Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การส่งเสริม พัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของแรงงานข้าม...

TNRR

Description
แรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนให้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐาน ภายใต้หลักประกันสุขภาพที่รัฐจัดให้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจึงมีงบประมาณจำกัดหรือไม่เพียงพอต่อการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และฟื้นฟูสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ ในขณะที่แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันตนเองและการมีสุขภาวะที่ดี ดังนั้น โครงการวิจัยนี้ จึงได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อนำเสนอนวัตกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ผ่านสื่อสุขภาพดิจิทัลที่แรงงานข้ามชาติสามสัญชาติคือ ลาว กัมพูชา และเมียนมา สามารถเข้าถึงได้โดยสะดวกในภาษาของตนเองผ่านการใช้สมาร์ทโฟน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีของประชาคมอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมสุขภาพ การได้รับความรู้ด้าน สุขภาพ และส่วนขาดของความรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ รวมทั้งปัจจัยคุณลักษณะทางจิตวิทยาสังคมและการใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสารของของแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย ในพื้นที่ศึกษา 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร เชียงใหม่ ระนอง ชลบุรี และนครราชสีมา เพื่อพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในรูปแบบการสื่อสารสุขภาพดิจิทัล 3 ภาษา และให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาเทคโนโลยีเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่แรงงานข้ามชาติ ดำเนินการวิจัยในรูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางด้วยการวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยวิธีการเชิงปริมาณร่วมกับวิธีการเชิงคุณภาพผลการศึกษาเชิงปริมาณแสดงให้เห็นว่า แรงงานข้ามชาติต้องการมีสุขภาพที่ดี และการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นปัจจัยร่วมทางจิตวิทยาสังคมที่ส่งผลให้แรงงานข้ามชาติมีทัศนคติและความต้องการในระดับสูงที่จะได้รับรู้หรือเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพในช่องทางการสื่อสารที่ตนเองเข้าถึงได้อย่างเข้าใจและสะดวก และข้อค้นพบสำคัญจากการศึกษาเชิงคุณภาพ คือ การทำให้แรงงานข้ามชาติได้เข้าสู่ระบบการขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย เพื่อให้เขาเหล่านั้นได้รับสิทธิด้านสุขภาพ ที่ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค รวมทั้งการฟื้นฟูสุขภาพอย่างเหมาะสม และมีกลไกเสริมแรงโดยความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านสื่อสังคมที่เป็นเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งการใช้กลไกด้านสุขภาพดังกล่าว จะเป็น เป็น soft power ของการดำเนินนโยบายแรงงานข้ามชาติของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพโดยไม่เลือกปฏิบัติในด้านการพัฒนานวัตกรรมสื่อสารสุขภาพดิจิทัล การวิจัยได้ข้อค้นพบเกี่ยวกับการสื่อสารสุขภาพในรูปแบบ Messaging Application ด้วยโปรแกรม Chatbot เพื่อนสุขภาพ ในการโต้ตอบกับคู่สนทนา โดยสามารถใช้งานผ่านแอปพลิเคชันของสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ซึ่งเป็นนวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของแรงงานข้ามชาติจำนวน 9 กลุ่มโรค ตามหลักการ All Thinking Digital และ Do less Get moreข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการวิจัยนี้ ประกอบด้วย การกำหนดมาตรการสุขภาพระหว่างประเทศ ด้านการคัดกรองสุขภาพสำหรับการเข้ามาทำงานในประเทศไทยของแรงงานข้ามชาติ ความร่วมมือภาครัฐและเอกชนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพแรงงานข้ามชาติที่ครอบคลุมถึงการป้องกันโรคและการฟื้นฟูสุขภาพ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาคมอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามแผนแม่บท ASCC 2025 การส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่เหมาะสมของแรงงานข้ามชาติ รวมทั้ง การเสริมสร้างศักยภาพผู้นำด้านสุขภาพแรงงานข้ามชาติในสถานประกอบการ โดยมีข้อเสนอแนะทางวิชาการ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรอบรมด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารสุขภาพให้แก่ผู้นำหรือผู้แทนแรงงานข้ามชาติ และข้อเสนอแนะของการศึกษาต่อเนื่อง คือ การวิจัยเพื่อประเมินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจากการเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิทัล และการพัฒนามาตรการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งผู้วิจัยได้นำเสนอเป็นบทสรุปของการวิจัยด้วย ห่วงโซ่การสื่อสารสุขภาพดิจิทัล (Digital Health Communication Chain) สำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยคำสำคัญ: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ แรงงานข้ามชาติ การสื่อสารสุขภาพดิจิทัล<br><br>AbstractMigrant workers in Thailand has been encouraged to access quality health care services under the health insurance provided by the state. However, the government has limited or insufficient budget for health promotion, disease prevention and rehabilitation for the migrant workers. While most of migrants do not much pay attention on health learning to protect themselves and for living well. Therefore, this research project has been developed to present innovations that enhance health literacy through digital health media that migrant workers of three nationalities were Laos, Cambodia and Myanmar can access conveniently in their own language through the use of smartphones. As well as promoting Thailand as a model of ASEAN good practice.This research aimed to analyze health behaviors with the acquisition of knowledge on health and the lack of health knowledge related to health behaviors of migrant workers in Thailand. Including psychosocial factors and the use of communication technology of Cambodian, Laotian and Myanmar migrant workers who come to work and live legally in Thailand both living dispersion in housing of employers and uniting as a migrant’s community in the study area in 5 provinces, were Samut Sakhon, Chiang Mai, Ranong, Chonburi and Nakhon Ratchasima. To develop innovations to enhance health literacy by digital health communication in 3 languages of Lao, Khmer and Burmese and providing policy recommendations on technology development, enhancing health literacy for migrant workers and promoting Thailands image in the ASEAN community. Research designed was a descriptive cross-sectional study by mixed methodology combined with a quantitative approach together with qualitative methods to enhance health knowledge and the innovation development to enhance the health literacy of migrant workers.The results of a quantitative study showed that, in addition to the needs for good health of migrant workers, the epidemic of COVID-19 is a common psychosocial factor that urge the migrant workers having a high level of attitudes and desires to know or learn about health in a way that they can easily understand and access. The findings from a qualitative study were that, the enabling migrant workers to legally registration system for having the right to health that covers health promotion, disease prevention including proper health rehabilitation. Public-Private Partnerships is a mechanism to enhance health literacy through social media that is popular among migrant workers. The use of such health mechanisms will be a soft power of Thailands migrant workers policy that focuses on health without discrimination.The development of digital health communication innovations was the digital health communication in the form of Chatbot program Health Friend with interaction with the interlocutor to reduce the limitation of communication that requires human messengers. This conversation program can be used via a smartphone or tablet application, which is an innovative way to promote learning and good health behaviors change of migrant workers in numbers of nine diseases groups according to the principles of All Thinking Digital and Do less Get more.The policy recommendations from this research consist of the formulation of international health measures regarding the entry into Thailand of migrant workers. Public-Private Partnerships tohealth promoting for migrant workers. Driving the ASEAN Community Strategy on Social and Cultural commitment according to the ASCC 2025 Master Plan. As well as promoting access to accurate information and appropriate communication technology among migrant workers, including empowering migrant health leaders in the workplace. The academic recommendations were: development of training courses in technology and health communication for migrant leaders or change agent. The recommendations of further studies were; the development of health literacy among migrant workers in Thailand. The assessment of health behavior changes from learning through digital media and the development of international labor mobility measures. From the findings, conclusions and recommendations, the researcher presented a summary of research on the Digital Health Communication Chain for migrant workers in Thailand.Keywords: Health literacy, migrant workers, digital health communication.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ