Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการบริหารจัดการทุนวิจัยนวัตกรรมของสำนักงานบูรณ...

TNRR

Description
อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เกิดการสร้างงาน และสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศไม่ต่ำกว่าหลายแสนล้านบาทต่อปีเนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตและส่งออกน้ำตาลอันดับต้นๆของโลก จึงทำให้เกิดการสร้างงานขนาดใหญ่ขึ้นมากมายตั้งแต่ภาคเกษตรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปลูกอ้อยไปจนถึงภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีการเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือใช้จากการผลิตน้ำตาล เช่น กากอ้อย ชานอ้อย เป็นต้น จากการสร้างงานวิจัยจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการสนับสนุนทุนวิจัยให้กับภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมสามารถนำไปต่อยอดใช้ประโยน์ได้ ในปี 2563 มีกรอบวิจัย ดังนี้ 1. การพัฒนากระบวนการผลิตน้ำตาล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3. การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพอ้อยอุตสาหกรรม โดยทั้ง 3 กรอบวิจัยเป็นกรอบวิจัยที่ครอบคลุมด้านอ้อยตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ โดยมีทุนวิจัยด้านการบริหารจัดการอ้อยและน้ำตาลจำนวนรวมทั้งสิ้น 9แผนงาน 20 โครงการเดี่ยว งบประมาณรวมทั้งสิ้น 58,264,900 บาท ซึ่งโครงการวิจัยด้านอ้อยและน้ำตาลที่ได้รับทุนสนับสนุนทั้งหมด สามารถดำเนินการวิจัยได้ตามแผนการดำเนินงาน วัตถุประสงค์ และได้ผลผลิตตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยในปีงบประมาณ 2563 มีโครงการที่เสร็จสิ้นแล้ว จำนวน 13 โครงการ และขยายเวลาทั้งสิ้น 16 โครงการ ทุนปีงบประมาณ 2564 ตามกรอบวิจัยดังนี้ 1. การพัฒนากระบวนการผลิตน้ำตาลและผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และ 2. การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพอ้อยอุตสาหกรรม โดยมีทุนวิจัยด้านการบริหารจัดการอ้อยและน้ำตาลจำนวนรวมที่ได้รับการสนับสนุนทั้งสิ้น 4 แผนงานวิจัย 6 โครงการเดี่ยว งบประมาณรวมทั้งสิ้น 27,997,000 บาท บาท สามารถดำเนินการวิจัยได้ตามแผนการดำเนินงาน ที่กำหนดไว้ รวมถึงมีการพัฒนาข้อเสนอโครงการในปีงบประมาณ 2565 โดยสำนักบูรณาการฯ ได้รับอนุมัติทุนทั้งสิ้น 6 แผนงานวิจัย 1 โครงการเดี่ยว งบประมาณรวมทั้งสิ้น 10,993,000 บาท โดยทุนวิจัยที่อนุมัติตอบโจทย์การวิจัยมุ่งเป้าในกรอบระยะเวลาที่กำหนดทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2563 มีผลงานที่มีการผลักดันไปสู่การใช้ประโยชน์ ได้แก่ 1. การใช้ประโยชน์จากกากน้ำตาลเพื่อการผลิต 2,3-บิวเทนไดออล สำหรับศักยภาพในการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ และเคมีชีวภาพ 2. การผลิตผงสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพมูลค่าสูงที่มีคุณสมบัติลดริ้วรอยและต้านอนุมูลอิสระจากชานอ้อยด้วยกระบวนการหมักแบบแห้ง และการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางชะลอวัย 3. การส่งเสริมและติดตามเทคโนโลยีการผลิตท่อนพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวแบบประณีตแนวใหม่สำหรับเกษตรกร 4. พัฒนาและผลิตท่อนพันธุ์สะอาดนำร่องเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5. การประยุกต์ใช้งานระบบระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียมราคาถูกสำหรับกระบวนการเพาะปลูกอ้อยในประเทศไทย (ระยะที่ 3) 6. การประเมินผลผลิตโคลนอ้อยก้าวหน้าในพื้นที่ปลูกอ้อยภาคกลางและเหนือ 7. การพัฒนาเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแบบระบบเปิดต้นทุนต่ำสำหรับการผลิตแปลงพันธุ์อ้อยเชิงพาณิชย์8. การประเมินศักยภาพและความเหมาะสมของพื้นที่และดิน และกำหนดชุดเทคโนโลยีการจัดการดิน-ปุ๋ยในการปลูกอ้อยที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและตอนบนของประเทศไทย 9. จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงพาหะนำโรคใบขาวอ้อย 10. นวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้จากโรงงานน้ำตาลสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่มีมูลค่าสูง 11. การพัฒนาผิวเคลือบแข็งด้วยวิธี PTA แบบหลายชั้นสำหรับชิ้นส่วนอุปกรณ์การเกษตร 12. การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลพลอยได้ของอุตสาหกรรมน้ำตาลโดยวิธีทางเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น จึงนับว่าเป็นความสำเร็จในการบริหารจัดการทุนวิจัยด้านอ้อยและน้ำตาลอีกขั้นหนึ่ง เพื่อพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมและการแข่งขันของประเทศ สามารถได้ผลผลิตตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในปีงบประมาณ 2564 มีผลงานที่มีการผลักดันไปสู่การใช้ประโยชน์ได้แก่ 1. การประเมินและดัดแปรผลผลิตและผลผลิตพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล ด้วยเทคโนโลยีสีเขียว เพื่อการแข่งขันได้ในระดับอุตสาหกรรม 2. การศึกษาผลของเทคนิคการเพาะปลูกอ้อยที่เสนอต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อย 3.การประเมินผลการส่งเสริมการพัฒนาท่อนพันธุ์สะอาดเพื่อเป็นแปลงพันธุ์สำหรับเกษตรกรต้นแบบ 4. การขยายผลชุดเทคโนโลยีการจัดการดินและธาตุอาหารเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อยปลูกและอ้อยตอใจังหวัดสระแก้ว 5. แพลตฟอร์ม IoT สำหรับเครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น ซึ่งในปีงบประมาณ 2564 นี้ มีผู้ใช้ประโยชน์อย่างโรงงานน้ำตาลมาเข้าร่วมในการศึกษา วิจัย และพัฒนา เพื่อที่ต่อยอดให้กับอุตสาหกรรมด้านอ้อยและน้ำตาลต่อไป<br><br>Sugar cane industry plays an important in to economical and environmental systems in Thailand. This type of industry creates a lot of job positions and can gain income no less than trillion Thai baht per year. The National Research Council of Thailand (NRCT), a funding agency with the mission to support research funding, has recognized the importance of sugar cane r e s e a r c h w h i c h c a n b e a p p l i e d t o i n d u s t r y a n d a g r i c u l t u r e .In 2020, NRCT had approved the funding to support for sugar cane research in 9 plans and 20 projects within total budgets 58,264,900 baht. Projects have 13 finished and 16 to extend for delay. These projects have been carried out according to the operational plan, objectives, and outputs as planned. In 2021, Executive committee had approved the funding to support for sugar cane research in 4 plans and 6 projects within total budgets 27,997,000 baht. In 2022, Executive committee have approved the funding tosupport for sugar cane researchin 6 plans and 1 projectwithin total budgets 10,993,000 baht.In 2020, Several projects have been utilized, for example, 1. Utilization of sugarcane molasses for 2,3-butanediol production for potential uses in Biofuels and Biochemicals Industry 2. Production of high-value bioactive compounds with reduce wrinkles and antioxidant capabilities from sugarcane bagasse under solid-statefermentation for anti-aging cosmetics 3. Management of sugarcane mechanization and its production system for quality enhancement of sugarcane products 4.Development and intensive seed cane production to sugarcane farmer in North, Central and Northeast of Thailand 5. Low-cost GNSS solutions for sugarcane farming applications in Thailand (Phase 3) 6. Yield Evaluation of Elite Sugarcane Clones in the Central and Northern Planting Area7. Development of Low-cost, Open Tissue Culture Technology for Commercial Seedcane Field Production 8. Potential and suitability assessment of lands and soils and development of soilfertilizer management technology packages for effective and sustainable sugarcane cropping in Lower and Upper Northeast Thailand 9. Microbial agents that are effective to management the leafhopper vectors of sugarcane white leaf disease 10. Innovative exploitations of sugar industry by-products forhigh-valuecontinuous industrial applications 11. Application of Multi-layered PTA Hardfacing on Agriculture Part 12. Value creation of by-products of sugar industry using biotechnological methods

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ