Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การจัดการแหล่งพ่อพันธุ์กุ้งก้ามกรามในโรงเพาะฟักระด...

TNRR

Description
ธุรกิจกุ้งก้ามกรามของไทยเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ และมีมูลค่าสูง โดยในปี 2562 พื้นที่เลี้ยงกุ้งก้ามกรามทั้งประเทศมีประมาณ 70,920 ไร่ ผลผลิตมีมูลค่า 5,172 ล้านบาท การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามทั้งหมดใช้ลูกกุ้งจากโรงเพาะฟัก และในปัจจุบันเริ่มมีการใช้ลูกกุ้งที่มีสัดส่วนเป็นเพศผู้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ซึ่งให้จะผลผลิตดีกว่าการใช้ลูกกุ้งคละเพศตามปกติ แต่การผลิตลูกกุ้งที่มีสัดส่วนเพศผู้สูง และปลอดไวรัส MrNV ที่ก่อให้เกิดการตายของลูกกุ้งประสบปัญหาขาดแคลนพ่อพันธุ์ โครงการวิจัยนี้เป็นการสร้างข้อมูลเพื่อการวางแผนผลิตพ่อพันธุ์กุ้งในโรงเรือน เพื่อให้ปลอดไวรัส MrNV และศึกษาอิทธิพลของวรรณะพ่อพันธุ์ที่ส่งผลต่อกุ้งรุ่นลูก โดยการศึกษาวงรอบการผลัดเปลี่ยนวรรณะ และลักษณะของเนื้อเยื่อระบบสืบพันธุ์ของพ่อพันธุ์ในสภาพการเลี้ยงในที่กักขัง รวมทั้งศึกษาอิทธิพลของวรรณะของพ่อพันธุ์ที่มีต่อผลผลิตกุ้งก้ามกรามรุ่นลูก โดยนำเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดไมโครแซทเทลไลท์มาใช้ตรวจสอบย้อนกลับจากผลผลิตกุ้งแต่ละวรรณะ ไปยังพ่อพันธุ์ที่ให้กำเนิด การศึกษาวงรอบการผลัดเปลี่ยนวรรณะ ทำโดยนำกุ้งเพศผู้เข้าสู่ระบบเลี้ยงแบบแยกเดี่ยวในที่กักขัง แล้วติดตามวงจรการลอกคราบเพื่อเข้าสู่วรรณะต่างๆ และมีการศึกษาความสมบูรณ์เพศจากเนื้อเยื่อระบบสืบพันธุ์เป็นระยะ พบว่ากุ้งก้ามกรามเพศผู้มีวงจรการผลัดเปลี่ยนวรรณะเริ่มจาก Small Male แล้วผ่านการเป็นวรรณะ Orange Claw Male และ Strong Orange Claw Male ตามลำดับ ก่อนที่จะพัฒนาเข้าสู่วรรณะ Blue Claw male จากนั้นกุ้งเพศผู้ Blue Claw จะเข้าสู่การเปลี่ยนวรรณะโดยสลัดก้ามทิ้ง เป็น No Claw Male และเกิดการพัฒนาส่วนก้ามขึ้นมาใหม่ จึงจะสามารถกลับมาเป็นวรรณะ Blue Claw ได้อีกครั้ง ระยะเวลาของการผลัดเปลี่ยนวรรณะมีความแตกต่างกันในแต่ละวรรณะ การศึกษาลักษณะเนื้อเยื่อระบบสืบพันธุ์ พบว่าพ่อพันธุ์กุ้งแต่ละวรรณะมีลักษณะของเนื้อเยื่อระบบสืบพันธุ์ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามสามารถพบ spermatozoa ได้ในท่อนำน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ทุกวรรณะ แต่จะมีความหนาแน่นของ spermatozoa ที่แตกต่างกัน จากการนำพ่อพันธุ์แต่ละวรรณะมาผสมพันธุ์กับแม่กุ้งเพื่อผลิตลูกกุ้ง พบว่าพ่อพันธุ์ Strong Orange Claw ให้จำนวนลูกกุ้งแรกฟักสูงสุด รองลงมาเป็นการใช้พ่อพันธุ์ Blue Claw และพ่อพันธุ์ Small Male ตามลำดับ ข้อมูลนี้สามารถนำไปใช้เพื่อการวางแผนสร้างพ่อพันธุ์ปลอดโรค เพื่อให้ได้พ่อพันธุ์จำนวนเพียงพอสำหรับการนำไปใช้ผลิตลูกกุ้งในระดับอุตสาหกรรมส่วนการศึกษาอิทธิพลของวรรณะของพ่อพันธุ์ที่มีต่อผลผลิตกุ้งรุ่นลูก เป็นการนำพ่อพันธุ์ Small Male, Strong Orange Claw และ Blue Claw มาผสมพันธุ์กับเพศเมียจนได้ลูก จากนั้นนำลูกไปเลี้ยงรวมกันในบ่อดินแล้วใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอจำแนกกุ้งผลผลิต เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตระหว่างลูกจากพ่อพันธุ์แต่ละวรรณะ ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการเลี้ยงลูกกุ้งที่ได้จากพ่อพันธุ์ทั้ง 3 วรรณะรวมกันในบ่อดิน การศึกษาอิทธิพลของพ่อพันธุ์ที่มีต่อผลผลิตกุ้งรุ่นลูกจะแล้วเสร็จในโครงการปีที่ 3 ซึ่งมีระยะเวลา 6 เดือน<br><br>Giant freshwater prawn (GFP) business in Thailand is very large and high in value. In 2019, GFP farming area in the country covers approximately 70,920 rai, with a yield value of 5,172 MB. All GFP farming uses prawn larvae from hatcheries. AT present, it has begun to use the larvae with a male ratio of not less than 80%, which will give better yields than the use of normal mixed-sex larvae. However, the larval production with high male ratio and free from MrNV virus that caused the high mortality of the larvae faced a shortage of male broodstock. This research aimed to generate information for planning a production of male broodstock in hatcheries, free of the virus, and to study the influent of male morphotypes on their larvae. From the aims, morphotype changing cycle and characters of the reproductive tissues of the male breeders in rearing captivity, and the influence of male morphotypes on yield of their larvae by using microsatellite DNA markers for traceability from the yield of each morphotype were studied. The study of morphotype changing cycle was conducted by introducing GFP male into solitary rearing system in captivity, and then follow the molting cycle to enter various morphotypes. Sexual fertility was periodically observed from reproductive tissues. It was found that GFP male had a morphotype changing cycle starting from small male, going through orange claw male and strong orange claw male, respectively, before progressing into blue claw male morphotype. Then the blue claw male enters the morphotype change by throwing off both claws to no claw male and regenerating of both claws. Therefore, the male return to the BC. The changing duration varies from morphotype to morphotype. Study on reproductive tissues revealed that male broodstock of each morphotype had clearly different characters of the tissues. However, spermatozoa can be found in the seminal ducts of all morphotypes, but different spermatozoa density was observed. By bringing male of each morphotype to mate with female to produce larvae, it was found that the mating tank using SOC male had the highest number of newly hatched larvae, followed by the use of BC and SM, respectively. This information can be used for planning the production of virus-free male breeders, in order to obtain sufficient number of broodstock for industrial-scale larval production.In the study of male morphotypes influencing on yield of their larvae, SM, SOC and BC were bred with females to produce larvae. The larvae were then reared altogether in earthen pond and used DNA markers to identify the harvested prawns, to compare the growth rate between larvae from each male morphotype. We are now in the process of raising larvae, from the three male morphotypes, in the earthen pond. The study of the male morphotypes on their larvae will be completed in the 3rd year project, which lasts 6 months.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ