Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพแนวใหม่จากสาหร่ายอาร์โธรสไป...

TNRR

Description
ไฟโคไซยานิน เป็นโปรตีนสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ดำเนินการนำไฟโคไซยานินมาย่อยด้วยเอนไซม์โบรมีเลนเป็นเวลา 2 ชั่วโมงได้เป็นไฟโคไซยานินไฮโดรไลเสท แล้วผสมเป็นเครื่องดื่มฟื้นฟูร่างกาย จากนั้นทดสอบการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยกระบวนการความดันสูงและด้วยความร้อนพาสเจอไรส์ เพื่อประเมินอายุการเก็บรักษา นอกจากนี้ทำการทดสอบเครื่องดื่มฟื้นฟูร่างกายไฟโคไซยานินไฮโดรไลเสทเปรียบเทียบกับเครื่องดื่มฟื้นฟูร่างกายที่มีค่าโภชนาการใกล้เคียงกันในสัตว์ทดลอง โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มการทดลอง คือ (1) กลุ่มควบคุม (2) กลุ่มควบคุม + เครื่องดื่มฟื้นฟูร่างกายไฟโคไซยานินไฮโดรไลเสท (3) กลุ่มที่ได้รับการฝึกการออกกำลังกาย (4) กลุ่มที่ได้รับการฝึกการออกกำลังกาย + เครื่องดื่มฟื้นฟูร่างกายไฟโคไซยานินไฮโดรไลเสท และ (5) กลุ่มที่ได้รับการฝึกการออกกำลังกาย + ผลิตภัณฑ์เปรียบเทียบ โดยศึกษาคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ การต้านการล้าของกล้ามเนื้อ การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและสลายกล้ามเนื้อ ไฟโคไซยานินไฮโดรไลเสทที่ได้จากการย่อยด้วยเอนไซม์โบรมีเลน มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 126.73 ? 4.66 ?M TEAC/mg เพิ่มขึ้น 16.30 เท่า เทียบกับไฟโคไซยานิน มีสัดส่วนของเปปไทด์ LDYYLR และ MFDAFTK ในปริมาณสูง หลังจากนำไปพัฒนาเป็นเครื่องดื่มฟื้นฟูร่างกาย ได้ค่าสี L*a*b เท่ากับ 33.35, -1.34, 33.92, pH 3.50, Total acidity เท่ากับ 0.94 ? 0.01% และ ?Bx เท่ากับ 15.7 ? 0.4 หลังจากผ่านการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยกระบวนการความดันสูง สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ 99.999% ในระดับความดัน 400 MPa ระยะเวลา 10 นาที และหลังจากเปรียบเทียบระยะเวลาการเก็บรักษากับกระบวนการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แบบพาสเจอไรส์ สามารถเก็บรักษาในอุณหภูมิ 4?C เป็นเวลา 2 เดือน โดยค่า pH, Total acidity และ ?Bx ไม่เปลี่ยนแปลง และจากการทดสอบประสิทธิภาพในสัตว์ทดลองพบว่า เครื่องดื่มฟื้นฟูร่างกายไฟโคไซยานินไฮโดรไลเสท สามารถป้องกันการเหนื่อยล้า ต้านอนุมูลอิสระ ได้ดีกว่ากลุ่มควบคุม กลุ่มออกกำลังกาย และใกล้เคียงกับกลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์เปรียบเทียบ ขณะที่สามารถลดระดับการแสดงออกของยีนที่ควบคุมการสลายตัวของกล้ามเนื้อ และเพิ่มระดับการแสดงออกของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ ได้ดีกว่ากลุ่มควบคุม กลุ่มออกกำลังกาย และกลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์เปรียบเทียบ จึงสรุปได้ว่าเครื่องดื่มฟื้นฟูร่างกายไฟโคไซยานินไฮโดรไลเสท มีส่วนช่วยในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อจากความเครียดออกซิเดชันที่เกิดจากการออกกำลังกายได้<br><br>Phycocyanin is a vital protein for photosynthesis in blue-green algae. In this study, it was hydrolysed by bromelain for 2 hours to give a result of phycocyanin hydrolysate. This active compound was then formulated into a recovery drink. It was then undergone aseptic processing to assess shelf-life extension by high pressure processing technique and pasteurisation. In addition, the phycocyanin hydrolysate recovery drink was compared with another commercially available recovery drink of similar nutritious value by assessing their efficacy in animal model. The experiment was conducted 5 groups: (1) control group, (2) control group + phycocyanin hydrolysate recovery drink, (3) exercise training group, (4) exercise training group + phycocyanin hydrolysate recovery drink and (5) exercise training group + commercial product. The study included an effect on antioxidation, muscle fatigue resistance and expression of genes involved in muscle building and breakdown. Phycocyanin hydrolysate, obtained by enzyme hydrolysis, exhibited the antioxidant activity of 126.73 ? 4.66 ?M TEAC/mg, an increase of 16.30 times compared to phycocyanin. It contained high proportion of LDYYLR and MFDAFTK peptides. Formulation of recovery drink containing phycocyanin hydrolysate resulted in L*a*b colour of 33.35, -1.34, 33.92, pH 3.50, total acidity of 0.94 ? 0.01% and ?Bx of 15.7 ? 0.4. Under high pressure processing, it showed 99.999% of microorganisms’ decontamination at a pressure of 400 MPa for 10 minutes. Comparison of recovery drinks by using either high pressure processing or pasteurisation as aseptic process proved no difference with pH, total acidity and ?Bx remained unchanged within 2 months of experiment. The efficacy study of phycocyanin hydrolysate recovery drink in animal model showed that it could improve fatigue resistance as well as level of antioxidation better than the control group and the exercise training group but as good as the group receiving the commercial product. Meanwhile, it exhibited a reduced expression level of genes involved in muscle breakdown together with an increased expression level of antioxidant enzymes far better than those 3 groups. In conclusion, phycocyanin hydrolysate recovery drink contributed to muscle recovery from oxidative stress caused by exercise.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ