Description
การเดินทางเมื่อวันเพ็ญเดือนสาม ศิลปะแห่งการร่วมสร้างสรรค์และปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย เป็นงานวิจัยสร้างสรรค์ที่ต้องการนำศิลปะมาใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาสังคมตามแนวทางศิลปะร่วมสมัย โดยเชื่อมโยงศิลปิน ผู้ชม สังคมในพื้นที่วิจัยเข้าด้วยกัน โดยนำกระบวนการสร้างสรรค์ประติมากรรมร่วมสมัย แนวคิดทฤษฏีศิลปะแห่งการร่วมสร้างสรรค์ และต้นทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ ร่วมกับความเชี่ยวชาญ แนวคิด ประสบการณ์ ความทรงจำ และการเผชิญหน้ากับวัสดุที่ใช้ในการสร้างรูปทรงผลงาน มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบศิลปะแห่งการร่วมสร้างสรรค์ ที่สัมพันธ์กับขอบเขตพื้นที่การวิจัยในชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง 2) สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมร่วมสมัย จำนวน 5 ชุดผลงาน และ 3) เผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ผ่านการติดตั้งและจัดวางสู่สาธารณะ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยที่สัมพันธ์กัน 2 ขั้นตอน คือ 1) ปฏิบัติการศิลปะแห่งการร่วมสร้างสรรค์ ที่ใช้การศึกษาค้นคว้าภาคทฤษฏีจากเอกสาร การสำรวจและเก็บข้อมูล และสรุปแนวทาง เพื่อสร้างปฏิบัติการร่วมสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมศิลปะ และ 2) การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของศิลปิน และผู้ร่วมสร้างสรรค์ จากประสบการณ์ และจินตนาการส่วนบุคคล อย่างเป็นอิสระ ผลการวิจัยแสดงลักษณะเฉพาะและประเด็นสำคัญ ตามแนวทางศิลปะแห่งการร่วมสร้างสรรค์ในขอบเขตพื้นที่การวิจัย ซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงเอกภาพ เมื่อได้ติดตั้งและจัดวางภายใต้แนวคิดการสร้างสรรค์ จำนวน 7 ชุด ถูกนำเสนอผ่านนิทรรศการ การเดินทางเมื่อวันเพ็ญเดือนสาม ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร และ 1 ชุดผลงานจากกิจกรรมศิลปะ จัดแสดง ณ วัดบึงภูเต่า จังหวัดสุโขทัย รวมทั้งได้เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ด้วย ผลกระทบจากปฏิบัติการศิลปะแห่งการร่วมสร้างสรรค์ ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงทางบวกแก่ตัวผู้ร่วมสร้างสรรค์และชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง ทำให้มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการปรับทัศนียภาพภายในชุมชนฯ บริเวณศูนย์ปฏิบัติการร่วมสร้างสรรค์ เลขที่ 54 ถนนสุขาภิบาล 5 ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ศูนย์เรียนรู้ จำหน่าย และพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่มีชื่อเสียงของชุมชน<br><br>The Pilgrimage on the Third Lunar Month, the Collaboration Art and Relational Realm of the Terracotta Community of Bann Tunghlong, Tunghlong Sub-district, Keremas District, Sukhothai Province is a creative research that uses art as a tool for social development according to contemporary art guideline by connecting artist, audience, and the society of the research area together. In the research procedure, the process of creating contemporary sculpture, the idea of collaboration art, and local cultural costs were used with the skill, concept, experience, memory, and the material experimental form creation of researcher. The objective of the research are for 1) studied and analysis collaboration art theory related to the research area where is Thungluang Terracotta Community, 2) created five sets of contemporary sculptures, and 3) exhibited the creative sculpture and installation to the public. There are two operations of methodology; which are collaborative art practice, and the creative process by artist and collaborator from their individual experience and imagination. The result reveals specific character and core idea of the collaborative art in the research area. It leads to the procedure of creative sculpture. The completed seven sets of artwork are installed and shown the unity under core creative idea. The Pilgrimage on the Third Lunar Month exhibition was on viewed at Naresuan University Art Gallery and one artwork from the art activity was presented at Wat Baung Pu Taow (Buddhist Temple), Sukhothai province. The show was also published on social media online as well. The impact of the collaborative art practice has made a positive change for the contributors and the community. It makes a better way of life by developing the scenery within the community at the collaborative art center; 54 Sukhaphiban V Road. The center has become a famous visiting and learning point of the neighborhood for tourist to learn and shop and community members to develop their new product.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read