Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การยกระดับรูปแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทของที่ระลึกเ...

TNRR

Description
การวิจัยครั้ง นี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ลำปาง นครหัตถศิลป์ ถิ่นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ นำมาใช้เป็นแนวคิดในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทของที่ระลึก 2) พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทของที่ระลึก เพื่อเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ โดยผสมผสานเซรามิกเข้ากับงานไม้ หรืองานผ้า จำนวน 10 รูปแบบ และ 3) พัฒนาระบบการตลาดของผู้ประกอบการเซรามิกที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 โรงงาน โดยใช้กระบวนการการตลาดดิจิทัล ในการดำเนินงานวิจัย คณะวิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประเมินความพร้อมทางด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และการตลาด กับผู้ประกอบการโรงงานเซรามิกขนาดเล็กกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 โรงงานที่ได้รับการคัดเลือก รวมถึงเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานวิจัยทั้งแบบปฐมภูมิ และทุติยภูมิ จากนั้นจึงแบ่งการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 2 ประเด็นโดยดำเนินการควบคู่กัน คือ 1) ด้านการพัฒนาต้นแบบผลิตภัฑณ์ ได้มีการจัดสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับอัตลักษณ์ลำปาง ที่มีผู้เข้าร่วมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิก และผู้ที่สนใจ แล้วจึงนำผลการระดมความคิดเห็นมาพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทของที่ระลึกและลวดลายตกแต่งได้จำนวน 130 รูปแบบ จากนั้นจึงจัดสัมมนาวิพากษ์เกี่ยวกับต้นแบบผลิตภัณฑ์ โดยตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอก ผู้ประกอบการโรงงานกลุ่มตัวอย่าง บุคคลทั่วไปและนักท่องเที่ยว จำนวน 98 คน พบว่ามีต้นแบบผลิตภัณฑ์และลวดลายต้นแบบสำหรับตกแต่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับคะแนนความคิดเห็นเฉลี่ยสูงสุดจำนวน 22 รูปแบบ แบ่งออกเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์จำนวน 14 รูปแบบ และลวดลายต้นแบบสำหรับตกแต่ง 8 รูปแบบ จากนั้นจึงนำไปให้ผู้ประกอบการโรงงานกลุ่มตัวอย่างเลือกทดลองผลิตและจัดจำหน่าย 2) ด้านของการพัฒนาระบบการตลาดของผู้ประกอบการ ได้มีการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการตลาดดิจิทัล และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลแพลตฟอร์มการจัดจำหน่ายสินค้าแบบออนไลน์ของแต่ละสถานประกอบการ และรูปแบบการจัดจำหน่ายสินค้าในปัจจุบันของแต่ละสถานประกอบการ เพื่อนำมาวิเคราะห์หารูปแบบของแพลตฟอร์ม ที่เหมาะสมในการพัฒนาทักษะของผู้ประกอบการทางด้านการตลาดดิจิทัล จากนั้นจึงเก็บรวบรวมผลของการใช้งานแพลตฟอร์มด้านการตลาดดิจิทัลของแต่ละสถานประกอบการเพื่อนำมาวิเคราะห์ผลด้านการตลาด และผลด้านรายได้ ผลของการดำเนินงานวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ 1) ในส่วนของการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทของที่ระลึกและลวดลายตกแต่งผลิตภัณฑ์ พบว่า ต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ถูกเลือกไปใช้ในการผลิตมากที่สุดคือ กระถางต้นไม้ทรงเตี้ยเขียนลายไก่ กระถางต้นไม้ทางสูงเขียนลายไก่ และแก้วลายประตูผา ส่วนลวดลายต้นแบบสำหรับตกแต่งผลิตภัณฑ์ที่ถูกเลือกไปใช้มากที่สุดคือ ลวดลายวัดพระธาตุลำปางหลวง ลวดลายรวบรวมจุดเด่นลำปาง และลวดลายกาดกองต้า และ 2) ในส่วนของการพัฒนาระบบการตลาดของผู้ประกอบการเซรามิกด้วยกระบวนการตลาดดิจิทัล พบว่า ผู้ประกอบการมีทักษะทางด้านการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล และความพร้อมที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังพบข้อจำกัดของผู้ประกอบการในโรงงานขนาดเล็กที่จะต้องบริหารจัดการทุกด้านในโรงงานทำให้ไม่สามารถใช้งานแพลตฟอร์มที่หลากหลายพร้อม ๆ กันได้ และจากรูปแบบการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน แพลตฟอร์มที่เหมาะสมคือ Line Official Account ผลของการใช้งาน Line Official Account ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงตัวแทนจำหน่ายได้เพิ่มขึ้น และสามารถสร้างความสนใจในผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการได้มากขึ้น และเมื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานด้านการผลิตและการจำหน่าย ของผู้ประกอบการกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 โรงงาน สามารถดำเนินการผลิตและจำหน่ายสินค้าที่พัฒนาต่อยอดจากต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบจากคณะวิจัย ได้จำนวน 4 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 40 ของกลุ่มตัวอย่าง โดยเมื่อทำการพิจารณาในเรื่องต้นทุนการผลิต และกำไร จะเห็นได้ว่า ในกระบวนการผลิตจะมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในภาพรวมโดยเฉลี่ยชิ้นละ 0.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.65 ด้านการกำหนดราคาขายในภาพรวมโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นชิ้นละ 6.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 25.49 และมีกำไรเพิ่มขึ้นในภาพรวมโดยเฉลี่ยชิ้นละ 6 บาท คิดเป็นร้อยละ 40.67<br><br> The objective of this study was 1) to analyze the identity of Lampang, used as a concept for developing a prototype of a souvenir ceramic product. 2) Develop a prototype of a souvenir ceramic product that entrepreneurs can use in the future by combining ceramics with woodworking or fabric work in 10 styles, and 3) developing a marketing system for ceramic entrepreneurs participating in the project, totalling 10 factories using processes of digital marketing. In conducting research, The research team collected data through in-depth interviews and product readiness assessments: production process and marketing with entrepreneurs of small ceramic factories, a sample group of 10 factories. Including information documents related to primary and secondary literature, They are 2 issues of the research operations carried out in parallel. 1) Product prototype development A seminar was held to brainstorm opinions on the Lampang identity. With participants including government agencies, the private sector, ceramic industry operators, and those interested, 130 types of ceramic souvenir and decorative patterns prototypes were the brainstorming results. Then a critique seminar on product prototypes was organized. By representatives of government agencies, major sectors, sample factory operators, Among 98 guests and tourists, 22 product prototypes and decorative motifs received the highest average rating, categorized into 14 product prototypes and 8 decorative motifs. Then bring to the operators of the factory, the sample group chooses to test the production and distribution. 2) The aspect of the development of the marketing system of entrepreneurs. We organized a training workshop on digital marketing. Then, collecting information on the online distribution platform of each establishment and the current product distribution model of each establishment To analyze and find a suitable platform for developing entrepreneurial skills in digital marketing. Then collect the results of the use of the digital marketing platform of each establishment to analyze the marketing results and income effect. They are two issues results of the research: 1) As for the development of prototypes of ceramic products in the category of souvenirs and product decorative patterns, The prototypes that most selected for production were small plant pot with a chicken pattern, high plant pot with chicken pattern and glass with Pra-Tu Pha patterned. The prototype pattern for decorating the most used products was Wat Phra That Lampang Luang pattern, the highlights of Lampang pattern and Kad Kongta patterns. 2) As for the development of the marketing system of ceramic entrepreneurs through the digital marketing process, The entrepreneurs had different skills in using digital technology and readiness. It also encounters the limitation of small factory operators to manage all aspects of the factory, making it impossible to use multiple platforms simultaneously. The ideal platform is Line Official Account. As a result of using Line Official Account, establishments have access to more dealers and create more interest in the establishments products. The production and sales performance analysis show that the production cost will increase by an average of 0.50 baht per piece (4.65 percent). The selling price increase by an average of 6.50 baht per piece (25.49 percent) and The overall profit increased by an average of 6 baht per piece (40.67 percent).

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ