Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การบำบัดน้ำเสียแบบ zero waste จากกระบวนการแยกเส้นใ...

TNRR

Description
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและสร้างระบบบำบัดน้ำเสียจากการการแยกเส้นใยแบบไม่มีของเสียเกิดขึ้นจากการบำบัดน้ำเสีย ทดลองโดยศึกษาลักษณะน้ำเสียที่เกิดจากเส้นใยกล้วย ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตวัสดุพรุนจากกากตะกอนน้ำเสีย ผลการทดลองพบว่าน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการแยกเส้นใยกล้วย มีปริมาณของแข็งแขวนลอย 52.00?4.00 มิลลิกรัมต่อลิตร มีความเป็นด่างสูงโดยมีค่าพีเอช 13.74?0.11 และค่าซีโอดี 27,153?485.84 มิลลิกรัมต่อลิตร กระบวนการบำบัดที่เหมาะสมคือปรับสภาพให้มีค่าพีเอชเท่ากับ 8.5 ด้วยกรดซัลฟิวริกเข้มข้นร้อยละ 10 โดยปริมาตร รวมตะกอนด้วยอะลูมิเนียมซัลเฟตเข้มข้นร้อยละ 15 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ปริมาณ 666.68 มิลลิลิตรต่อน้ำเสีย 50 ลิตร ปูนขาวเข้มข้นร้อยละ 10 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ปริมาณ 3.33 ลิตรต่อน้ำเสีย 50 ลิตร ตกตะกอนเวลา 60 นาที ตามด้วยกรองทรายละเอียด และกรองถ่าน ระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพในการปรับค่าพีเอช ลดค่าซีโอดี ลดปริมาณของแข็งแขวนลอย และของแข็งละลายเท่ากับร้อยละ 41.11, 90.22, 5.42, และ 15.42 ตามลำดับ ภาวะที่เหมาะสมในการผลิตวัสดุพรุนจากกากตะกอนน้ำเสีย คือผสมดินเหนียวและกากตะกอนในอัตราส่วน 80:20 เผาที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เวลา 3 ชั่วโมง ได้วัสดุดินเผาสีแดงอิฐขนาดความยาว 1 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร มีค่าพีเอช 7.82?0.07 ค่าการนำไฟฟ้า 0.94?0.07 มิลลิซีเมนส์ต่อเซนติเมตร การหดตัวหลังเผาร้อยละ 4.33?0.58 ความพรุนตัวร้อยละ 38.23?0.59 การดูดซึมน้ำร้อยละ 27.23?0.49 และผลทดสอบการชะละลายของโลหะหนักพบว่าในสารชะละลายมีปริมาณแคลเซียมเฉลี่ย 3.2608?0.0007 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณอะลูมิเนียมเฉลี่ย 1.2567?0.0019 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณตะกั่วเฉลี่ย 0.0417?0.0040 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานกำหนดให้มีไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อลิตร) ไม่พบการปนเปื้อนของโครเมียม และแคดเมียมในสารชะละลาย<br><br>This research aimed to treat wastewater from banana fiber separation by zerowaste method. The experiment was conducted by studying the characteristics of wastewater caused by banana fibers, studying the factors affecting the efficiency of the wastewater treatment system, studying the optimum conditions for producing porous materials from wastewater sludge. The results showed that the wastewater from the banana fiber separation process had suspended solid content of 52.00?4.00 mg/l, high alkaline with pH 13.74?0.11 and COD of 27,153?485.84 mg/l. The wastewater from the banana fiber separation process had suspended solids content of 52.00?4.00 mg/l and had high alkalinity with PH value of 13.74?0.11 and COD value of 27,153?485.84 mg/l. The appropriate treatment process was to adjust the pH to 8.5with 10% v/v H2SO4 followed by the addition of 15% w/v Al2(SO4)3 666.68 ml, 10% w/v Ca(OH)2 3.33 liters per 50 liters of wastewater, and followed by fine sand filter and charcoal filter. The efficiency of the wastewater treatment system was to adjust the pH value, reduce the COD value, the suspended solids and dissolved solids by 41.11%, 90.22%, 5.42%, and 15.42% percent, respectively. The optimum condition for the production of porous materials from wastewater sludge was to mix clay and sludge in the ratio of 80:20 and burn at 500 ?C for 3 hours to obtain brick red clay material of length 1 cm and diameter 0.5 cm. Porous material had a pH value of 7.82?0.07, conductivity 0.94?0.07 mS per, shrinkage 4.33?0.58%, porosity 38.23?0.59%, and water absorption 27.23?0.49 %. The heavy metal leaching test showed that the average calcium content in the leaching solution was 3.2608?0.0007 mg/l, the average aluminum content was 1.2567?0.0019 mg/l, the average lead content. 0.0417?0.0040 mg/l (Standard requires not more than 5 mg/l). In addition, chromium and cadmium contamination were not found in the leaching solution.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ