Notifications

You are here

อีบุ๊ค

ระบบเฝ้าระวังการใช้งานและคาดคะเนสภาพสำหรับชิ้นส่วน...

TNRR

Description
รถหัวลากเป็นยุทโธปกรณ์ที่สำคัญ ใช้ในการขนส่งทางทหารและลำเลียงยุทโธปกรณ์อื่นๆ การบำรุงรักษารถหัวลากมีความล้าสมัยเป็นแบบซ่อมเมื่อเสียหรือซ่อมล่วงหน้าก่อนที่จะเสียจึงมีโอกาสเกิดการเสียหายที่ไม่คาดคิดและมีค่าใช้จ่ายสูงในการบำรุงรักษา วัตถุประสงค์การวิจัยของโครงการคือ การพัฒนาระบบการบำรุงรักษาแบบตามสภาพเครื่อง โดยใช้ระบบเซ็นเซอร์ติดที่รถหัวลาก และใช้ขั้นตอนวิธีทางตรรกศาสตร์คลุมเครือ (fuzzy logic) ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนวิธีทางปัญญาประดิษฐ์ที่ทันสมัย มาคำนวณหาสภาพปัจจุบันของชิ้นส่วนสำคัญ ใช้ตัวแบบพยากรณ์เพื่อคำนวณอายุการใช้งานที่เหลืออยู่ของชิ้นส่วน เป็นระบบเฝ้าระวังการใช้งานแบบตามเวลาจริงโดยเฝ้าดูการใช้งานของชิ้นส่วนและสุขภาวะของพลประจำรถ ระเบียบวิธีวิจัยเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลจากนายทหารผู้ดูแลรถหัวลาก เพื่อให้ทราบถึงลักษณะการเสียหายของรถหัวลาก และวิธีการบำรุงรักษาแบบเดิม วัดการสั่นสะเทือนของชิ้นส่วนสำคัญได้แก่ ช่วงล่าง เครื่องยนต์ หม้อน้ำ เกียร์ และห้องโดยสาร จากนั้นออกแบบระบบเซ็นเซอร์และระบบคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม พัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง นำไปติดตั้งที่รถหัวลาก ปรึกษาหารือกับผู้ใช้คือ กองพันทหารขนส่งที่ 2 (ผสม) กรมทหารขนส่งรักษาพระองค์ (พัน.ขส.2(ผสม) กรม ขส.รอ.) นำข้อมูลกลับมาพัฒนาระบบอีกครั้ง นำกลับไปติดตั้ง ทำการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง ขนาดของตัวอย่างที่ศึกษาคือ รถหัวลาก Renault รุ่น R385ti ของหน่วยผู้ใช้จำนวน 5 คัน โครงการนี้พัฒนาระบบเป็น 4 ส่วนได้แก่ • เซ็นเซอร์และคอมพิวเตอร์ติดที่รถหัวลาก เพื่อวัดอุณหภูมิ ตำแหน่ง ความเร็ว และความเร่งของชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง • คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ ติดตั้งที่คณะผู้วิจัย ทำหน้าที่รับสัญญาณจากเซ็นเซอร์ และใช้ขั้นตอนวิธีทางตรรกศาสตร์คลุมเครือเพื่อคำนวณสภาพปัจจุบันของชิ้นส่วน คำนวณอายุการใช้งานที่เหลืออยู่ เก็บข้อมูลลงฐานข้อมูล • คอมพิวเตอร์ศูนย์ข้อมูล ติดตั้งที่หน่วยผู้ใช้ ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลมาแสดงได้แก่ ค่าเซ็นเซอร์ทั้งแบบในอดีตและแบบตามเวลาจริง ตำแหน่ง GPS ของรถหัวลาก และระยะเวลาที่เหลืออยู่ของชิ้นส่วน • โปรแกรมสำหรับใช้ดูข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือ ใช้ดูข้อมูลได้เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ศูนย์ข้อมูล ระบบสามารถทำงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยทุกประการ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยได้แก่ ระบบจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากจากการใช้งานจริงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานพอสมควร เพื่อสะสมความรู้เพื่อนำมาใส่ในตัวแบบตรรกศาสตร์คลุมเครือเพื่อให้คำนวณสภาพปัจจุบันของชิ้นส่วนได้แม่นยำมากขึ้น กองทัพควรขยายผลนำระบบนี้ไปใช้กับพาหนะสำคัญในจำนวนที่มากขึ้นและมีผู้รับผิดชอบโดยตรงในการใช้งานระบบบำรุงรักษาแบบสมัยใหม่นี้ จึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในด้านวิชาการ ขั้นตอนวิธีที่ใช้ถือว่ายังไม่ลึกซึ้งมากเพียงพอที่จะนำไปเผยแพร่ในวารสารระดับโลก อาจมีการทำวิจัยเพิ่มเติมโดยนำเอาตัวแบบใหม่ๆมาใช้ในการทำนาย เพื่อให้ได้ข้อมูลและการนำไปใช้ที่แพร่หลายมากขึ้น ควรมีการส่งเสริมให้นำระบบนี้ไปใช้กับกองยานพาหนะในภาคโรงงานและอุตสาหกรรม ซึ่งมีการใช้งานเป็นประจำ<br><br>Low-bed vehicles are important military equipment used in military transport and transport of other equipment. Maintenance of low-bed vehicles has become obsolete, either a repair at breakage or pre-repair before it fails, so there is a chance of unexpected damage and a high cost to maintain. The research objectives of the project are as follows. First is to develop a condition-based maintenance system by using sensor system attached to the low-bed vehicles and using fuzzy logic algorithm, which is one of the modern artificial intelligence algorithms, to calculate the current condition of important parts. Second is to develop forecast model to calculate the remaining useful life of parts. Third is to develop a real-time monitoring system that monitors the usage of parts and the health of the crew. The research methodology is as follows. First is gathering information from the soldiers in charge of the low-bed vehicle in order to know the nature of the damage of the vehicle and traditional maintenance methods. Second is measuring vibration of key components including suspension, engine, radiator, transmission and crew cabin. Third is designing a suitable sensor and computer system. Fourth is developing related hardware and software. Fifth is installing on the low-bed vehicles under the user which is the 2nd Transport Battalion (Mixed), Royal Guard Transport Regiment, Department of Transport. Sixth is bringing the information back to develop the system again, then bring back to install. This whole cycle is used to continuously develop the system. The samples under study were five Renault R385ti low-bed vehicles. This project has developed the system into 4 parts:• Sensors and computers mounted on the low-bed vehicles to measure the temperature, position, velocity and acceleration of the relevant parts.• Server, installed at the research team, serves to receive signals from the sensors, use fuzzy logic algorithms to calculate the current state of the parts, calculate the remaining useful life, and store data into database.• Data center is installed at the user unit to extract data from the database, to display historical and real-time sensor values, to display the tractors GPS position and part’s remaining useful life.• A program for viewing data from mobile devices, which can be used to view data the same as the data center.The system works in accordance with all research objectives. Recommendations obtained from the research are as follows. The system requires a large amount of data from continuous use for a considerable period of time to accumulate knowledge to put in the fuzzy logic model to calculate the current condition of the parts more accurately. The army should extend the adoption of this system to a larger number of key vehicles and assign direct responsible personnel for the implementation of this modern maintenance system in order to make the most benefit according to the set goals. In academic, the algorithm used is not profound enough to be published in world-class journals. More research may be done by introducing new models to make predictions. To get more data and widespread use, it should be encouraged to apply this system to the fleet of vehicles in the factory and industrial sectors, which is used regularly.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ