Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในรูปปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทร...

TNRR

Description
การเผาตอซังฟางข้าว เป็นการสร้างมลพิษปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศโดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ทำให้โลกร้อนขึ้น ปัญหานี้จึงต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต่อยอดกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ในรูปปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ปฏิปักษ์จำนวน 5 สายพันธุ์ ได้แก่ Bacillus amyloliquefaciens B. subtilis TU-Orga1 B. tequilensis TU-Orga7 Streptomyces griseus และ Trichoderma harzianum สำหรับใช้ในชุมชนเกษตรกรรายย่อย และศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ใหม่ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคขอบใบแห้งของข้าวในสภาพไร่นาของเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ปฏิปักษ์สู่ชุมชนเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่จังหวัดอ่างทองและนครนายก ตลอดจนศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยคอกอัดเม็ดของโครงการต่อผลผลิต และอัตรากำไรขั้นต่ำของเกษตรกรรายย่อย ผลการวิจัยที่ได้รับคือ 1. กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ จำนวน 6 สูตร ได้แก่ 1) ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสม Bacillus amyloliquefaciens 2) ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสม B. subtilis TU-Orga1 3) ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสม B. tequilensis 4) ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสม Streptomyces griseus 5) ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสม Trichoderma harzianum และ 6) ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมทุกสายพันธุ์ 2. ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายฟางข้าวได้ตั้งแต่วันที่ 5 หลังการหมักฟางข้าวร่วมกับปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ และฟางข้าวจะถูกย่อยสลายมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่วันที่ 20 หลังการหมักฟางข้าวร่วมกับปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ ซึ่งฟางข้าวจะมีลักษณะนิ่มและเปื่อยยุ่ย สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่ต้นข้าวได้ 3. ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นข้าวและกระตุ้นภูมิต้านทานต้นข้าวได้ดี โดยการชักนำให้ต้นข้าวสะสม phenylalanine ammonia lyase (PAL) peroxidase (POX) และ ?-1,3-glucanase ในระดับที่สามารถป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคได้ จนกระทั่งข้าวมีอายุ 65 วัน ทำให้ต้นข้าวมีความต้านทานต่อเชื้อ X. oryzae pv. oryzae สาเหตุโรคขอบใบแห้งได้เป็นอย่างดี อัตราการใช้คือ การใช้ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ 100 กิโลกรัมต่อไร่ 4. ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสม B. subtilis TU-Orga1 เป็นสูตรที่ให้ผลผลิตข้าวสูงที่สุด ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสม B. subtilis TU-Orga1 ทำให้มีอัตรากำไรขั้นต้น 93.34 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าปุ๋ยเคมี 16.05 เปอร์เซ็นต์ และ 5. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ให้แก่ชุมชนเกษตรกร จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดนครนายก มีผู้เข้าร่วมจำนวน 105 คน ซึ่งมีระดับความพึงพอใจในด้านความรู้ความเข้าใจและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมากและมากที่สุด และผู้เข้าร่วมอบรมจะนำองค์ความรู้ในการทำปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ไปประยุกต์ใช้ในระบบการปลูกข้าวในระดับมากและมากที่สุดเท่ากับ 25-30 และ 70-75 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เพื่อการย่อยสลายตอซังและฟางข้าวได้ โดยไม่ต้องเผา ลดต้นทุนการผลิตข้าว สร้างอัตรากำไรขั้นต่ำได้ดี และเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม<br><br>The burning of stubble and rice straw creates pollution that is released into the atmosphere, especially small dust particles, or PM2.5, that contributes to global warming. This problem therefore needs to be resolved urgently. The objective of this study is to development of new compost-5 microbial pellet containing of Bacillus amyloliquefaciens B. subtilis TU-Orga1 B. tequilensis TU-Orga7 Streptomyces griseus and Trichoderma harzianum for using in small farmer community and evaluation of its efficiency for controlling bacterial leaf blight disease of rice in farmer paddy field at Ayutthaya. Subsequently, an innovation new compost-microbial pellet and production process would be transfer to small farmer community in Ang Thong and Nakhon Nayok. The end of this project, affect of new compost-microbial pellet to rice product and gross profit margin of the farmer would be investigated. The results of the research were 1. The production process of 6 formulas of compost pellets mixed with microorganisms, namely 1) compost pellets mixed with Bacillus amyloliquefaciens, 2) compost pellets mixed with B. subtilis TU-Orga1, 3) compost pellets mixed with B. tequilensis TU-Orga7, 4) compost pellets mixed with Streptomyces griseus, 5) compost pellets mixed with Trichoderma harzianum, and 6) compost pellets mixed with all strain of microorganisms. 2. Compost pellets mixed with microorganisms showed effective in decomposing rice straw from day 5 after fermentation of rice straw with compost pellets mixed with microorganisms. Rice straw will be decomposed more than 50 percent from day 20 after fermentation. The rice straw will look soft and rotten that can release plant nutrients to the rice plant. 3. Compost pellets mixed with microorganisms showed the efficiency on plant growth promotion and induction of plant defense mechanism by accumulation of phenylalanine ammonia lyase (PAL), peroxidase (POX), and ?-1,3-glucanase to protect the plant into 65 days old plant. Therefore, the rice plant can against to X. oryzae pv. oryzae, the causal agent of bacterial leaf blight. The usage rate is 100 kg per rai. 4. compost pellets mixed with B. subtilis TU-Orga1 is the formula that produces the highest rice yield. There was no significant difference with chemical fertilizers. However, compost pellets mixed with B. subtilis TU-Orga1 yielded a gross margin with 93.34%, which was higher than that of 16.05% of chemical fertilizer. And 5. Transfer of compost pellets mixed with microorganism production and use technology to the farmer community at Ang Thong and Nakhon Nayok revealed that 105 participants showed the highest level of satisfaction in terms of understanding and utilization of knowledge. The participants will apply the knowledge of compost pellets mixed with microorganism production process to apply in the rice planting system at a high level and at maximum equal to 25-30% and 70-75%, respectively to decompose stubble and rice straw without burning, reduce the cost of rice production, and create a good minimum profit margin and beneficial to the environment.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ