Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การวิเคราะห์หาแนวทางเชื่อมโยงอุตสาหกรรมอัญมณีและเค...

TNRR

Description
อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีทิศทางการพัฒนาเพื่อเป็น นครแม่สอด เมืองอัญมณีแห่งเอเชีย สู่ศูนย์หยกโลก เนื่องจากเป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ติดกับประเทศเมียนมา ซึ่งเป็นแหล่งอัญมณีที่มีชื่อเสียงของโลกและเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอำเภอแม่สอด แต่เนื่องจากสถานการณ์การประมูลอัญมณีของเมียนมาที่มีความเข้มงวดในการส่งออกมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ตลาดอัญมณีแม่สอดซบเซาลง ด้วยเหตุนี้ โครงการนี้จึงมีเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอำเภอแม่สอด โดยการวิเคราะห์หาแนวทางเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของอำเภอแม่สอด เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลาของการดำเนินโครงการ (กันยายน 2563 – กันยายน 2564) เป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยและทั่วโลกประสบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหยุดชะงักทั่วประเทศ ดังนั้น โครงการนี้จึงเพิ่มเติมอีกหนึ่งเป้าหมาย โดยการวิเคราะห์หาแนวทางการเชื่อมโยงทั้งสองอุตสาหกรรมที่สามารถดำเนินการได้ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อาศัยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตามหลักการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment) แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) จัดทำกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix และคัดเลือกกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่มากที่สุด มาจัดทำเป็นโครงการ ภายใต้สถานการณ์ปกติ จำนวน 1 โครงการ (โครงการที่ 1) ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ (1) การประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ของพื้นที่ผ่านช่องทางออนไลน์ (2) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ (3) การพัฒนาพื้นที่ตลาดริมเมยเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมอัญมณี เครื่องประดับ และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ (4) การสนับสนุนเครื่องทดสอบคุณสมบัติอัญมณีเพื่อจัดทำเอกสารรับรองคุณภาพอัญมณีโดยภาครัฐ และภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ (1) การจัดส่งกล่องสินค้าที่สื่อถึงความเป็นแม่สอด (โครงการที่ 2) และ (2) การปรับเปลี่ยนโรงแรมที่พักเป็นโรงพยาบาลสนาม (Hospitel) (โครงการที่ 3) ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์หาแนวทางการดำเนินกิจกรรมของแต่ละโครงการ พบว่า ทุกโครงการมีแนวทางที่สามารถดำเนินการตามหลักความยั่งยืน และตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 12 เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การลดของเสียที่เป็นอาหาร การลดของเสียด้วยกระบวนการ Reuse และ Recycle และการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างยั่งยืนได้ และจากการวิเคราะห์ความสอดคล้องของกิจกรรมกับนโยบายที่เกี่ยวข้อง พบว่า ทุกโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก (พื้นที่อำเภอแม่สอด) เขตพัฒนาการท่องเที่ยวมรดกโลกด้านวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 พ.ศ. 2561-2564 และแม่สอดโมเดล Stronger Together นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมต่อการลงทุนทางด้านการเงิน ยังแสดงให้เห็นว่า ทั้ง 3 โครงการ มีความเหมาะสมต่อการลงทุน โดยมีค่าปัจจุบันสุทธิ ประมาณ 1,387, 58 และ 61 ล้านบาท ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าเป็นโครงการที่ให้ผลประโยชน์คุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งทั้ง 3 โครงการ มีอัตราผลตอบแทนอยู่ในช่วง ร้อยละ 16.24-16.62 โดยโครงการที่ 2 มีระยะเวลาคืนทุนน้อยที่สุด คือ 0.51 ปี ในขณะที่โครงการที่ 1 มีระยะเวลาคืนทุน 1.71 ปี และโครงการที่ 3 มีระยะเวลาคืนทุนนานที่สุด คือ 8.80 ปี<br><br>Amphoe Mae Sot, Tak Province is developing to become Mae Sot City, from the gems city of Asia to the world jade center. This is because Mae Sot is located next to Myanmar, which is the world renown of gems and also the source of gems for Mae Sot. However, due to the situation of the gems auction process in Myanmar, the process of gems export becomes more stringent. Consequently, the gems market in Mae Sot is in a recession. Therefore, the goal of this study is to promote gems and jewelry industry in Mae Sot by analyzing its connectivity to tourism industry, which is another high potential industry in Mae Sot, towards sustainable development. In addition, during the time of this study (September, 2020 – September, 2021), the world, including Thailand, is facing COVID-19 pandemic crisis, resulting in a major halt of tourism industry in Thailand. Thus, another goal was included in this study which is to analyze the connectivity between gems and jewelry industry and tourism industry under the pandemic. The study was conducted by an in-depth interview of stakeholders by following a life cycle assessment framework for related information. The information was analyzed on strength, weakness, opportunity and threat of the industries by SWOT analysis, then the SWOT analysis results were used to develop strategies by using TOWS Matrix. Strategies that were most applicable and related to the demand of the community were selected and developed into projects. There were 3 projects, one was the project for a usual situation (Project 1), while another two projects (Project 2 and Project 3) were for the pandemic situation. Project 1 consisted of 4 activities which were (1) the promotion of various activities via online platform, (2) an event organization to promote experiential tourism, (3) the landscape development of Rim Moei Market to promote gems and jewelry industry and (4) an investment in gemology tools and instruments by the government. Project 2 was a gift box containing a variety of products that reminds the receiver of Mae Sot. Project 3 was to convert from a hotel to hospitel. After a scrutinized consideration on the activities of each project, it was found that each project can be implemented according to the sustainability concept and sustainable development goal (SDG), SDG 12 responsible consumption and production, particularly for the targets on efficient resource management and consumption, the reduction of food waste, the reduction of waste by reuse and recycle processes and sustainable public procurement. Based on the examination on the relevance of each activity and related policies, all of the activities in each project were supported by the policies i.e., Special Economic Zone (Mae Sot), Cultural Heritage Tourism Development Zone, Development Strategy of the Lower Northern Part 1 of Thailand (1998-2021) and Stronger Together Mae Sot Model. Moreover, economic and financial analyses were implemented on each project to present their project financial feasibility on investment. The result suggested that all the three projects were financially feasible. The net present value (NPV) of Projects 1, 2 and 3, approximately 1,387, 58 and 61 million Baht, respectively, indicated that the projects benefits were worth the investment. The projects’ internal rate of return (IRR) ranged from 16.24% to 16.62. Project 2 had the least payback period of 0.51 year, while that of Project 1 was 1.71 years. Project 3 had the longest payback period of 8.80 years.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ