Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาต่อยอดเตียงพลิกตัวโดยใช้ระบบจอสัมผัสพร้อมก...

TNRR

Description
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาเตียงพลิกตัวระบบจอสัมผัสที่มีระบบแจ้งเตือนการเกิดแผลกดทับสำหรับผู้ป่วยติดเตียงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่อยู่ที่บ้าน เตียงผู้ป่วยที่สามารถพลิกตัวโดยใช้ระบบจอสัมผัสพร้อมการติดตั้งระบบแจ้งเตือนการเกิดแผลกดทับในการศึกษาครั้งนี้มี ขนาดความกว้าง 90 เซนติเมตร ยาว 200 เซนติเมตร สูง 60 เซนติเมตร ที่สามารถจัดท่าตะแคงซ้ายและขวา โดยการใช้อุปกรณ์ควบคุมแบบจอสัมผัส ให้เตียงตะแคงทำมุมตั้งแต่ 0 ถึง 30 องศากับแนวระนาบ และสามารถปรับให้หัวเตียงสูงขึ้นโดยการใช้อุปกรณ์ควบคุมแบบจอสัมผัส ให้เตียงสูงทำมุมตั้งแต่ 0 ถึง 60 องศากับแนวระนาบและสามารถปรับเตียงเพื่องอข้อพับเข่าโดยการใช้อุปกรณ์ควบคุมแบบจอสัมผัส ให้ข้อพับเข่างอทำมุมตั้งแต่ 0 ถึง 45 องศา การออกแบบกลไกการทำงานของเตียง ในทางวิศวกรรม ที่มีการตรวจสอบประสิทธิผลโดยการคำนวณค่าความปลอดภัยและความแข็งแรง พบว่า เตียงนี้มีค่าถูกต้องตามมาตรฐาน และผ่านกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานการแพทย์ หลังจากนั้นมีการนำมาทดสอบกับกลุ่มผู้ป่วยผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ที่บ้าน จำนวน 70 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 ราย และกลุ่มควบคุม 35 ราย ในระยะเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินอัตราการเกิดแผลกดทับและ แบบประเมินความพึงพอใจและความคิดเห็นของญาติผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 70 ราย อายุระหว่าง 36-66 ปี เฉลี่ย 56.39 ปี (SD. = 6.59) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 28 ราย (56.00 %) ผลการทดสอบพบว่า อัตราการเกิดแผลกดทับระหว่างกลุ่มที่ใช้เตียงพลิกตัวระบบจอสัมผัสที่มีระบบแจ้งเตือนการเกิดแผลกดทับและกลุ่มที่ใช้เตียงตามปกติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และญาติผู้ดูแลที่ได้ใช้งานเตียงพลิกตัวระบบจอสัมผัสที่มีระบบแจ้งเตือนการเกิดแผลกดทับสำหรับผู้ป่วยติดเตียง 4 สัปดาห์ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด จากผลการพัฒนาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพที่เป็นการใช้องค์ความรู้เชิงสหสาขาวิชาชีพช่วยทำให้สามารถสร้างต้นแบบนวัตกรรมที่ช่วยลดภาระงานของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงในการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นรูปธรรม<br><br>This study was to develop a turning bed by using a touchscreen pressure ulcer-alert system to improve the effectiveness of care for Home-based bedridden patients. It can be adjusted to the patients left and right positions and can adjust the head of the bed and can be adjusted to bend the knees using a touch screen controller. The design of the bed mechanism is confirmed by calculating safety and strength values. The bed was found to meet safety standards and undergo standard medical procedures. After that, it was tested on 70 patients in bedridden patients at home, divided into 35 experimental groups and 35 control groups, for 4 weeks. The assessment tool included 1) the incidence of pressure ulcers assessment form and the satisfaction and opinions of patients caregivers form. The sample consisted of 50 patients, aged 36-66 years, mean of 56.93 years (SD. = 6.59). Most of them were 28 females (56.00 %). The incidence of pressure ulcers between the experimental group, who used the turning bed by using a touchscreen pressure ulcer-alert system, and the control group was significantly different at the .01 level and showed the highest level of satisfaction level of caregivers after using this innovation within 4 weeks. The results of this development show that the development of health innovations that use multidisciplinary knowledge enables the creation of novelty healthcare innovative models that reduce the burden of caregivers who care for bedridden patients and increase the efficiency of patient care concretely.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ