Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การแก้ปัญหาสีของน้ำยางข้นและผลิตภัณฑ์ถุงมือและโฟมย...

TNRR

Description
ยางธรรมชาติมีโครงสร้างหลักคือ พอลิไอโซพรีน (cis-1, 4 polyisoprene) และมีองค์ประกอบที่ไม่ใช่ยางปนอยู่ด้วย เช่น โปรตีน, ลิพิด, น้ำตาล และสารก่อสี เป็นต้น น้ำยางธรรมชาติถูกนำมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่ หมอนยาง ที่นอนยาง ถุงยางอนามัย และถุงมือยาง หนึ่งในปัญหาของยางธรรมชาติคือ การเกิดสีเหลืองเข้มของผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการลดความเหลืองในน้ำยางข้นซึ่งใช้สำหรับทำผลิตภัณฑ์ และในผลิตภัณฑ์โฟมยางและถุงมือที่เตรียมโดยใช้น้ำยางจากต้นยางสายพันธุ์ RRIT 251 และ RRIM 600 จากภาคตะวันออกเปรียบเทียบกับภาคใต้ของประเทศไทยที่ถูกเก็บระหว่างปี พ.ศ. 2562 ถึง 2564 โดยทำการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความเหลือง (Yellowness index, YI) ด้วยเครื่องวัดสี (HunterLab รุ่น colorquest?XE) พบว่าน้ำยางข้นที่เก็บได้ในเดือนธันวาคมของปี พ.ศ. 2562 และ 2563 มีค่าดัชนีความเหลืองที่สูงกว่าน้ำยางข้นที่ถูกเก็บในเดือนอื่นๆ และเมื่อนำตัวอย่างน้ำยางข้นทั้งหมดไปทำผลิตภัณฑ์โฟมยางและถุงมือยาง พบว่า ตัวอย่างโฟมยางที่ทำจากน้ำยางข้นสายพันธุ์ RRIT 251 จากภาคใต้ มีแนวโน้มที่ได้ค่าดัชนีความเหลืองสูงที่สุด แต่สำหรับดัชนีความเหลืองของตัวอย่างถุงมือจะมีแนวโน้มไปทางเดียวกับดัชนีความเหลืองของน้ำยางข้นตัวนั้นๆ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาวิธีการลดความเหลืองในน้ำยางข้นและผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิดและหาสภาวะที่เหมาะสมในขั้นตอนการผลิต โดยพบว่าค่าความเหลืองของยางธรรมชาติมีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับปริมาณองค์ประกอบที่ไม่ใช่ยาง ได้แก่ โปรตีนและไขมัน การลดสีน้ำยางข้นทำได้โดยการควบคุมพารามิเตอร์ต่างๆ ในกระบวนการผลิตให้เหมาะสม ได้แก่ % ของแข็งทั้งหมดในน้ำยาง (TSC) ความเร็วรอบและเวลาที่ใช้ในการปั่นเหวี่ยง รวมถึงการปรับอัตราการไหลออกของน้ำยางข้นและหางน้ำยาง นอกจากนี้การเพิ่มกระบวนการล้างยังช่วยลดค่าสีและปริมาณองค์ประกอบที่ไม่ใช่ยางลงได้อย่างมาก โดยเฉพาะปริมาณโปรตีน ในส่วนของผลิตภัณฑ์โฟมยางและถุงมือยาง กระบวนการล้างทำให้ค่าดัชนีความเหลืองมีแนวโน้มลดลงตามจำนวนครั้งและระยะเวลาในการล้างด้วยน้ำหรือสารสบู่ (1%SDS) รวมถึงการเลือกใช้สารเคมียางที่ไม่ก่อให้เกิดสี เช่น การใช้สารตัวเร่งปฏิกิริยา zinc dibutyldithiocarbamate (ZDBC) แทนสาร Zinc diethyldithiocarbamate (ZDEC) ในถุงมือยาง ทำให้ไม่เกิดการตกสี (staining) และการแพร่ (blooming) มาที่ผิวของผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาการเก็บน้ำยางข้นและอุณหภูมิในการอบผลิตภัณฑ์ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องควบคุมเพื่อลดการเปลี่ยนแปลงของสีในผลิตภัณฑ์ยางด้วย โดยสภาวะที่เหมาะสมในการอบถุงมือยางคือ 100?C เป็นเวลา 30 นาที และโฟมยางคือ 70?C เป็นเวลา 16 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามการเกิดสียังเกิดได้จากการปนเปื้อนของไอออนโลหะ เช่น ไอออนของทองแดงระหว่างกระบวนการผลิตซึ่งจำเป็นต้องควบคุม<br><br>Natural rubber (NR) consists of mainly cis-1,4 polyisoprene and small amount of non-rubber components such as proteins, lipids, sugars, and color-producing substances. NR latex (NRL) has been widely used in many applications, including NRL foam, condoms, and gloves. One of the problems of NR is the yellow color that appeared on the NR products. This work focused on decoloration techniques of concentrated NRL (CNRL) and NRL products, i.e., foam and gloves prepared from NRL from RRIT 251 and RRIM 600 clones grown in eastern and southern Thailand. The yellow color as yellowness index (YI) was determined using colorimeter (HunterLab, model colorquest?XE). The results showed that the YI of the NRL collected in December of 2019 and 2020 were higher than others. The obtained NRL samples were used to make foam and glove products. It was found that NRL foams made from RRIT 251 in southern Thailand provided the highest YI, while the YI of NRL gloves prepared from each latex tended to be the same as that of its NRL. In addition, the decoloration techniques of CNRL and NRL products and the appropriate conditions in foam and glove products were studied. The YI of NR film was related to the content of non-rubber (e.g., proteins and lipids) in CNRL. The yellowness of CNRL could be reduced by controlling percentage of total solid content (%TSC) of field latex, speed and time of centrifugation as well as flow rates of concentrated latex and skim latex from a centrifuge machine. In addition, the washing process was an effective step in reducing the yellowness as well as non-rubber components, especially proteins, in latex state. In the case of NRL products, the washing process with distilled water or surfactant solution (1%SDS) could reduce the YI with the number and duration of washing. Moreover, changing some chemicals that do not cause color change could reduce the discoloration of rubber products, such as using zinc dibutyl dithiocarbamate (ZDBC), as the non-blooming and non-staining accelerator in NRL gloves, instead of zinc diethyldithiocarbamate (ZDEC). Storage time of CNRL and vulcanization temperature, which are the important factors influencing the color change of NRL products, should be controlled. The optimum drying condition were at 100?C for 30 min for the NR gloves and 70?C for 16 h for the NR foam. However, decoloration can also be caused by contamination of metal ions, such as copper ions, during the manufacturing process that need to be controlled.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ