Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การลดปริมาณอนุภาคเขม่าควันดำจากไอเสียเครื่องยนต์ดี...

TNRR

Description
กิจกรรมของมนุษย์นั้นส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ การขนส่งคือหนึ่งในสาเหตุที่มีนัยสำคัญต่อการปล่อยมลพิษที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะมลพิษที่เกิดจากเชื้อเพลิงฟอสซิล กลุ่มประเทศยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้นั้นมีการบังคับใช้กฎหมายควบคุมมลพิษ สองแนวทางที่สามารถลดปริมาณมลพิษคือการใช้เชื้อเพลิงทางเลือกและการติดตั้งอุปกรณ์กรองมลพิษในงานวิจัยนี้ ได้ทำการศึกษาโดยใช้สองแนวทางดังกล่าวโดยการใช้เชื้อเพลิงผสมดีเซล ไบโอดีเซล ไบโอเอทานอล ดีเซลออกซิเดชั่นแคตาลิส และอุปกรณ์กรองเขม่าแบบไหลผ่านบางส่วน การใช้เชื้อเพลิงไบโอดีเซลและไบโอเอทานอลถือเป็นเชื้อเพลิงที่ยังยืนและสามารถลดการคาดแคลนของเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ ส่วนการใช้อุปกรณ์กรองเขม่าแบบไหลผ่านบางส่วนนั้นสามารถผลิตและติดตั้งกับรถใช้แล้วในประเทศไทยได้ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศเกาหลีใต้ ในโครงการนี้ได้ทำการศึกษาปริมาณอนุภาคเขม่าควันดำจากไอเสียของเครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยการอัด โดยเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมเอทานอล-ไบโอดีเซล-ดีเซล เช่น B10 (0-10-90) B20 (0-20-80) B20E5 (5-20-75) และ B20E10 (10-20-70) เป็นต้น เปรียบเทียบกับกรณีที่มีการติดตั้งระบบออกซิเดชั่นแคตาลิสและอุปกรณ์กรองเขม่าแบบไหลผ่านบางส่วนต้นแบบ ผลกระทบของเชื้อเพลิงชีวภาพผสมต่อการวิเคราะห์การเผาไหม้ในเครื่องยนต์ได้ทดสอบเครื่องยนต์บนชุดทดสอบสมรรถนะและประสิทธิภาพเครื่องยนต์ ณ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยียานยนต์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สัณฐานวิทยาและโครงสร้างระดับนาโนของอนุภาคเขม่าที่ถูกปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงต่างชนิดกันจะถูกวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน นอกจากนี้ อุปกรณ์กรองเขม่าแบบไหลผ่านบางส่วนถูกออกแบบให้เหมาะสำหรับติดตั้งในรถเก่าที่มีมาตรฐานไอเสียไม่เกินระดับยูโร 4 โดยทดสอบรถยนต์ดีเซลที่ติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวบนชุดทดสอบสมรรถนะและประสิทธิภาพรถยนต์ ณ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยียานยนต์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และห้องปฏิบัติการตรวจวัดมลพิษจากยานพาหนะ กรมควบคุมมลพิษ จากผลการศึกษาพบว่าอุปกรณ์กรองเขม่าแบบไหลผ่านบางส่วนที่ใช้ควบคู่กับเชื้อเพลิงชีวภาพสามารถปริมาณอนุภาคเขม่าควันดำได้มากกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงดีเซลที่ไม่มีระบบกรองเขม่าแบบไหลผ่านบางส่วน<br><br>It is undeniable that there is a link between human activity and climate change. A significant source of emissions that can cause this climate change is transportation, specifically emissions from using fossil fuels. Europe, USA, Japan, and South Korea have tightened emission controls to combat this. Two methods of reducing emissions are with fuel and with exhaust after-treatment systems. This research investigated these two methods using various mixes of fossil fuel diesel, biodiesel, bioethanol, diesel oxidation catalysts (DOC), and partial flow diesel particulate filters (P-DPF). Using biodiesel and bioethanol reduces the dependency on fossil fuel and allows a more sustainable source of fuel. Using the partial flow diesel particulate filters can be important as a starting point because of its capability to be manufactured and retrofitted in Thailand, similar to how South Korea made this their starting point. In this project, the compression ignition engines with ethanol-biodiesel-diesel blended fuels such as B10 (0-10-90), B20 (0-20-80), B20E5 (5-20-75) and B20E10 (10-20-70) were used to investigate and test the emissions of soot particles by comparing the test results with and without diesel oxidation catalyst (DOC) and partial flow diesel particulate filters (P-DPF) prototype system. The effect of blended biofuels in engine combustion analysis were also studied on KMITL engine dynamometer. The morphology and nanostructure of soot which emitted by different types of fuels were also investigated through electron microscopy analysis. Moreover, the Partial Flow DPFs were successfully designed and analyzed for diesel vehicles that do not meet the Euro4 emission standards. By doing the vehicle test on KMITL chassis dynamometer and on PCD chassis dynamometer, it had been found that Partial Flow DPF systems using with blended biofuel can reduce the emission of soot particles more than 50% than while testing with diesel fuel without installing of Partial Flow DPF systems in testing analysis.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ