Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาศักยภาพการผลิตพลังงานจากธุรกิจเหมืองบ่อขยะ

TNRR

Description
แนวโน้มการทำเหมืองบ่อขยะจะต้องถูกดำเนินการอย่างต่อเนื่องในอนาคตเพื่อให้สอดคล้องกับ Roadmap ร่วมกับเหตุผลของการสร้างบ่อขยะใหม่ทดแทนในอนาคตที่มีความยากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้รับแรงต่อต้านจากประชาชนในท้องที่ ดังนั้นทางออกเดียวที่องค์กรปกครองท้องถิ่นจะสามารถใช้การกำจัดขยะมูลฝอยซึ่งเป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายถูกที่สุดจะทำได้คือ การรื้อร่อนหรือการทำเหมืองบ่อขยะกับบ่อขยะเก่าเพื่อให้ได้ปริมาตรฝังกลบคืนมาได้ แต่ทั้งนี้จะต้องมีการทำการวิเคราะห์คุ้มค่าในการลงทุนที่ต้องพิจารณาทั้งเชิงปริมาณของขยะที่ฝังกลบซึ่งสามารถทำได้ด้วยงานสำรวจรังวัด และเชิงคุณภาพของขยะมูลฝอยที่ถูกฝังกลบ ซึ่งในประเด็นนี้ ปัจจุบันยังขาดวิธีการประเมินที่เหมาะสม น่าเชื่อถือ และมีค่าใช้จ่ายต่ำอยู่ โครงการวิจัยนี้จึงดำเนินการเพื่อเพื่อสร้างแนวทางมาตรฐานของประเทศในการประเมินศักยภาพของการผลิตเชื้อเพลิงขยะจากการทำเหมืองบ่อขยะ โดยเทคนิคการทำแผนที่ด้วยอากาศยานไร้คนขับ และธรณีฟิสิกส์แบบการวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าที่เป็นวัตุประสงค์หลักของโครงการ โดยการศึกษาและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างค่าสภาพความต้านทานไฟฟ้ากับสัดส่วนปริมาณเชื้อเพลิงขยะในขยะที่ถูกฝังกลบ ค่าความร้อนของเชื้อเพลิงขยะ และค่าความชื้นของเชื้อเพลิงขยะ ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ของความคุ้มทุนในการพัฒนาโครงการเพื่อผลิตเชื้อเพลิงขยะในบ่อขยะที่หยุดดำเนินการฝังกลบไปแล้ว จำนวน 5 บ่อ และในบ่อขยะที่กำลังดำเนินการฝังกลบอยู่ จำนวน 5 บ่อ โดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจด้วยเทคนิคการทำแผนที่ด้วยอากาศยานไร้คนขับ และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสำรวจด้วยเทคนิคธรณีฟิสิกส์แบบการวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า จากการศึกษา พบว่า องค์ประกอบของขยะในพื้นที่ฝังกลบใหม่และพื้นที่ฝังกลบเก่าจะมีความแตกต่างกัน โดยพบว่าในองค์ประกอบของขยะในพื้นที่ฝังกลบเก่า เมื่อขุดขึ้นมาแล้วจะพบว่ามีองค์ประกอบที่เป็นขยะพลาสติกมากกว่าในขยะที่ฝังกลบอยู่ในพื้นที่ฝังกลบใหม่ เนื่องจากขยะอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น ขยะอาหาร ขยะจากสวน หรือ กระดาษ ได้ถูกย่อยสลายไปหมดแล้วในขยะเก่า นอกจากนี้ พบว่า ค่าสภาพต้านทานไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กับสัดส่วนปริมาณเชื้อเพลิงขยะในขยะที่ถูกฝังกลบตามลักษณะการปิดคลุมดิน สมการตัวแปรเดียวจากความสัมพันธ์ถดถอยเชิงเส้นที่มีความซับซ้อนน้อยที่สุดถูกนำมาประเมินปริมาณขยะในพื้นที่ฝังกลบเบื้องต้น โดยพื้นที่ฝังกลบที่มีการใช้วัสดุกลบทับสามารถหาค่าร้อยละของเชื้อเพลิงขยะได้โดยใช้สมการ RDF = 0.0631RS + 48.866 (r2 = 0.115) ในส่วนของพื้นที่ฝังกลบที่ไม่ใช้วัสดุกลบทับสามารถหาค่าร้อยละของเชื้อเพลิงขยะได้โดยใช้สมการ RDF = 0.1917RS + 41.753 (r2 = 0.266) โดย RDF แทนค่าร้อยละของเชื้อเพลิงขยะ และ RS แทนค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า (โอห์ม.เมตร) ส่วนผลการนอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างขยะเชื้อเพลิงและตัวแปรอื่น ๆ โดยใช้สมการถดถอยหลายตัวแปร พบว่าสมการที่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า ปริมาณขยะ ค่าความร้อน ค่าความชื้น และองค์ประกอบขยะที่มีนัยสำคัญ ต่อลักษณะของขยะ คือสมการเส้นโค้งหลายตัวแปร สำหรับพื้นที่ฝังกลบที่มีการใช้วัสดุกลบทับสามารถหาค่าร้อยละของเชื้อเพลิงขยะได้และคุณภาพด้านความชื้นและค่าความร้อนโดยใช้สมการ RDF = 91.293+0.013RS-0.06MC-0.915CD+0.002LHV-3.39?10-7LHV2 (r2 = 0.944) บนความเชื่อมั่นร้อยละ 68.5 ส่วนของพื้นที่ฝังกลบที่ไม่ใช้วัสดุกลบทับใช้สมการ RDF = 115.068+0.034RS-0.272MC-0.780CD-0.024LHV+8.83?10-6LHV2-9.63?10-10LHV3 (r2 = 0.900) บนความเชื่อมั่นร้อยละ 95.0 โดย MC LHV และ CD และ LHV แทนค่าความชื้น ความร้อนต่ำของขยะ และองค์ประกอบขยะที่มีคุณสมบัติ นำไฟฟ้า ตามลำดับ ในส่วนวิเคราะห์ความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ พบว่าโดยส่วนใหญ่โครงการทำเหมืองขยะเพื่อผลิตเชื้อเพลิงทั้งกรณีบ่อขยะที่ปิดดำเนินการไปแล้ว (ขยะเก่า) และกรณีบ่อขยะที่ยังดำเนินการอยู่ (ขยะใหม่) มีความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์เกือบทุกพื้นที่ นอกจากนี้พบว่า อัตราค่าทำเหมืองบ่อขยะ ในกรณีภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนและภาครัฐจ่ายค่าทำเหมืองบ่อขยะให้กับเอกชนโดยคิดจากปริมาณขยะที่กำจัดได้นั้นแปรผกผัน ตามปริมาณและระยะทางจากบ่อขยะถึงโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ โดยมีอัตราค่าทำเหมืองบ่อขยะอยู่ระหว่าง 150-200 บาท/ตัน<br><br>The trend of landfill mining will continue under the countrys waste roadmap, along with the reasons for building new landfills in the future, which are more difficult due to the resistance from the local people. Therefore, the only solution for local governments to use the most cost-effective way to dispose of solid waste is mining old waste to reclaim the volume of existing landfills. However, a cost-effective investment analysis must be carried out to consider the amount and the composition of landfill waste that can be achieved through survey work. In this regard, there is currently a lack of appropriate, reliable, and low-cost assessment methods. Therefore, the main objective of this research project is to make a guideline for assessing the potential of refuse-derived fuel (RDF) production from landfill mining using unmanned aerial vehicle (UAV) photogrammetry technique and geophysical resistivity measurement. This research project also analyzed the statistical relationship between electrical resistivity and RDF proportion in landfills, heating, and moisture content values. In addition, an economic analysis of the cost-effectiveness of the project development for the production of RDF was carried out in five closed landfills and five operating landfills. This analysis used quantitative data from UAV surveys and qualitative data from geophysical surveys using resistivity measurements. The study found that waste composition in active and closed landfills was different, with more plastic in the waste in closed landfills than in active landfills. This is because biodegradable organic waste such as food waste, garden waste, and paper is completely decomposed. In addition, it was found that the electrical resistivity value was related to the proportion of RDF in the landfill according to the daily-cover operation. For landfills with the daily-cover operation, the percentage of RDF can be obtained using the single variable linear regression equation, which is lesser complex as follows: RDF = 0.0631RS + 48.866 (r2 = 0.115). For landfills without daily-cover operation, the percentage of RDF can be determined by using the equation: RDF = 0.1917RS + 41.753 (r2 = 0.266), where RDF represents the percentage of RDF and RS represents the electrical resistivity value (ohm. m). Moreover, multivariable regression was used to study the relationship between RDF and other variables. The studys result shows that a non-linear multivariable regression equation was suitable for explaining the relationship between resistivity, heating value, moisture content, and significant composition. For landfills with the daily-cover operation the relation can be explained by RDF = 91.293+0.013RS-0.06MC-0.915CD+0.002LHV-3.39?10-7LHV2 (r2 = 0.944) with 68.5% confident. While the relationship between significant variables of landfills without daily-cover operation was RDF = 115.068+0.034RS-0.272MC-0.780CD-0.024LHV+8.83?10-6LHV2-9.63?10-10LHV3 (r2 = 0.900) with 95.0% confident, when LHV, MC, and CD represent to lower heating value, moisture content, and conductive materials, respectively. As for the economic analysis, it was found that most of the landfill mining projects for RDF production, both from closed and active landfills, were economically appropriate in almost all landfills. In addition, it was found that the cost of landfill mining in the case of private investment was inversely proportional to the amount of waste and the distance from the landfills to the cement plants. The cost of landfill mining was between 150-200 baht/ton.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ