Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การศึกษาเพื่อทบทวนหลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำกินเพื่อเ...

TNRR

Description
การศึกษาวิจัยนี้ มุ่งศึกษาหลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน รวมถึงกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง สภาพข้อเท็จจริง ปัญหาและอุปสรรคในการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชุมชน ในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อจำกัดและอุปสรรคในการดำเนินงานตามนโยบายและเสนอแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน จากการประเมินการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว พบว่ารูปแบบการจัดที่ดินแบบแปลงรวมโดยไม่ให้กรรมสิทธิ์นั้นมีความเหมาะสม แต่ยังมีปัญหาในนำนโยบายไปปฏิบัติทั้งในด้านการขาดความพร้อมด้านที่ดินที่จะนำมาจัด หลักเกณฑ์การจัดที่ดิน หน่วยงานของรัฐ และเกษรตรกร กระบวนการดำเนินงานมีความล่าช้าและไม่เหมาะสมกับแนวทางตามนโยบาย การดำเนินงานไม่ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ การศึกษาชี้ให้เห็นว่าควรมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ คือ ประการที่หนึ่ง สิทธิในที่ดินควรเป็นของชุมชนอย่างแท้จริง โดยในระยะแรกอาจอนุญาตให้องค์การบริหารส่วนตำบล แต่ในระยะยาวควรมีการทบทวนพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 เพื่อรับรองสิทธิชุมชนหรือให้มีการรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์ รวมทั้งควรกำหนดหลักเกณฑ์ที่ให้ชุนชนต้องมีแนวทางหรือแผนงานในการจัดการที่ดินร่วมกันอย่างเป็นระบบ ประการที่สอง กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่สมควรได้รับการจัดที่ดิน โดยพิจารณาถึงความเป็นเกษตรกรที่มีความสามารถในการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างประสิทธิภาพภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากร ประการที่สาม ให้สามารถนำไปใช้ในการทำกิจการอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรที่ดำเนินการโดยชุมชนและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม และปรับเปลี่ยนวิธีการส่งเสริมการพึ่งพาตนเองเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพและการตลาดอย่างครบวงจร ประการที่สี่ ควรอนุญาตให้ชุมชนใช้ประโยชน์ในที่ดินได้อย่างถาวรหากไม่ปฏิบัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด และกำหนดอัตราการชำระค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมเมื่อเทียบกับค่าตอบแทนการใช้ที่ดินในที่ดินประเภทอื่นและสิทธิที่จะได้รับ และประการที่ห้า ควรกำหนดบทบาทของชุมชนในการบริหารจัดการที่ดินและการกำกับดูแล<br><br>This research studies the criteria of land allocation for the community and related laws and policies; the conditions, problems, and obstacles of land allocation; and the economic, social and cultural conditions of the community in the national reserved forest. This research aims to analyse the limitations and obstacles in the implementation of the policy on land allocation for the community and to propose guideline for improving the criteria of land allocation for the community. The evaluation of implementation of the policy reveals that the allocation of land in combined plots form without ownership is appropriate. However, there are problems in implementing the policy including the lack of readiness in terms of land to be allocated, criteria of land allocation, government agencies, and farmers, the processes are delayed and not suitable for the policy implementation, and the operation fails to achieve its intended objectives. The research suggests that the criteria of land allocation for the community in the national reserved forest should be improved. Frist, the land right should truly belong to the community. In the first phase, the Sub-District Administrative Organisation may be permitted. In the long run, the National Reserved Forest Act, 1964 should be reviewed to ensure community rights or to specify to be a grouping as a cooperative. Second, there should determine the qualification of those who deserve to be allocated land by considering the farmers who are able to use the land effectively under the constraints of resources. Third, the land should be also used for other activities related to agriculture operated by community and benefit the community and the environment, and the promotion should be changed from promoting self-reliance to promoting career development and marketing comprehensively. Moreover, there should establish the criteria for the community to have a systematic approach or work plan on land management. Fourth, the community should be allowed to use the land permanently if the rules and conditions are not violated, and there should determine the rate of compensation payment appropriately by comparing with the compensation for the use of land in other types of land and the right received. Fifth, the role of the community in land use management and monitoring should be established.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ