Description
ยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมเป็นนโยบายเศรษฐกิจแบบไร้พรมแดน เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ การค้าและการลงทุน ยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2556 ภายใต้โครงการ แถบเศรษฐกิจ เส้นทางสายไหม หรือ One Belt and One Road (OBOR) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น Belt and Road Initiative (BRI) โครงการก่อสร้างรถไฟลาว - จีน ถือเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหม โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ใช้ระบบรางเป็นตัวขับเคลื่อนในการเชื่อมโยงภูมิภาคต่างๆ การเชื่อมโยงการเดินทางจากนครคุนหมิงมายังบริเวณชายแดนจีน – ลาว ด้วยเส้นทางรถไฟดังกล่าวจะทำให้เกิดการเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีนได้ ซึ่งการเชื่อมโยงการคมนาคมภายในประเทศกับเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 นี้จะเป็นส่วนสนับสนุนต่อการขยายตัวทางธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศไทยในอนาคตคณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษารูปแบบการดำเนินงานและอุปสงค์ของนักเดินทางระหว่างประเทศไทยและกลุ่มประเทศอยู่ในเส้นทางสะพานเศรษฐกิจนิวยูเรเซียในปัจจุบัน ได้นำเสนอรูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมของการขนส่งนักเดินทางเพื่อเชื่อมโยงประเทศไทยกับกลุ่มประเทศภาคีผ่านทางระบบราง และได้ทำการพยากรณ์อุปสงค์ของนักเดินทางในอนาคตช่วงเวลา 10 ปีข้างหน้าโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอย ผลการศึกษาวิจัยพบว่าอุปสงค์ของนักเดินทางชาวจีนและลาวเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีแนวโน้มในการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางมาใช้ระบบรางมากกว่านักเดินทางในกลุ่มประเทศภาคีอื่น<br><br>The Silk Road Strategy is a borderless economic policy. To increase business, trade, and investment opportunities, the Silk Road Strategy was initiated in 2013 under the project "Silk Road Economic Belt" or "One Belt and One Road (OBOR)", which was later renamed by a Belt and Road Initiative (BRI). The Laos-China Railway Construction Project is one of the development projects under the Silk Road Strategy. The Peoples Republic of China uses the rail system as a propulsion to link various regions. Connecting the travel from Kunming to the China-Laos border via the aforementioned railway line will link to the Thai Chinese high-speed rail project. Connecting domestic transport with the Silk Road of the 21st century will contribute to the expansion of Thailands tourism business in the future.This research studied the current operation types and the traveller demands from Thailand to the association countries on the path of the new Eurasian land bridge and vice versa. The appropriate operation type for tourist transportation connecting Thailand with the association countries using the rail system was proposed. The traveller demands in the future for 10 years were forecasted by using the regression analysis. The results indicated that the predictable demands obtained from Chinese and Laos travellers were continuously increased and were likely to change the transport modes from the current to the railway mode more than the travelers in other association countries.
Date of Publication :
02/2023
Publisher :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Category :
รายงานการวิจัย
Total page :
77012 pages
People Who Read This Also Read