Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การถ่ายองค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิตอาหารต้นทุนต่ำ...

TNRR

Description
ปัจจุบันการเลี้ยงจิ้งหรีดได้รับความนิยมอย่างสูงและกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างยิ่ง ปัจจัยที่สำคัญคือต้นทุนทางด้านอาหารมากถึงร้อยละ 60-70 ซึ่งปัจจุบันราคาวัตถุดิบมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดต้องแบกรับภาระต้นทุนทางด้านอาหารที่สูงขึ้น ซึ่งทางคณะผู้วิจัยได้ลงพื้นที่กลุ่มผู้เลี้ยงจิ้งหรีดในจังหวัดนครพนม ซึ่งปัญหาด้านต้นทุนอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย การถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิตอาหารต้นทุนต่ำโดยใช้วัตถุดิบอาหารในท้องถิ่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีด มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอาหารจิ้งหรีดต้นทุนต่ำแก่เกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครพนม โดยทำการคัดเลือกกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแปลงใหญ่แมลงเศรษฐกิจ (จิ้งหรีด) ตำบลโพนทอง อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม กลุ่มผู้เลี้ยงจิ้งหรีดบ้านท่าลาด ตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม โดยลงพื้นที่เก็บข้อมูล และเก็บตัวอย่างวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีในจังหวัดนครพนม มาวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีในห้องปฏิบัติการ ดำเนินการจัดทำคู่มือองค์ความรู้ และจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตจิ้งหรีดโดยใช้แหล่งอาหารในท้องถิ่นประกอบด้วย 1. การผลิตอาหารจิ้งหรีดต้นทุนต่ำ โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น 2. การผลิตอาหารโปรตีนสูงสำหรับจิ้งหรีด 3. การผลิตอาหารหมักโดยใช้เชื้อยีสต์ ซึ่งเป็นกลยุทธ์การใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิต และเกษตรกรสามารถใช้ลดต้นทุนการผลิตได้จริง กระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน โดยเกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้รวมทั้งหมด 120 คน เกษตรกรที่เข้าร่วมรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ มีผลการทดสอบความรู้ก่อนรับการถ่ายทอดองค์ความรู้เท่ากับร้อยละ 29.8 มีค่าผลการทดสอบหลังรับการถ่ายทอดองค์ความรู้เท่ากับร้อยละ 85.6 ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมมีค่าผลการทดสอบหลังรับการถ่ายทอดองค์ความรู้สูงกว่าก่อนรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ร้อยละ 55.8 นอกจากนี้การประเมินผลโครงการโดยการใช้แบบสอบถามหลังจากเกษตรกรรับการถ่ายทอดองค์ความรู้พบว่ามีความพึงพอใจ และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในระดับมากที่สุด หลังจากถ่ายทอดองค์ความรู้ ได้ดำเนินการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดใช้วัตถุดิบที่มีภายในท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสัตว์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25.0 เป็นร้อยละ 82.2 เกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดสามารถลดต้นทุนด้านอาหารที่ใช้ในการผลิตจิ้งหรีดลงอย่างน้อย 43.9 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5,300 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (เลี้ยงจิ้งหรีดในบ่อขนาด กว้าง 1.2 เมตร ยาว 2.4 เมตร สูง 0.6 เมตร จำนวน 14 บ่อ ซึ่งจะให้ผลผลิตจิ้งหรีดเฉลี่ย 30 กิโลกรัมต่อบ่อ) คำสำคัญ : จิ้งหรีด วัตถุดิบอาหารสัตว์ในท้องถิ่น ประสิทธิภาพการผลิตKeywords : Cricket, Local feed resources, Production efficiency<br><br>ไม่มี

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ