Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการ ศึกษาการบริหารจัดการและการนำทรัพยากรประมงม...

TNRR

Description
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรหอยแมลงภู่บริเวณแนวเสาคอนกรีตชะลอคลื่นอย่างยั่งยืน และ (2) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรหอยแมลงภู่เพื่อการสร้างรายได้และลดความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจให้กับชาวประมงพื้นบ้านโดยสามารถสรุปผลการวิจัยดังนี้วิธีการดำเนินการวิจัย คณะผู้วิจัยได?กำหนดระเบียบวิธีการวิจัย โดยการใช?กระบวนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และปริมาณ ประกอบด้วย การวิจัยเชิงเอกสาร การบันทึกข้อมูล การสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก/การเก็บข้อมูลแบบมีส่วนร่วมและการสร้างปฏิบัติการจริงระหว่างการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัย ประกอบด้วยผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ไม่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการ มีบทบาทเป็นอาสาสมัครชุมชน จำนวน ร้อยละ 27.50% รองลงมา มีบทบาทเป็นผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยบ้าน จำนวน 15.00 % และเป็นนักวิจัย มีจำนวน 10.00% ผลการวิจัย พบว่า โครงการวิจัยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรภายในชุมชนเพื่อให้สมาชิกในชุมชนสามารถนำทรัพยากรในชุมชนมาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน โดยในการใช้ประโยชน์สัตว์น้ำบริเวณแนวเสาคอนกรีตชะลอคลื่น ชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนทั้งผู้เข้าร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ทุกคน แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขข้อตกลงของชุมชน คือ การจับสัตว์น้ำที่โตได้ขนาด ห้ามจับสัตว์น้ำวัยอ่อน และใช้เครื่องมือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากการศึกษา พบว่า กลุ่มคนที่มีสิทธิ์เข้าถึงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรเป็นลำดับแรก คือ กลุ่มคนยากจนในชุมชน รองลงมา เป็นกลุ่มคนไม่มีงานทำและกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรหลังการดำเนินโครงการ ผู้เข้าร่วมจับสัตว์น้ำประเภทหอยแมลงภู่และปลากะพงขาวได้มากกว่าผู้ไม่เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากหอยแมลงภู่ เป็นสัตว์น้ำเป้าหมายหลักที่ทางชุมชนและโครงการวิจัยให้ความสำคัญในการบริหารจัดการในการใช้ประโยชน์ เพื่อต้องการลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรดังกล่าวก่อให้เกิดการมีรายได้เพิ่มขึ้นของสมาชิกในชุมชน ก่อนดำเนินโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ต่ำกว่าเส้นยากจน เป็นผู้เข้าร่วมโครงการ 70 % กลุ่มไม่เข้าร่วมโครงการ 35 % หลังดำเนินโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่อยู่ต่ำกว่าเส้นยากจน ลดลงเหลือ 4.76 % ในขณะที่กลุ่มไม่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ต่ำกว่าเส้นยากจน ลดลงเหลือ 21.05 %นอกจากนั้น ก่อนดำเนินโครงการ กลุ่มผู้เข้ารวมที่เป็นกลุ่มคนไม่ยากจนแต่ต่ำกว่า 40% มีจำนวน 30 % ในขณะที่กลุ่มผู้ไม่เข้าร่วมมี 65% หลังดำเนินโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่อยู่ในกลุ่มเกณฑ์รายได้ไม่ยากจนแต่ต่ำกว่า 40% ขยับเพิ่มขึ้นเป็น 95.24 % และกลุ่มไม่เข้าร่วมโครงการ ก็เพิ่มขึ้นเป็น 78.95 %จึงแสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างที่เคยอยู่ในเกณฑ์ยากจนได้ก้าวข้ามพ้นเส้นความยากจน มาอยู่ในเกณฑ์ไม่ยากจนแต่ต่ำกว่า40%และเมื่อพิจารณารายได้เฉลี่ยครัวเรือน พบว่า ก่อนดำเนินโครงการ รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน คือ 221,340 บาท/ปี และรายได้เฉลี่ยต่อหัว/คน คือ 2,804 บาท/เดือน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่อยู่ต่ำกว่าเส้นยากจน หลังดำเนินโครงการ รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน คือ 253,584 บาท/ปี และรายได้เฉลี่ยต่อหัว/คน คือ 3,215 บาท/เดือน ซึ่งพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีรายได้เฉลี่ยสูงขึ้น และจัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มไม่ยากจนแต่ต่ำกว่า 40% เมื่อพิจารณารายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อเดือน ของกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในกลุ่มต่ำกว่าเส้นยากจน มีรายได้เฉลี่ย2,317.80 บาท/หัว/เดือน หลังดำเนินโครงการ มีรายได้เฉลี่ย 2,244.2 บาท/หัว/เดือน และกลุ่มไม่ยากจนแต่ต่ำกว่า 40% ก่อนดำเนินโครงการ มีรายได้ต่อหัวเฉลี่ย 3,341.7 บาท/หัว/เดือน และหลังดำเนินโครงการมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ย 3,353.9 บาท/หัว/เดือน ซึ่งพบว่าจำนวนรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างที่เคยอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าเส้นความยากจน ได้ก้าวข้ามพ้นเส้นความยากจน มาอยู่ในเกณฑ์ไม่ยากจนแต่ต่ำกว่า40%<br><br>Abstract The objective of this research project is to study the management of the use of green mussel resources in the area of sustainable wave-solver and (2) to study the utilization of green mussel resources for generating income and reduce economic inequality for local fishermen which can summarize the findings as follows.Research methods : The research team establishes research methods by using qualitative and quantitative research methods consisting of document research data recording, observation, in-depth interview/participatory data collection during research. Sample group in research studies: It consists of 40 participants and non-participants in which the project participants played a role as a community volunteer, 27.50% Minor to play a community leadership role, such as a 15.00% village headman and 10.00% . is project researchers.The results show that the research project focuses on the management of resource utilization within the community so that community members can make sustainable use of community resources. By using the benefits of aquatic animals in the concrete pillar line to slow down the waves fishermen in the community, both project participants and non participating in the project, can access to resources, everyone but must be under the terms of the community agreement, which is to catch fish that grow in size do not catch young aquatic animals and use environmentally friendly tools.Studies have shown that the first group of people with access to resource utilization is the poor in the community, followed by unemployed and local fishermen who are involved in resource conservation.After the project implementation participants caught green mussel and sea bass more than those who did not participate in the project. Because green mussel Is the main target aquatic animal that the community and research projects focus on management in utilization to reduce conflicts arising from utilization in the area and the use of these resources leads to increased income of community members. Before project implementation sample groups that are below the poverty line 70% of the project participants. The group did not participate in the project. 35% after the project found that the project participants below the poverty line were reduced to 4.76 % While the group did not participate in projects that were below the poverty line, reduced to 21.05 %.In addition, before the project was implemented , the total group of non-poor but less than 40% is 30%, while the non-participating group has 65% after the project. It is found that project participants in the income threshold group are not poor but less than 40% moved up to 95.24% and the group did not participate in the project was increased to 78.95 %.Therefore showing that sample groups that have previously been in poverty threshold have crossed the poverty line came to be in the threshold of not poor but less than 40%.And when considering the average household income, found that before project implementation the average household income is 221,340 baht / year and the average per capita income / person is 2,804 baht / month, which is classified as Group 1 as a group that is below the poor line . After the project was carried out, the average household income was 253,584 baht / year and the average per capita income / person was 3,215 baht / month, which found that the sample had a higher average income. And classified as group 2, namely the group is not poor but less than 40%.When considering the average income person per month of target groups that are below the poverty line have an average income of 2,317.80 baht / person / month after the project with an average income of 2,244.2 baht / person / month.And the group is not poor but less than 40% before the project is implemented with an average per capita income of 3,341.7 baht / person / month and after the project has an average per capita income of 3,353.9 baht / person /month, which found that the number of income increased because the sample group used to be below the poverty line has crossed the poverty line come to be in the threshold of not poor but less than 40%.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ