Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการประกอบก...

TNRR

Description
โครงการวิจัยนี้ศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการประกอบการถอดแยกระดับชุมชนที่ไม่มีการขออนุญาตตามกฎหมายก่อนเข้าสู่การดำเนินการตามกลไกพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ และอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับการพิจารณาเป็นพื้นที่ต้นแบบที่มีความพร้อม ศักยภาพด้านข้อมูลและความร่วมมือในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ การจัดตั้งและบริหารศูนย์รวบรวมซากผลิตภัณฑ์ฯ อย่างเหมาะสม ยั่งยืนและเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์สามารถดำเนินการโดยเริ่มจากการผสมผสานรูปแบบการรวบรวมและรื้อแยกวิถีเดิมแล้วจึงปรับแบบค่อยเป็นค่อยไปประมาณ 3-4 ปี ก่อนเข้าสู่ศูนย์ฯ แบบเต็มรูปแบบ สำหรับผู้ประกอบการรื้อแยกซากผลิตภัณฑ์ฯ ในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่สะท้อนเจตนารมณ์ในการปรับตัวและยกระดับเป็นผู้ประกอบการที่ดีได้ มีความมุ่งมั่นดำเนินการปรับเปลี่ยนสถานประกอบการให้เหมาะสมและปลอดภัย และทำการรื้อแยกซากผลิตภัณฑ์ฯ ตามหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยระหว่างรอการเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่กลไกตามกฎหมาย นอกจากนี้แพลตฟอร์ม Electronic Waste Assessment System (EWA) ที่พัฒนาจากการศึกษานี้สามารถขยายผลการใช้ประโยชน์ไปยังผู้ประกอบการรื้อแยกซากผลิตภัณฑ์ฯ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ในพื้นที่ต้นแบบและพื้นที่อื่นของประเทศไทยต่อไปได้<br><br>This research project mainly aimed to focus on the possibility of adaptation of the Local Administrative Organization and the family-run informal electric and electronic waste (e-waste) dismantling sector prior to implementing the Act on the Management of Waste Electrical and Electronic Equipment of Thailand. Ban Mai Chaiyaphot district and Phutthaisong district, Buriram province were both considered to be the potential prototype areas in this study because of their crucial data supporting and intensive cooperation in e-waste management. The e-waste collection center that complies with this Act would be able to establish and implement in the proper, sustainable, and economically feasible ways by combining the former primitive e-waste collection and dismantling methods together with the newly developed one and transferring period before completely turning into the collection system as defined by the Act would be around 3-4 years. According to the project, most of the e-waste dismantling workers residing in the areas expressed the intention and potential to adapt and upgrade their works following the best practice guideline. Furthermore, they would also be willing to improve the dismantling workplaces to be more appropriate and safer working environments and to work under occupational health and safety guidelines during transferring period before the promulgation of the Act. Lastly, the digital platform, Electronic Waste Assessment System, developed from this study would be able to further extend and beneficial practical system for local e-waste dismantlers, Local Administrative Organizations, and some relevant authorities, of both in the prototype and other areas in Thailand

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ