังหวัดชัยภูมิ และบุรีรัมย์ เป็นตัวแทนของพื้นที่ลุ่มน้ำชีและมูล ตามลำดับ วิธีวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ (1) คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยใช้แบบจำลองสภาพอากาศระดับภูมิภาค PRECIS, ECHAM4 ภายใต้ IPCC SRES แบบ A2 และ B2 วิเคราะห์คาดการณ์ข้อมูลอุณหภูมิสูงสุดอุณหภูมิต่ำสุด และปริมาณน้ำฝน (2) ประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 500 รายประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้รู้ สมาชิกชุมชน เครือข่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นลุ่มน้ำลำปะทาว และเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ จากการคาดกรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิและจังหวัดบุรีรัมย์ด้วยแบบจำลอง กรณี A2 และ B2 พบว่า ให้ค่าที่ไม่ต่างกันมากนัก โดยในอนาคตช่วงสั้น (ค.ศ.2010 -2039) อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 0.3 - 0.4 C และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 0.6 C ปริมาณฝนสะสมรายปีเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น 34.3 - 60.8 มิลลิเมตร ในจังหวัดชัยภูมิ และ 4.5 -13.9 มิลลิมตร ในจังหวัดบุรีรัม: หากเปรียบเทียบข้อมูลคาดกรณ์ปริมาณฝนสะสมรายปีในอนาคตกับข้อมูลปีฐาน พบว่า ในรอบ 30 ปี จังหวัดชัยภูมิและจังหวัดบุรีรัมย์มีเหตุการณ์ที่มีปริมาณน้ำฝนสะสมสูงกว่าข้อมูลปีฐานอยู่ 12 ปี โดยมีอยู่ 2 ปี ที่ปริมาณน้ำฝนสะสมรายปีสูงกว่าข้อมูลปีฐานอย่างเด่นชัด(>500 มิลลิเมตร) ส่วนที่เหลืออีก 18 ปี มีปริมาณฝนสะสมรายปีต่ำกว่าข้อมูลปีฐาน สำหรับการกระจายตัวของฝนในอนาคต พบว่า ช่วงเดือนมิถุนายน ฝนจะตกน้อยกว่าปีฐาน และเดือนกันยายน ฝนจะตกมากขึ้น คือ มากกว่าปีฐาน ดังนั้น การวางแผนบริหารจัดการน้ำในอนาคตจึงควรให้ความสำคัญกับภาวะฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง แต่ต้องไม่ละเลยกรณีที่อาจจะมีฝนตกหนักผิดปกติผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อทรัพยากรน้ำชุมชนในพื้นที่ศึกษา คืออากาศร้อนจัดทำให้น้ำระเหยเร็วขึ้น จนน้ำในลำห้วยแห้งขอด แหล่งน้ำในไร่นาลดระดับอย่างรวดเร็วประกอบกับผนที่ทิ้งช่วง ทำให้เกิดน้ำแล้ง ขาดแคลนน้ำ น้ำไม่พอใช้ทำการเกษตร และการที่ฝนตกหนัก ในเวลาสั้นๆ และฝนตกนอกฤดู ทำให้เกิดน้ำท่วม นาข้าว ผลผลิตเสียหาย หากเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดชัยภูมิ และบุรีรัมย์ พบว่า ชุมชนตันน้ำ ที่ต้องพึ่งพาความอุดมสมบูรณ์ของป่าดันน้ำพึ่งพาแหล่งตันน้ำ แหล่งน้ำชับจากบนภูเขา และพึ่งพาฝนตามฤดูกาล เพื่อนำมาผลิตประปาภูเขาใช้ในการอุปโภคบริโภค ปีใดที่เกิดความแห้งแลังและฝนทิ้งช่วงยาวนาน ชุมชนเหล่านั้นต้องประสบปัญหาน้ำไม่พอใช้ ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นเวลาหลายวัน ถึงนานนับเดือน จึงนับเป็นชุมชนที่มีความเสี่ยงสูง ได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงกว่าชุมชนอื่นๆ ซึ่งอยู่ในพื้นที่กลางน้ำหรือปลายน้ำ ที่มีแหล่งน้ำหลายแห่งและหลายประเภท สามารถสร้าง จัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติมได้ง่ายกว่า<br><br> This research aims to assess risk and impact from climate change on community water resources and to predict forth-coming climate in Chaiyaphum and Burirum provinces, as the representatives in Chi and Mun Watershed, respectively. Research methodology includes 2 components (1) predict climate change using a regional climate model; PRECIS, ECHAM4, under the IPCCs scenarios A2 and B2, with respect to maximum and minimum temperature, and rainfall, (2) evaluate the risk from climate change using qualitative research based on group discussion with 500 sample size, consisting of representatives from local administrations, community leaders, local key informant, community members, local research network for Lampatown watershed, and organic farmer network. The results from the climate models under A2 and B2 showed that climate changes in Chaiyaphum and Burirum provinces were comparable. In a short-climate- term (2010 - 2039), the maximum temperatures will likely increase on the average of 0.3 - 0.4 C, the minimum temperatures will likely increase on the average of 0.6 *C, and annual accumulated rainfall will also increase about 34.3 - 60.8 mm in Chaiyaphum and 4.5 - 13.9 mm in Burirum provinces. When compare the predicted accumulate rainfall to the base year, the results from the 30-yr period showed that both provinces will likely to have the accumulate rainfall 12 years higher than the base year, but only 2 years with obviously high accumulate rainfall (>500 mm). The remaining 18 years will have the accumulate rainfall lower than the base year. The future of rainfall distribution will likely be less in June but September will have more rainfall than the base year. The future plan for water resource management should emphasis on drought and rainfall shortage but should be aware of the even of unusual intense rainfall as well. The impact from climate change on community water resources in the study areas includes warm weather, resulting in high evaporation, the absent of water in streams, rapid loss of water in agricultural ponds. Delay rainfall will likely to cause drought and insufficient water for agricultural activities. Intense rainfall in a short period and out-of-season rainfall may cause flood and damage rice fields and other agricultural products. The samples from upstream communities are largely relied on fertile upstream forest, water flow from top of the mountains, and regular cycle of seasonal rain. Any prolong drought and delay rainfall caused by climate change will likely to impact the upstream communities more than the middle or downstream communities that have more options on the sources of water, or even build new water storage options.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

กรมทรัพยากรน้ำ

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ