Description
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพรูปแบบใหม่ที่มีเป้าหมายในการป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจกำลังเป็นที่ต้องการเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของมลภาวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ดังนั้นข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงจึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากประสิทธิผลในการป้องกันโรคที่เกิดจากการอักเสบและความเครียดออกซิเดชัน โดยนำช่อดอกข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงมาสกัดด้วย 50 เปอร์เซ็นต์เอทานอล ซึ่งสารประกอบโพลีฟีนอลหลักที่พบในสารสกัดช่อดอกข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง คือ แอนโทไซยานิน รูติน เควอซิทิน แคมพ์เฟอรอล และกรดเฟรูลิก อย่างไรก็ตามความคงตัวและชีวปริมาณสารออกฤทธิ์ที่ต่ำของสารประกอบโพลีฟีนอลก็เป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับการนำสารสกัดไปประยุกต์ใช้ต่อ ดังนั้นเทคโนโลยีการเอนแคปซูเลชันในรูปแบบไฟโตโซมจึงถูกนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่าไฟโตโซมที่มีสารสกัดข้าวโพดสีม่วงเป็นองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้นมา มีอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดระหว่างสารสกัดและฟอสฟาติดิลโคลีนคือ 80 ต่อ 20 และยังพบว่าภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (TEM) ก็เผยให้เห็นถึงลักษณะพื้นผิวเรียบภายนอกของโครงสร้างทรงกลมที่ถูกห่อหุ้มไว้ภายในอนุภาค นอกจากนั้นการเอนแคปซูเลชันในรูปแบบไฟโตโซมในการศึกษานี้ยังพบพันธะเคมีใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธะไฮโดรเจนและพันธะของหมู่อัลคีนและเบนซีนซึ่งเป็นพันธะเคมีใหม่ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากพันธะเคมีที่พบในสารสกัดแบบธรรมดาและฟอสฟาติดิลโคลีน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของพันธะเคมีนี้ส่งผลให้จุดหลอมเหลวของของไฟโตโซมเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้นยังพบว่าการกระจายตัวของอนุภาคไฟโตโซมมีลักษณะไม่เป็นเอกพันธ์และข้อมูลนี้ก็สอดคล้องตามค่าดัชนีการกระจายตัวของอนุภาคของไฟโตโซม ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าประสิทธิภาพของการเอนแคปซูเลชันของไฟโตโซมประมาณ 80.363?0.694 เปอร์เซ็นต์ และค่าศักย์ซีต้าเท่ากับ -30.960?0.137 มิลลิโวลต์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการเอนเคปซูเลชันในรูปแบบไฟโตโซมและความคงตัว มากไปกว่านั้นข้อมูลฤทธิ์ทางชีวภาพได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ COX-II ของไฟโตโซมที่มีสารสกัดข้าวโพดสีม่วงเป็นองค์ประกอบนั้นก็ดีกว่าสารสกัดแบบธรรมดา และสารสำคัญหลักของสารสกัดช่อดอกข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงยังคงสามารถพบได้ในไฟโตโซม ความชุกของโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของระบบทางเดินหายใจซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของโลกกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจากความชุกที่สูงขึ้นและผลกระทบต่อภาระทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศรวมไปถึงการขาดกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จในการรักษาความผิดปกติทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ ตลอดจนฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดช่อดอกข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงและเทคนิคการเอนแคปซูเลชันในรูปแบบไฟโตโซม จึงตั้งสมมุติฐานว่าไฟโตโซมที่มีสารสกัดข้าวโพดสีม่วงเป็นองค์ประกอบ สามารถจัดการกับภาวะทางเดินหายใจอักเสบได้ เพื่อทดสอบสมมติฐาน ไฟโตโซมที่มีสารสกัดข้าวโพดสีม่วงเป็นองค์ประกอบ ขนาด 100, 200 และ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวถูกป้อนเป็นเวลา 21 วันให้กับหนูแรทเพศผู้พันธุ์วิสตาร์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบของทางเดินหายใจด้วย PM2.5 ขนาด 24.0 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัวโดยการฉีดผ่านหลอดสวนทางเดินหายใจเป็นเวลา 21 วัน จากนั้นประเมินการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของทางเดินหายใจ ผลการศึกษาพบว่า ไฟโตโซมที่มีสารสกัดข้าวโพดสีม่วงเป็นองค์ประกอบ สามารถเปลี่ยนแปลงพารามิเตอร์ของภาวะทางเดินหายใจอักเสบในทางที่ดีขึ้น ได้แก่ มีการลดลงของแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบได้แก่ COX-II activity, IL1?, IL-6, IL-8, MMP2, MMP9, MMP12, TGF-?, TNF? leukotriene B4 และ iNOS ตลอดจนความเครียดออกซิเดชัน และมีการแสดงออกของ scavenging enzymes ได้แก่ SOD, CAT และ GSH-Px และโปรตีน sirtuins ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังมีการเพิ่มขึ้นของเชื้อแบคทีเรีย lactic acid bacteria และ Lactobacillus spp. จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ไฟโตโซมที่มีสารสกัดข้าวโพดสีม่วงเป็นองค์ประกอบ สามารถต้านการอักเสบในระบบทางเดินหายใจได้ กลไกการออกฤทธิ์บางส่วนมาจากการปรับการทำงานของ sirtuins และแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังส่งผลให้ลดความเครียดออกซิเดชันและการอักเสบในระบบทางเดินหายใจได้อีกด้วย ดังนั้นไฟโตโซมที่มีสารสกัดข้าวโพดสีม่วงเป็นองค์ประกอบจึงสามารถใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมสมรรถนะในการจัดการกับโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจอักเสบได้คำสำคัญ ข้าวโพดข้าวเหนี่ยวสีม่วง, ช่อดอก, ไฟโตโซม, ทางเดินหายใจอักเสบ<br><br>Nowadays, the novel supplement targeting at anti-respiratory inflammation is required due to the increasing of air pollution especially particulate matter 2.5 (PM2.5). The potential benefits of purple waxy corn have gained much attention due to their reputations and their protective effect against oxidative stress and anti-inflammatory disorders. The tassel of purple waxy corn was prepared as 50% hydro-alcoholic extract by maceration technique. The main polyphenolic compounds ingredients in tassel 50% hydro-alcoholic were anthocyanin, rutin, quercetin, kaempferol and ferulic acid. However, the poor stability and poor bioavailability of the polyphenolic compounds are the big burden for the application of the extract. Therefore, phytosome technology was implemented to overcome the burdens just mentioned. The current data revealed that the suitable formulation of phytosome containing tassel 50% hydro-alcoholic extract was the combination ratio of tassel 50% hydro-alcoholic: phosphatidylcholine was 80:20. The images derived from scanning electron microscope (SEM) and transmission electron microscope (TEM) revealed the smooth surface of spherical-liked structure with the entrapment of substance liked tassel 50% hydro-alcoholic extract inside the vesicle. According to the preparation, the new chemical bonding had been formed especially the O–H stretching and =C–H stretching in addition to the higher amount of normal bonds observed in tassel 50% hydro-alcoholic extract and phosphatidylcholine. These changes gave rise to the increase in melting point of phytosome. The distribution showed heterogeneity and the results are in accordance with the polydispersity index (PDI) data. The encapsulation efficiency was around 80.363?0.694% and zeta potential value was -30.960?0.137 mV which indicated the high efficiency of encapsulation and stability of phytosome. The biological data including the antioxidant and the suppression effects of COX-II of phytosome were better than that of tassel 50% hydro-alcoholic extract. In addition, the main ingredients of tassel 50% hydro-alcoholic extract were still observed in phytosome. The prevalence of respiratory diseases related with inflammation, an important global health problem, is continually increasing. Due to the high prevalence, high impact on socioeconomic burden of the country and the lack of therapeutic strategy that successfully treat all disorders presented in respiratory inflammation, this study aimed to determine the anti-respiratory inflammation effect of phytosome containing tassel 50% hydro-alcoholic extract. Based on the anti-inflammatory and antioxidant effects of purple waxy corn together with the advantages of the phytosome encapsulation technique, it had been hypothesized that phytosome containing tassel 50% hydro-alcoholic extract should be able to manage respiratory inflammation. To test the hypothesis, phytosome containing tassel 50% hydro-alcoholic extract at doses of 100, 200 and 400 mg/kg-1BW were orally given to male Wistar rats with respiratory inflammation induced by PM 2.5 at dose of 24 mg/kg-1BW for 21 days. They were determined respiratory inflammation changes in lung tissue. It was found that the phytosome containing tassel 50% hydro-alcoholic extract significantly improved respiratory inflammation including inflammatory markers such as COX-II activity, IL1?, IL-6, IL-8, MMP2, MMP9, MMP12, TGF-?, TNF? leukotriene B4 and iNOS. In addition, scavenging enzymes such as SOD, CAT and GSH-Px together with sirtuins expression in lung tissue were also observed. Moreover, lactic acid bacteria and Lactobacillus spp. were also observed. these data suggest that phytosome containing tassel 50% hydro-alcoholic extract exhibit anti-respiratory inflammation and the possible underlying mechanism may be associated partly with the modulation effect on sirtuins and gut microbiota. In addition, phytosome also improves oxidative stress and inflammation in respiratory system. Therefore, phytosome containing tassel 50% hydro-alcoholic extract can be served as the potential supplement to manage respiratory inflammation.Keyword Purple waxy corn, tassel, phytosome, respiratory inflammation
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read