Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใ...

TNRR

Description
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและพัฒนางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านจังหวัดเชียงใหม่รองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว เพื่อศึกษาปัจจัยความต้องการทางการตลาดต่อผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวต้นแบบและส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ต่อการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCOการวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับงานหัตถกรรมของชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งปัจจัยความต้องการทางการตลาดต่อผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของชุมชน และการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว และส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดเชียงใหม่ให้สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ โดยนำเสนอในรูปแบบพรรณนาทำการการศึกษาชุมชนหัตถกรรมออกได้เป็น 7 ประเภท คือ 1) ชุมชนหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านประเภทงานปั้น – หล่อ ได้แก่ ตุ๊กตาดินยิ้ม ชุมชนป่าตาล, หม้อดินเผาบ้านกวน ชุมชนกวน, น้ำต้นเหมืองกุง ชุมชนเหมืองกุง และ เครื่องปั้นดินเผาสันกำแพงชุมชนเชียงแสน 2) ชุมชนหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านประเภทงานไม้แกะสลัก ได้แก่ ช้างไม้แกะสลักชุมชนกิ่วแลน้อย และ ไม้แกะสลักบ้านถวาย ชุมชนถวาย 3) ชุมชนหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านประเภทงานโลหะ ได้แก่ งานคัวตอง ชุมชนพวกแต้ม และเครื่องเงินวัวลาย ชุมชนศรีสุพรรณ 4) ชุมชนหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านประเภทงานผ้า ได้แก่ ผ้าทอพื้นเมือง ชุมชนป่าตาล และ ร่มบ่อสร้าง ชุมชนบ่อสร้าง 5) ชุมชนหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านประเภทงานกระดาษ ได้แก่ ร่มบ่อสร้าง ชุมชนบ่อสร้าง และ กระดาษสาต้นเปาชุมชนต้นเปา 6) ชุมชนหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านประเภทงานเครื่องรัก – หาง ได้แก่ เครื่องเขินนันทาราม ชุมชนนันทาราม และ เครื่องเขินศรีปันครัว ชุมชนศรีปันครัว 7) ชุมชนหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านประเภทงานจักสาน ได้แก่ จักสานป่าบง ชุมชนป่าบง และผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวต้นแบบที่มีกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากผู้ประกอบการ จำนวน 12 แหล่ง คือ 1) Have a Hug Fusion Farm 2) ชุมชนคุณธรรมไตลื้อเมืองลวงเหนือ 3) โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา 4) ตุงไชยโคมไฟล้านนา 5) Charm Learn Studio 6) ออนใต้ฟาร์ม 7) ชุมชนจีนมุสลิมบ้านฮ่อ 8) โครงการบ้านข้างวัด 9) ชุมชนเชิงรักสุขภาพบ้านไร่กองขิง 10) บ้านไร่ใจสุข 11) กลุ่มแกะสลักบ้านกิ่วแลน้อย และ 12) แหล่งเรียนรู้การทำเครื่องปั้นดินเผาน้ำต้นสล่าแดงผลการศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบของงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านประเภทเครื่องปั้นดินเผา ดินยิ้มป่าตาล ใช้วิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ให้แตกต่างไปจากเดิม และการใช้ความคิดสร้างสรรค์มาบูรณาการร่วมกับความสามารถเชิงช่างในการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยการออกแบบสร้างสรรค์งานประเภทตุ๊กตาดินยิ้ม ให้เป็นกระถางต้นไม้ตุ๊กตาดินยิ้ม เพื่ออธิบายบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของอัตลักษณ์เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับของชาวกะเหรี่ยง ลาหู่ อาข่า และดาราอั้ง ซึ่งเป็นการออกแบบที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างคณะวิจัยกับผู้ประกอบการ สำหรับ ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ต้นแบบ ได้ ออกแบบกิจกรรมที่ 1 คือ ป่าตาล ดินยิ้ม พิมพ์ใจ เพื่อเรียนรู้ภูมิหลังของชุมชน และการผลิตงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ประเภทเครื่องปั้นดินเผาเครือข่ายในละแวกเดียวกันคือ ป่าตาล เหมืองกุง และสันพระนอน โดยมีการปฏิบัติกิจกรรมปั้นตุ๊กตาดินยิ้มที่บ้านป่าตาลของนักท่องเที่ยวที่จะได้ผลงานเป็นของตนเอง และกิจกรรมที่ 2 คือ เดินชมบ้านดินยิ้ม เลือกเรียนรู้ชุมชนงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ประเภทเครื่องปั้นดินเผาในชุมชนบ้านป่าตาล และปฏิบัติกิจกรรมปั้นตุ๊กตาดินยิ้มเพียงแห่งเดียว ผลการศึกษาแนวทางการสร้างสรรค์รูปแบบงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มี 5 วิธีการวิธีการ ได้แก่ 1) แนวคิดใหม่ในผลิตภัณฑ์เดิม 2) ผลิตภัณฑ์เดิมแต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ 3) บรรจุภัณฑ์ใหม่ 4) ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และ 5) ผลิตภัณฑ์ความคิดสร้างสรรค์ โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรมของงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านของจังหวัดเชียงใหม่ ยังสามารถใช้แนวคิด 4Cs model ร่วมด้วย คือ 1) การออกแบบร่วม: ออกแบบอนาคตไปด้วยกัน 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้ามอุตสาหกรรม – การร่วมมือกันจากหลายหลายภาคส่วน และ 3) การออกแบบข้ามวัฒนธรรม: ถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยสู่สากล คำสำคัญ: งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน การพัฒนาการท่องเที่ยว<br><br>This research aims to study and develop handicrafts and folk arts in Chiang Mai Province to support tourism product development. To study the factors of marketing demand for tourism products of the community and creative tourism To develop prototype tourism products and promote creative tourism activities and to propose guidelines for the development of handicrafts and folk arts in Chiang Mai To promote creative tourism as a member of the UNESCO Creative Cities Network.this research This is a qualitative research study to study the handicrafts of the community in Chiang Mai. including the factors of marketing demand for tourism products of the community and creative community tourism to propose guidelines for the development of tourism products and promote creative tourism activities of Chiang Mai to be able to develop into a creative cultural tourism destination. presented in a descriptive formThe study of handicraft communities can be divided into 7 types, namely 1) handicraft and folk art communities in the form of sculpture-casting, such as Smile Clay Dolls, Pa Tan Community, Ban Kuan Clay Pots, Kuan Community, and Nam Ton Muang Kung. Muang Kung Community and San Kamphaeng Pottery Chiang Saen Community 2) Handicrafts and folk art communities in the category of wood carving, namely Wood Elephant Carvings, Kiew Lae Noi Community and Ban Tawai Wood Carvings, Tawai Community 3) Handicrafts and Arts Community Folk metal works, namely Kuatong work, Taem community and Wua Lai silverware, Sri Suphan community 4) Handicrafts and folk arts communities in fabric work, such as Native Woven Cloth, Pa Tan Community, and Bo Sang Umbrella, Bo Sang Community 5 6) Handicrafts and folk arts communities in the category of paper work, namely Bo Sang Umbrella, Bo Sang Community and Ton Pao Sa Paper, Ton Pao Community 6) Handicrafts and folk arts communities in the category of rak-tail crafts, such as Nantaram Lacquerware, Nantaram Community and Sri Pun Khrua Lacquerware, Sri Pun Khrua Community 7) Community of handicrafts and folk arts in the category of basketry, such as Pa Bong Basketry, Pa Bong Community and model tourism products with tourism activities. Creative incentives from entrepreneurs from 12 sources, namely 1) Have a Hug Fusion Farm (2) Tai Lue Luang Nuea Community, (3) Lanna Wisdom School, (4) Tung Chai Lanna Lantern, (5) Charm Learn Studio, (6) Ontai Farm, (7) Chinese Muslim Society, (8) Ban Kang Wat, (9) Ban Rai Kong Khing Community, (10) Ban Rai Jai Sook, (11) Kew Lae Noi Wood Carving Association, and 12) Ban Nam Ton Pottery Learning Center. from Sala DaengThe results of the study of the prototype product model It has developed a prototype product of handicrafts and folk art in the type of pottery. "Din Yim Pa Tan" uses a new product design method that is different from the original. and the use of creativity to integrate with the craftsmanship in product design by designing creative types of clay dolls Make it a clay doll plant pot. Smile. To explain and tell the story of the identity of clothing and accessories of Karen, Lahu, Akha and Ang Dara people, the design was born from a process of participation between research teams and entrepreneurs for tourism products. and a model of creative tourism activities. The first activity was designed, Pa Tan, Din Yim Pim Jai, to learn the background of the community. and the production of handicrafts and folk art Types of pottery networks in the same neighborhood are Pa Tan, Muang Kung, and San Phra Non, with activities to make smiley clay dolls at Ban Pa Tan for tourists to get their own work. and the second activity is Walking around the Din Yim House, choosing to learn about the community of handicrafts and folk arts. Types of pottery in Ban Pa Tan community and practice the only smiling clay doll making activity The results of a study on the creative approach of handicrafts and folk arts In tourism products and creative tourism activities in Chiang Mai, it was found that there were 5 methods and methods: 1) a new concept in the same product, 2) an existing product with a new design, 3) a new packaging, 4) an innovative product, and 5) a product. creativity by developing new and innovative products of Chiang Mais handicrafts and folk arts The 4Cs model can also be used in conjunction with 1) joint design: design the future together 2) cross-industry product development - multi-sector collaboration and 3) cross-cultural design: transfer Thai wisdom to the world.Keywords: Crafts and Folk Arts, Tourism Development

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ