Notifications

You are here

อีบุ๊ค

ผลกระทบและการฟื้นตัวของแรงงานในระบบอาหารในการสร้าง...

TNRR

Description
คนทำงานในระบบอาหารเป็นคนทำงานรายได้น้อยกลุ่มใหญ่ที่ต้องเผชิญความเสี่ยงในภาวะวิกฤติของการระบาดใหญ่เช่นเดียวกับบุคลากรทางการแพทย์ แต่กลับถูกมองข้ามและถูกละเลยจากมาตรการเชิงนโยบาย ทำให้กลุ่มประชากรแรงงานในระบบอาหารไม่ได้รับความคุ้มครองและเยียวยา และเป็นกลุ่มที่เข้าไม่ถึงความมั่นคงของมนุษย์มากที่สุดกลุ่มหนึ่งจากวิกฤติโควิด-19 ที่ผ่านมา โครงการวิจัย ผลกระทบและการฟื้นตัวของแรงงานในระบบอาหารในการสร้างความมั่นคงของมนุษย์จากวิกฤติโควิด มีเป้าหมายในการแสวงหาทางออกสำหรับคนทำงานในระบบอาหารเพื่อให้สามารถรับมือวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสมผสาน ประกอบด้วย งานวิจัยเชิงเอกสารร่วมกับเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยทบทวนวรรณกรรมเปรียบเทียบมาตรการเชิงนโยบายของสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และไทย งานวิจัยเชิงปริมาณจัดเก็บข้อมูลเชิงปฐมภูมิแบบซึ่งหน้าผ่านแบบสอบถาม จากแรงงานในระบบอาหารรวม 398 คน ร่วมกับข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกแบบพบหน้ารวม 25 คน การสนทนากลุ่ม 2 ครั้ง แบ่งเป็นกลุ่มลูกจ้าง 1 ครั้ง และกลุ่มผู้ประกอบการ 1 ครั้ง การประชุมระดมสมอง 1 ครั้งของกลุ่มแรงงานในระบบที่มีศักยภาพในการรับมือภาวะวิกฤติ และการประชุมผู้เกี่ยวข้อง 2 ครั้งเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายและรับฟังข้อเสนอแนะ ข้อค้นพบหลักจากงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าคนทำงานในระบบอาหารที่เป็นผู้จ้างงานตนเองและในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก เป็นกลุ่มเปราะบาง ที่เผชิญกับความไม่มั่นคงทางรายได้และการจ้างงาน ขาดแคลนทุนทางเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลต่อการฟื้นฟูตัวเองและอุตสาหกรรมอาหารภาคบริการในพื้นที่เขตเมืองในอนาคต และมาตรการรับมือโควิดของประเทศไทยแม้จะมุ่งเน้นการช่วยเหลือครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย แต่ยังไม่สามารถรักษาการจ้างงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและย่อม นำมาสู่การพัฒนาคู่มือการรับมือภาวะวิกฤติร่วมกับกลุ่มคนทำงานในระบบอาหาร และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อรับมือผลกระทบและฟื้นฟูแรงงานระบบอาหารเขตพื้นที่เมืองจากวิกฤติการระบาดของโรคโควิด ๑๙ มุ่งเป้าไปยังกลุ่มแรงงานในระบบอาหารที่เป็นกลุ่มเปราะบางและกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มธุรกิจในระบบอาหารขนาดกลางและย่อมคำสำคัญ: คนทำงานในระบบอาหาร, โควิด-19, ความมั่นคงของมนุษย์, การรับมือและการฟื้นตัววิกฤติ, การรักษาการจ้างงาน<br><br>Food system workers are a large group of low-income workers facing the same risk of pandemic crisis as healthcare workers. However, they are invisible and excluded from crisis management policy measures. As a result, food workers are unprotected and become one of the most vulnerable groups without human security in the past Covid-19 crisis. The research project ‘Impacts and Resiliencies of Food workers for Human Security in COVID Crisis’ aims to find solutions for food workers to cope with future crises. The mixed method is applied with a combination of documentary, quantitative and qualitative researches. The documentation review compares policy measures in the United States, Singapore and Thailand. The quantitative research collects primary data using questionnaires from a total of 398 food system workers. The qualitative part consists of 25 face-to-face in-depth interviews, 2 group discussions, 1 brainstorming session and 2 stakeholders’ meetings. The main findings indicate that the most vulnerable food workers are self-employed workers and workers in micro businesses, who in Covid crisis have faced with the most income insecurity and employment instability. Because of the lack of economic and income security, their capability to resilience could affect the recovery of the food industry and the service sector in urban areas in the future. Moreover, as Thailand’s Covid-19 response policy focused on low-income household assistances, the implementation of job retention scheme was ineffective especially in the small and medium-sized businesses. These led to the development of a crisis response manuals with food workers participation. The policy recommendation put an emphasis on vulnerable food workers and small and medium-sized food related businesses to establish their income, employment and job security.Keywords: Food workers, COVID19, Human security, Crisis response and recovery, Job retention

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ