Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนภาคเหน...

TNRR

Description
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อพัฒนาการสร้างอัตลักษณ์และออกแบบตราสินค้าหรือหนังสือผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่วิสาหกิจชุมชนก้าวหน้าของจังหวัดเชียงใหม่ และ (2) ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของพัฒนาการสร้างอัตลักษณ์และออกแบบตราสินค้า โดยใช้แนวคิดของการออกแบบบรรจุภัณฑ์และอัตลักษณ์ของผู้ผลิต และแนวคิดการประเมินผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ ตามลำดับ โดยในการศึกษานี้ได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและทำการคัดเลือกวิสาหกิจชุมชุนก้าวหน้า 2 แห่งจากทั้งหมด 20 แห่งเพื่อใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์การประเมินจากทุนชุมชน 5 ด้านของวิสาหกิจชุมชน ประกอบไปด้วย ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ ทุนธรรมชาติและทุนด้านการเงิน ซึ่งจากผลการคัดเลือกเบื้องต้น พบว่า วิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรบลูเบิร์ด และ วิสาหกิจชุมชนกาแฟสดแม่ตอน เป็นวิสาหกิจที่มีความเข็มแข็งและพร้อมที่จะรับการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และเอกลักษณ์ของวิสาหกิจ ผลการประเมินศักยภาพและทุนของทั้ง 2 วิสาหชุมชนในเบื้องต้น วิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรบลูเบิร์ดจะเป็นตัวแทนของวิสาหกิจชุมชนก้าวหน้าที่อยู่ในขั้นริเริ่ม และสำหรับวิสาหกิจชุมชนกาแฟสดแม่ตอนจะเป็นตัวแทนของวิสาหกิจชุมชนก้าวหน้าที่มีความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ยังพบว่า ทั้ง 2 วิสาหกิจมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และตราสินค้า รวมถึงบรรจุภัณฑ์มาบ้างแล้ว แต่ยังขาดความเป็นตัวตนของวิสาหกิจชุมชนและตัวสินค้ายังไม่สื่อชัดเจนว่าคืออะไร และแตกต่างจากที่อื่นอย่างไร นอกจากนี้วิสาหกิจทั้ง 2 แห่งยังไม่มีการจัดทำหนังสือผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจเลย ทำให้ภาพรวมของผลิตภัณฑ์ การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ หรือการนำเสนอภาพรวมของผลิตภัณฑ์ยังไม่ถูกต้องนัก ดังนั้นทีมวิจัยได้ดำเนินการออกแบบและส่งมอบหนังสือผลิตภัณฑ์โดยอาศัยพื้นฐานของวิสาหกิจและจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจมาเป็นพื้นฐานและแรงบันดาลใจในการออกแบบ ซึ่งผลของหนังสือผลิตภัณฑ์จะถูกประเมินในรูปแบบผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้แนวคิด Ex-anteผลการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรบลูเบิร์ดมีผลการประเมิน SROI อยู่ที่ 3.59 ภายในระยะเวลาการคำนวณ 5 ปี แต่ในกรณีวิสาหกิจชุมชนกาแฟสดแม่ตอนมีผลการประเมิน SROI อยู่ที่ 17.45<br><br>The purposes of this research are (1) to develop the identity and design brand book for creating the competitiveness for progressive community enterprise in Chiang Mai province and (2) evaluate the economic and social impacts of identity design logo or brand book using the approaches related to brand book and identity design for producer and social and economic return on investment (SROI) approach, respectively. In this study, the qualitative methods are employed, and two out of 20 progressive community enterprises are selected based on the five commodity funds approach, consisting human resources, social resources, physical resources, environment resources, and financial resources. According to the selection result, blue bird herb and Mae ton coffee community enterprises are selected as they have a strong community and are ready for improving their products and identities. Regarding the potential evaluation of these two community enterprises, it is found that blue bird herb and Mae ton coffee community enterprises are classified as the initial and professional community enterprises, respectively. Besides, both enterprises have already developed some product packages and brands. However, their packages and brands are lacking their identities and miscommunicated products. Also, both enterprises do not have their own brand books, thus the overview, location, and presentation of their products are not quite correct. Therefore, the brand books are designed based on their fundamental and prominent points. The value of brand books is evaluated in terms of economic and social impacts using Ex-ante approach. The results of social and economic impacts of SROI of blue bird herb is 3.59 during the next five years, while SROI of Mae ton coffee is 17.45

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ