Notifications

You are here

อีบุ๊ค

เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมในการจัดการขยะทั่วไปในเขตที่อยู...

TNRR

Description
การวิจัยนี้ใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (ทฤษฎีการผลักดัน) ในการกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณการคัดแยกขยะรีไซเคิลแทนที่จะทิ้งขยะดังกล่าวรวมกันเป็นขยะทั่วไป หลังจากนั้นได้มีการวัดประสิทธิผลของการแทรกแซงวิธี 3 วิธีได้แก่ การให้ข้อมูล การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และการใช้บรรทัดฐานทางสังคมและข้อมูลสะท้อนกลับ ต่อที่อยู่อาศัยหลักทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และอาคารชุด การศึกษาใช้การทดลองภาคสนามโดยใช้เวลาในการทดลองทั้งสิ้น 32 สัปดาห์ แบ่งเป็น 16 สัปดาห์แรกที่ไม่ได้ให้การแทรกแซงใด ๆ และ 16 สัปดาห์หลังที่มีการแทรกแซงด้วยวิธีต่าง ๆ ครอบคลุมที่อยู่อาศัยทั้งสิ้น 12 โครงการ เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของงานวิจัย 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการคัดแยกขยะรีไซเคิลออกจากขยะทั่วไประหว่างก่อนและหลังการแทรกแซง (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการแทรกแซงวิธีต่าง ๆ ต่อประเภทที่อยู่อาศัยแบบต่าง ๆ และ (3) นำผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการคัดแยกขยะมาคำนวณผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแทรกแซงด้วยทฤษฎีการผลักดัน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีความโดดเด่นกว่างานวิจัยที่ผ่าน ๆ มาทั้งในแง่ระยะเวลาการทดลองที่ยาวนานกว่า ประเภทที่อยู่อาศัยที่ครอบคลุมกว่า และประเภทการแทรกแซงที่ครบถ้วนมากกว่า และสุดท้ายจะนำผลการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมมาใช้ในการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะด้วยทฤษฎีการผลักดันนั้นมีประสิทธิผลที่ดี กล่าวคือ การแทรกแซงทั้ง 3 วิธีทำให้ปริมาณการคัดแยกขยะ (วัดน้ำหนักขยะรีไซเคิลที่ถูกคัดแยกระหว่างก่อน-หลังการแทรกแซง) มากขึ้น การเปรียบเทียบความแตกต่างของปริมาณน้ำหนักขยะระหว่างช่วง 16 สัปดาห์แรกและ 16 สัปดาห์หลัง ในกลุ่มควบคุม (ไม่ได้รับการแทรกแซง) พบว่าปริมาณน้ำหนักขยะ รีไซเคิลลดลงร้อยละ 26.37 ในกลุ่มการให้ข้อมูลพบว่ามีปริมาณน้ำหนักขยะรีไซเคิลเพิ่มขึ้นร้อยละ 91.57 ในกลุ่มการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางกายภาพมีปริมาณน้ำหนักขยะรีไซเคิลเพิ่มขึ้นร้อยละ 130.43 และในกลุ่มการใช้บรรทัดฐานทางสังคมและข้อมูลสะท้อนกลับมีปริมาณน้ำหนักขยะรีไซเคิลเพิ่มขึ้นร้อยละ 117.55 ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าการแทรกแซงทุกประเภทส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการแยกขยะมากขึ้น และการแทรกแซงด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางกายภาพมีประสิทธิภาพมากที่สุด อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงบริบททางกายภาพมีลักษณะเด่นดังนี้ (1) เป็นการสื่อสารที่ตรงไปตรงมาไม่ต้องตีความ (2) เป็นการสื่อสารที่ตรงกับผู้มีหน้าที่จัดการขยะและตรงกับเวลาที่เกิดพฤติกรรมการคัดแยกขยะ (3) เป็นการสื่อสารที่มั่นคงถาวรสามารถสื่อสารกับผู้อยู่อาศัยได้ตลอดเวลา สำหรับการเปรียบเทียบปริมาณน้ำหนักขยะรีไซเคิลที่คัดแยกได้ โดยตามประเภทที่อยู่อาศัย พบว่ากลุ่มบ้านเดี่ยวที่ได้รับการแทรกแซงมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.96 (ในขณะที่กลุ่มบ้านเดี่ยวควบคุมมีการเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 5.10) กลุ่มทาวน์โฮมที่ได้รับการแทรกแซงมีปริมาณน้ำหนักขยะรีไซเคิลเพิ่มขึ้นร้อยละ 73.17 (ในขณะที่กลุ่มทาวน์โฮมควบคุมมีปริมาณน้ำหนักขยะรีไซเคิลลดลง 41.33) และกลุ่มอาคารชุดที่ได้รับการแทรกแซงมีปริมาณน้ำหนักขยะรีไซเคิลเพิ่มขึ้นร้อยละ 125.92 (ในขณะที่กลุ่มอาคารชุดควบคุมมีปริมาณน้ำหนักขยะรีไซเคิลลดลงร้อยละ 45.31) ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าที่อยู่อาศัยรูปแบบอาคารชุดตอบสนองต่อการแทรกแซงในภาพรวมดีที่สุดเนื่องจากมีปริมาณน้ำหนักขยะรีไซเคิลเพิ่มขึ้นร้อยละ 171.23 เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม สาเหตุหลักพบว่าผู้อยู่อาศัยแบบอาคารชุดเป็นกลุ่มคนอายุเฉลี่ยน้อยกว่าซึ่งมักเป็นกลุ่มที่มีทัศนคติตื่นตัวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและอาคารชุดได้มีการจัดพื้นที่สำหรับการทิ้งขยะมูลฝอยที่มีความสะดวกกว่าพื้นที่ในที่อยู่อาศัยประเภทอื่น ๆ ในขณะที่รูปแบบที่อยู่อาศัยแบบบ้านเดี่ยวตอบสนองต่อการแทรกแซงน้อยที่สุด เนื่องจากสภาพการจัดการขยะในที่อยู่อาศัยประเภทนี้มีความเป็นปัจเจกสูง แต่ละบ้านมีช่องทิ้งขยะของตนเองและมีช่องทิ้งเพียงช่องเดียวไม่ได้มีจัดเตรียมพื้นที่สำหรับการแยกประเภทขยะของบ้านแต่ละหลัง เมื่อทางโครงการใช้วิธีจัดสรรพื้นที่ส่วนกลางก็จะก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการคัดแยกขยะ อีกทั้งผู้รับสารจากการแทรกแซงและผู้จัดการขยะอาจจะเป็นคนละคนกัน โดยผู้อยู่อาศัยบ้านเดี่ยวมักมีการจ้างแม่บ้านที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการจัดการขยะ จากการพิจารณามูลค่าทางเศรษฐกิจเบื้องต้นพบว่า มูลค่าของขยะที่สามารถคัดแยกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้จะมีมูลค่าประมาณ 40.25 ถึง 41.95 บาทต่อกิโลกรัม (ขึ้นอยู่กับราคาของคาร์บอนเครดิต) ดังนั้นมูลค่าทางเศรษฐกิจส่วนเพิ่มที่ได้จากการทดลองครั้งนี้คือ 8,345.08 ถึง 8,738.19 บาทต่อสัปดาห์ต่อโครงการ หากคิดมูลค่าเศรษฐกิจดังกล่าวตลอด 1 ปีหรือ 52 สัปดาห์ จะมีมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 435,971.9 ถึง 454,385.88 บาทต่อโครงการ ดังนั้นหากขยายการดำเนินงานการแทรกแซงไปในระดับที่กว้างขึ้น เช่น ให้ครอบคลุมที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะสามารถส่งผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้น<br><br>This research applies one of the major concepts in the field of behavioural economics, namely, the Nudge Theory, to promote waste segregation behaviour. The research has three main objectives. First, we explore whether interventions based on the Nudge Theory help improve waste segregation behaviour. Second, we investigate what is the most effective intervention for and across different residential types. Last but not least, we calculate the economic impact based on the results and factual information. The field experiment method is selected for this study. The experiments took a total of thirty-two weeks in twelve properties. There are four projects of each property types (detached home, townhome, and condominium) as we examine three types of nudging interventions, namely, information provision, changes of physical contexts, as well as social norms, plus the control group. This research extends nudging literature in various aspects. We observe long term average behaviour in different types of properties. We also test more interventions than most of the previous studies. The results suggest that nudges applied in the experiment are effective and can induce proper behaviour regarding waste segregation. In fact, the weight of recyclable waste increases by 135.84 percent overall. The most effective intervention is changing physical contexts with 156.80 percent increase in weight. Social norm treatment groups and the information provision treatment result in 117.55 and 91.57 percent increase in recyclable waste weight, respectively. We opine that the changes in physical conditions of waste collective area is the most observable interventions due to its advantages, namely, (1) direct communication without interpretation, (2) communication to the right person at the right time, and (3) communication at all times no matter when people do garbage dumps. Other interventions involve message delivery that may have downside in term of specific characteristics, location management, and message delivery success rate. The most responsive type of property to nudging interventions is condominiums as the weight of recyclable waste increases by 171.23 percent. Follow by townhomes at 114.53 percent increase and lastly, detached homes at 14.93 percent. From our survey, condominium residents average age is lower than those in townhomes and detached homes. This factor contributes to higher environmental issue awareness. Also, the waste collection areas for condominium are more convenient for residents, i.e., the distance from residential area to waste collection area is shorter compared to common areas for waste collection in other housing types Additionally, the improvement in waste segregation results in positive economic welfare. Per the inclement of 1 kg of recyclable waste segregation, the economic benefits increased at the amount of 40.25 to 41.95 bath depending on the price of carbon credit. Therefore, from this study, the average economic welfare increases per study site per week is 8,345.08 to 8,738.19 baht or pro-rated equivalent of 435,971.9 to 454,385.88 baht per year.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ