Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การศึกษาระบบโลจิสติกส์รองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายร...

TNRR

Description
แผนงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานและอุปสงค์ของการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในปัจจุบันบนเส้นทางที่สามารถเชื่อมโยงประเทศไทยกับกลุ่มประเทศภาคี ภายใต้ยุทธศาสตร์ เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 และ 2) เพื่อเสนอแนะยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์รองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบบนเส้นทางที่สามารถเชื่อมโยงประเทศไทยกับกลุ่มประเทศภาคี ภายใต้ยุทธศาสตร์ เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 7 ขั้นตอนหลัก ประกอบด้วย 1) การทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2) การเก็บรวบรวมข้อมูลและการสัมภาษณ์เชิงลึก 3) การวิเคราะห์การเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ 4) การวิเคราะห์แผนผังสาเหตุและผล 5) การเสนอแนะยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ 6) การจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็น และ 7) การสรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ โดยผลการศึกษา พบว่า การขนส่งสินค้าและผู้โดยสารของประเทศไทยในอนาคตสามารถเชื่อมโยงไปยังประเทศจีนได้ด้วยโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางราง ภายใต้ยุทธศาสตร์ เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เส้นทางของโครงการรถไฟลาว-จีน ส่งผลให้ผู้ประกอบและผู้โดยสารมีโอกาสมากขึ้นในการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งและการเดินทางจากทางถนนเป็นทางราง อย่างไรก็ตามการขนส่งทางบกของประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่สามารถเดินทางไปยังกลุ่มประเทศภาคีบนเส้นทางเศรษฐกิจยูเรเซียใหม่ ภายใต้ยุทธศาสตร์ เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 ได้ ซึ่งประกอบด้วย ประเทศคาซัคสถาน ประเทศรัสเซีย ประเทศเบลารุส ประเทศโปแลนด์ ประเทศเยอรมนี และ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรมีการปรับปรุงแผนการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ให้มีความเหมาะสมต่อการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบบนเส้นทางที่สามารถเชื่อมโยงประเทศไทยกับกลุ่มประเทศภาคี ภายใต้ยุทธศาสตร์ เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 ได้ นอกจากนี้โครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์ควรได้รับการพัฒนาและสนับสนุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งของผู้ประกอบการ และสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br><br>This research plan has two objectives: 1) to study the current operations and travel demands for multimodal transportation systems connecting Thailand and member countries under the Belt and Road Initiative: BRI strategy and 2) to recommend the development strategy of logistics systems for supporting the multimodal transportation systems connecting Thailand and member countries under the BRI strategy. The methodology is divided into seven main steps: 1) theory and literature reviews, 2) data collection and in-depth interview, 3) logistics system analysis, 4) fishbone diagram analysis, 5) recommendations of logistics system development strategy plans, 6) public participation, and 7) research conclusion and recommendation. The results of study show that the freight and passenger transportation of Thailand in the future can be connected to China through rail infrastructure under the BRI strategy by using the route of Laos-China railway project. Affecting the entrepreneurs and passengers has more opportunities to shift the modes of transportation from roads to railways. However, the land transportation of Thailand at the current cannot be traveled to the member countries on the New Eurasian Land Bridge (NELB) under the BRI strategy, which consists of Kazakhstan Russia Belarus Poland Germany and Netherlands. Therefore, Thailand should improve the logistics action plans to be suitable for multimodal transportation on routes that can connect Thailand with member countries under the BRI strategy. Moreover, logistics infrastructure and technology should be developed and supported to increase operational efficiency, which will reduce transportation costs of entrepreneurs and support Thailand to compete with other international countries effectively.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ