Description
ปัญหายูโทรฟิเคชันหรือการเกิดแพลงก์ตอนบลูมเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพน้ำ ชนิดของแพลงก์ตอนพืช รวมถึงการศึกษาตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ ได้แก่ พืชน้ำ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และปลา ในแหล่งน้ำที่เกิดปัญหายูโทรฟิเคชัน และศึกษาสารไซยาโนทอกซินและการสะสมของสารดังกล่าวในสิ่งมีชีวิต และ 2) ศึกษาการฟื้นฟูแหล่งน้ำด้วยการใส่สารโพลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ (polyaluminium chloroide, PAC) โดยวัดคุณภาพน้ำทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ และศึกษาดินตะกอนก่อนการฟื้นฟู ระหว่างการฟื้นฟู และหลังการฟื้นฟูสัปดาห์ที่ 1 และ 2 ณ บ่อน้ำที่ทำการฟื้นฟูตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเพชรสยาม และสวนเฉลิมพระเกียรติ ๕๕ พรรษา สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตรกรุงเทพฯผลการศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นของสาร PAC ด้วยวิธีจาร์ เทสต์ พบอยู่ระหว่างร้อยละ 17.36 – 60.25 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเติมสาร PAC มากขึ้น การทดสอบความเป็นพิษของสาร PAC ต่อลูกปลาตะเพียน (Barbonymus gonionotus) พบว่า LC50 ของ PAC ต่อปลาตะเพียน มีค่าลดลงเมื่อระยะเวลาเพิ่มขึ้น โดยค่าความเข้มข้นของ PAC ที่ทำให้ปลาตะเพียนขาวตายร้อยละ 50 ที่ 24 48 72 และ 96 ชั่วโมง คือ 466.72 449.62 431.92 และ 426.98 ppm ตามลำดับผลการฟื้นฟูแหล่งน้ำที่เกิดยูโทรฟิเคชันด้วยสาร PAC ของบ่อน้ำในหมู่บ้านเพชรสยาม และบ่อน้ำของกรมวิชาการเกษตร พบว่า คุณภาพน้ำของแหล่งน้ำทั้ง 2 แห่ง ก่อนการฟื้นฟูและหลังการฟื้นฟูมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ในช่วงการใส่สาร PAC และหลังการใส่ PAC ไม่พบสัตว์น้ำได้รับผลกระทบจากการใส่สารดังกล่าว ค่าความสกปรกในรูปบีโอดีมีแนวโน้มลดลงทั้งบริเวณผิวน้ำและพื้นท้องน้ำ โดยเฉพาะค่าความโปร่งแสง และค่าความขุ่น ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นของบ่อน้ำหมู่บ้านเพชรสยามและบ่อน้ำกรมวิชาการเกษตร เท่ากับร้อยละ 73.03?4.11 และ 35.50?5.34 ตามลำดับ ค่าประสิทธิภาพในการกำจัดคลอโรฟิลล์ เอ อยู่ในช่วงร้อยละ 55.72 – 62.85การศึกษาองค์ประกอบของแพลงก์ตอนพืช พบว่า บ่อน้ำหมู่บ้านเพชรสยามก่อนการฟื้นฟูมีปริมาณแพลงก์ตอนพืชรวม 843,400 ยูนิตต่อลิตร แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นที่พบ ได้แก่ Spirulina sp. และ Microcystis sp. หลังการฟื้นฟูพบปริมาณแพลงก์ตอนพืชลดลงมากกว่าร้อยละ 70 และพบแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นเปลี่ยนแปลงไป คือ Oscillatoria sp. และ Anabaena sp. ส่วนบ่อน้ำกรมวิชาการเกษตร ก่อนการฟื้นฟูพบปริมาณแพลงก์ตอนพืชรวม 1,932 ยูนิตต่อลิตร แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นที่พบ ได้แก่ Spirulina sp. หลังการฟื้นฟูพบปริมาณแพลงก์ตอนพืชรวมลดลงเล็กน้อย เท่ากับ 1,499 ยูนิตต่อลิตร การศึกษาปริมาณสารพิษไมโครซิสทินในบ่อน้ำของหมู่บ้านเพชรสยามพบเฉลี่ย 0.19?0.07 ไมโครกรัมต่อลิตร ไมโครซิสทินในพืชน้ำ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และปลา พบเฉลี่ย 22.99?3.42, 19.41?10.65 และ 9.28?10.82 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมตามลำดับ ขณะที่ปริมาณสารพิษไมโครซิสตินที่พบในน้ำของบ่อน้ำกรมวิชาการเกษตรมีค่าเฉลี่ย 0.075?0.03ไมโครกรัมต่อลิตร ในส่วนของไมโครซิสทินในพืชน้ำพบปริมาณน้อย การศึกษาอัตราการตกตะกอน พบว่า ในช่วงระหว่างใส่สาร PAC พบอัตราการตกตะกอนสูงขึ้น ส่วนการศึกษาลักษณะของดินตะกอนดินพื้นท้องน้ำก่อนการฟื้นฟู พบว่า ตะกอนมีลักษณะเป็นตะกอนละเอียด จับตัวกันอย่างหลวม ๆ และระหว่างใส่สาร PAC ทั้ง 2 บ่อ พบว่า สาร PAC แพลงก์ตอนพืช และสารแขวนลอยเกิดการรวมตัวกันเป็นปุยตะกอน และตกตะกอนจมตัวอยู่เหนือบริเวณพื้นท้องน้ำ หลังการฟื้นฟูสัปดาห์ 1 พบว่า ปุยตะกอนหายไปจากพื้นท้องน้ำและกลับสู่สภาพปกติ นอกจากนี้ยังพบว่า จากการศึกษาลักษณะตะกอนพื้นท้องน้ำ การใส่สาร PAC ไม่ส่งผลทำให้แหล่งน้ำมีความตื้นเขินขึ้นคำสำคัญ: ยูโทรฟิเคชัน ไมโครซิสทิน โพลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ การฟื้นฟูแหล่งน้ำ<br><br>Eutrophication or plankton bloom is an important environmental problem. Theobjectives of this study were 1) to investigate water quality, aquatic organisms (plants,invertebrates and fish) in eutrophic water bodies and to determine cyanotoxin content and itsaccumulation in living organisms and to 2) restore eutrophic water bodies by polyaluminumchloroide (PAC). Physical, chemical and biological properties were measured before, duringand after PAC application. Eutrophic ponds are located at 1) Petch Siam village and 2) 55thanniversary celebration garden, Horticultural Research Institute, Department of Agriculture(DOA), Bangkok.The turbidity removal efficiency of PAC by jar test was found between 17.36 – 60.25percent, which tended to increase when adding more PAC. The toxicity test of PAC on silverbarb (Barbonymus gonionotus) showed that LC50 of the PAC concentrations that caused 50percent of mortality at 24, 48, 72 and 96 hours were 466.72 449.62 431.92 and 426.98 ppm,respectively.The result of restoration of eutrophic ponds of Petch Siam village and Departmentof Agriculture by using PAC showed clear improvement in water quality before and after PACapplication. During and after PAC application, freshwater organisms were not affected by PACfrom direct observation. BOD values of surface and bottom water tended to improve afterPAC application. Especially, there was a statistically significant change (p<0.05) in transparencyand turbidity before and after PAC application. The efficiency of turbidity removal of eutrophicponds in Petch Siam village and the Department of Agriculture were 73.03?4.11 and35.50?5.34%, respectively. The efficiency of chlorophyll a removal ranged between 55.72 –62.85%.The composition of phytoplankton revealed that at the Petch Siam village beforePAC application, a total phytoplankton was 843,400 units/liter. The predominantphytoplankton were Spirulina sp. and Microcystis sp. The phytoplankton reduction was morethan 70%, and the dominant phytoplankton shifted to Oscillatoria sp. and Anabaena sp. Thecomposition of phytoplankton at Department of Agriculture before PAC application showed atotal phytoplankton of 1,932 units/liter. The predominant phytoplankton were Spirulina sp.After PAC application, the total phytoplankton content was slightly reduced to 1,499units/liter. The study of microcystin toxin content in the pond of Petchsiam Village showedan average of 0.19 ?0.07 microgram per liter. Microcystin content in aquatic plants,invertebrates and fish were 22.99?3.42, 19.41?10.65 and 9.28?10.82 microgram per liter,respectively. The amount of microcystin toxin found in the water of the DOA was averaged0.075?0.03 microgram per liter. Microcystin contents in aquatic plants were found in smallquantities. The sedimentation rate showed that revealed that during the application of PAC, thesedimentation rate was higher. The sediment characteristics were fine and loosely amorphous.During the application of PAC in both ponds, PAC, phytoplankton and suspended particleswere formed and present on the bottom of the ponds (approximate height of 10-15 cm). Oneweek after PAC application, the formed particles had disappeared from the bottom of thewater and returned to normal. The study of the sediment characteristics of the bottom ofboth ponds indicated that the PAC added to the ponds did not result in the shallowness ofwater bodies.Keywords: eutrophication, microcystin, polyaluminium chloride, restoration
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read