Notifications

You are here

อีบุ๊ค

อากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลแบบที่ 2 M...

TNRR

Description
กองทัพเรือมีบทบาทด้านความมั่นคงและการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของประเทศไทย ให้มีอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยจากสภาพทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ที่ประเทศไทยตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมที่สำคัญของโลก มีความยาวชายฝั่งด้านอ่าวไทยมากกว่า 1,000 ไมล์ทะเล ด้านทะเลอันดามัน ประมาณ 580 ไมล์ มีความกว้างปากอ่าวไทยประมาณ 200 ไมล์ พื้นที่ทางทะเลมากกว่า 314,000 ตารางกิโลเมตร ผลประโยชน์ของชาติทางทะเลมากกว่า 24 ล้านล้านบาทต่อปี และมีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จึงทำให้กองทัพเรือมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่องมือ และยุทโธปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถปฏิบัติภารกิจที่สอดรับกับสภาพแวดล้อมทางทะเลในการเตรียมความพร้อมทั้งในส่วนของกำลังทางเรือและระบบสนับสนุนในการปฏิบัติการด้านต่าง ๆ ที่จะต้องร่วมปฏิบัติการในรูปแบบของกำลังรบทางเรือในการทำสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCW) ความปลอดภัยในการคมนาคมทางทะเล และความปลอดภัยของท่าเรือในเขตทางทะเลของไทยและพื้นที่ที่กำหนด รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับภารกิจของพลเรือนที่เกี่ยวเนื่องได้เช่นกัน ซึ่งการจัดหายุทโธปกรณ์เพื่อมาสนับสนุนภารกิจดังกล่าวจากต่างประเทศนั้น มีต้นทุนที่สูงและมีความเสี่ยงในการขาดการบำรุงรักษาที่ต่อเนื่องทำให้จะต้องหาวิธีการที่จะทำวิจัยขึ้นมาเองเพื่อตอบสนองภารกิจ โครงการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล แบบที่ 2 (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System Type-2 : MARCUS-B) เป็นการอาศัยองค์ความรู้และประสบการณ์ในการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS มาต่อยอดและเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะให้ดีขึ้น มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับแบบปีกนิ่งขึ้น - ลงทางดิ่ง อาศัยข้อดีของอากาศยานไร้คนขับแบบปีกนิ่ง (Fixed Wing) ที่มีระยะเวลาในการบินมากกว่า มีความเร็วมากกว่า สามารถบรรทุกน้ำหนักได้มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับอากาศยานไร้คนขับแบบปีกหมุน (Multi - Rotor) แต่ยังคงผสมผสานความสามารถในการขึ้น - ลงทางดิ่ง โดยใช้พื้นที่น้อยที่สุดและสามารถทำการขึ้นบินและลงจอดได้ในพื้นที่ที่จำกัดตามภูมิประเทศแนวชายฝั่ง บนเกาะ หรือพื้นที่จำกัดหรือดาดฟ้าเรือ ซึ่งอากาศยานไร้คนขับดังกล่าวเป็นการเหมาะสมต่อการปฏิบัติภารกิจของกองทัพเรือ โดยที่อากาศยานไร้คนขับแบบปีกนิ่งโดยทั่วไปไม่สามารถกระทำได้ ทั้งนี้มีแนวทางการดำเนินโครงการ ได้แก่ พัฒนาเครื่องต้นแบบที่ผ่านการทดสอบทดลองใช้งานก่อน และพัฒนาระบบให้มีความเสถียรก่อนจึงจะติดกล้อง และนำไปทดสอบจริงในทะเล พร้อมทั้งคำนึงถึงการเก็บกู้อากาศยานไร้คนขับในกรณีมีอุบัติเหตุตกในทะเล และพัฒนาระบบควบคุมสั่งการยุทธวิธีทางอากาศ ให้มีประสิทธิภาพก่อนที่จะนำไปทดสอบในทะเล สรุปในการดำเนินงานจะเป็นการออกแบบ ตรวจสอบ และทดสอบโครงสร้างอากาศยานตามหลักวิชาการ และออกแบบพัฒนาระบบการสื่อสารระหว่างผู้ควบคุมอากาศยาน โดยเน้นการควบคุมและสั่งการทางด้านการปฏิบัติทางยุทธวิธี (Tactical - Based) ตลอดจนออกแบบขั้นตอนกระบวนการผลิตต่าง ๆ ทำการทดสอบทดลองเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีสมรรถนะที่เหมาะสมต่อการบินปฏิบัติตามแนวชายฝั่งและในทะเล รองรับภารกิจภายใต้ความรับผิดชอบของกองทัพเรือคำสำคัญ1. อากาศยานไร้คนขับแบบปีกนิ่งขึ้น - ลงทางดิ่งเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล2. ระบบการสื่อสารระหว่างผู้ควบคุมอากาศยาน<br><br>Royal Thai Navy (RTN) contributes major roles in protecting all national maritime interests, endorsing law enforcement, and assisting in disaster mitigation missions in Chantaburi, Trat and Narathiwas provinces together with their maritime space as well as the border areas of the Mekong River basin. Nowadays the increase of some noteworthy challenges and problems such as Illegal, Unreported, and Unregulated (IUU) fishing, drug smuggling, illegal migration through Thailand have driven RTN to necessarily acquire effective tools and equipment in operating these related missions in maritime environment with capability of interoperation with existing RTN assets. In addition, these tools and equipment shall also be used in civilian related missions. According to costly oversea acquisition and under risk of discontinued services, the Research and Development (R&D) based on local needs should be the highest consideration. This Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System Type 2 (MARCUS-B) project is an R&D of fixed-wing VTOL (Vertical Take-Off and Landing) UAV (Unmanned Aerial Vehicle) aircraft, comparing to the multi-rotor UAV, can perform longer flight time, faster speed, and more lifting capacity. This aircraft uses a vertical take-off and landing capability which requires much smaller landing space than other typical fixed-wing UAVs. In this regard, MARCUS is highly suitable for naval operations in which available landing areas are markedly limited, such as open decks onboard of RTN’s ships or in most coastal areas. A MARCUS-B prototype was properly developed, tested, and approved to assure its flight stability before the installation of the camera. After equipped with the air tactical command and control system, MARCUS-B was operationally proven by performing its at-sea naval experiments onboard a RTN’s ship. A recovery procedure was also planned to handle accidental cases on the UAV. In conclusion, MARCUS-B project was proceeded according to academic principles of aeronautics and tactical-based communications in design, development, testing, and approval processes, physically, electronically and tactically.Key word 1. Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System2. aeronautics and tactical-based communications

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ