Notifications

You are here

อีบุ๊ค

นวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความปกติให...

TNRR

Description
การวิจัยเรื่องนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความปกติใหม่หลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความต้องการและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว 2. เพื่อวิเคราะห์และค้นหาองค์ความรู้เชิงวิชาการในการพัฒนาบุคลากรและแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3. เพื่อค้นหาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 4. เพื่อค้นหานวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความปกติใหม่หลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 มีวิธีการดำเนินงานด้วยการวิจัยแบบผสมผสานวิธีแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็น 4 ระยะ ผลการวิจัย พบว่า 1. ด้านความต้องการและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยนักท่องเที่ยวกลุ่มวัยทำงานที่เลือกท่องเที่ยวในวันหยุดสุดสัปดาห์ในพื้นที่ไม่ห่างไกล เดินทางสะดวก ใช้จ่ายไม่มากสำหรับการท่องเที่ยวต่อครั้ง มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม มีเจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยความสุภาพเป็นมิตร และมีร้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพ 2. ด้านองค์ความรู้เชิงวิชาการในการพัฒนาบุคลากรและแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร สำหรับผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจากการปรับตัว การจัดการความรู้เกษตรทั้งพืชและสัตว์ เทคโนโลยีทางการเกษตร การจัดสถานที่ การผสมผสานระหว่างศิลปะกับภูมิสถาปัตย์ อุตสาหกรรมบริการและการจัดการธุรกิจครบวงจร มาตรฐานที่พักและความปลอดภัย การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาบุคลากร การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง 3. ด้านข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นองค์ประกอบที่เสนอต่อหน่วยงานภาครัฐทั้งระดับท้องถิ่นถึงระดับประเทศ ที่มีความสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัจจัยภายในระดับมหภาค (Internal-Macro Factors) เป็นการวิเคราะห์บทบาทและหน้าที่การบริหารของหน่วยงานภาครัฐทุกระดับ รวมถึง ความคุ้มค่าของการบริหารแต่ละส่วนงาน ปัจจัยภายในระดับจุลภาค (Internal-Micro Factors) เป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ตามองค์ประกอบการสนับสนุนการบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐต่อธุรกิจภายในประเทศ ปัจจัยภายนอกระดับมหภาค (External-Macro Factors) เป็นการวิเคราะห์การบริหารปัจจัยพื้นฐานตามนโยบายของหน่วยงานภาครัฐที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ปัจจัยภายนอกระดับจุลภาค (External-Micro Factors) เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารธุรกิจในอุตสาหกรรมบริการสำหรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และปัจจัยการตัดสินใจในการลงทุน (Decision Making to Invest) เป็นการประเมินสถานการณ์การดำเนินธุรกิจจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 4. นวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความปกติใหม่หลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 เป็นการปรับตัวในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐ จึงเป็นที่ค้นพบเกี่ยวกับนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีความหลากหลายในประเทศไทย ได้แก่ การเรียนรู้การเกษตร ผสมผสาน ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ฟาร์มประมง สวนดอกไม้ แบบสวนดอกไม้กับศิลปะ เทคโนโลยีการเกษตร ทุ่งนาข้าว นาเกลือ สวนมะพร้าว พื้นที่สูง เชิงเกษตรและที่พัก ผสมผสานเชิงจิตวิญญาณ สวนสตอเบอรี่ และจำลองสถานที่ท่องเที่ยว<br><br>The research on the title Innovative Agricultural Tourism in the Context of New Normality after the Outbreak of the Covid-19 has a purpose that includes; 1. To study the demand and behavior of tourists 2. To analyze and search for academic knowledge in personnel development and agricultural tourism sites 3. To find policy recommendations and 4. To find Innovative agricultural tourism in the context of new normality after the outbreak of the Covid-19. The research operation is the multiphase mixed methods that have four phases, the results of the research found that 1. The demand and behavior of tourists in agricultural tourist attractions by working-age tourists who choose to travel on weekends in remote areas, convenient to travel, not spending much for each trip beautiful environment and there is staff to provide service with politeness and friendliness. and has quality food and beverage outlets. 2. Academic knowledge in personnel development and agricultural tourism sites for entrepreneurs in tourist attractions, including agricultural tourism management, tourism development through adaptation, agricultural knowledge management for both plants and animals, agricultural technology, arranging the tourism place, the combination of art and landscape, Service industry and integrated business management, accommodation and safety standards, using English for tourism development, personnel development and adaptation to change. 3. Policy recommendations for the development of agricultural tourism, it is a component that is proposed to government agencies at both local and national levels. that are consistent with the policies and development plans of relevant government agencies, including Internal-Macro Factors is an analysis of the roles and duties of the administration of government agencies at all levels, including the cost-effectiveness of each administration. Internal-Micro Factors is a feasibility analysis based on the components of government administration support to domestic businesses. External-Macro Factors is an analysis of fundamental management in accordance with the policies of government agencies that support agricultural tourism business operations. External-Micro Factors is an analysis of business administration components in the service industry for agricultural tourism. Decision Making to Invest is an assessment of the business situation by analyzing the relevant factors. Innovative agricultural tourism in the context of new normality after the outbreak of the Covid-19 Agritourism innovation in the context of the new normal after the Covid-19 epidemic is an adaptation in the management of agricultural tourism of tourists, entrepreneurs, and government agencies. Therefore, it was discovered about the diversity of agricultural tourism innovations in Thailand, such as agriculture learning, combining animal farms, fishing farms, flower gardens, flower gardens, and art. Agricultural technology, rice fields, salt fields, coconut plantations, highlands agricultural fields, and accommodation spiritual blend strawberry garden and simulating tourist attractions.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ