Notifications

You are here

อีบุ๊ค

การยอมรับและอิทธิพลของการปลูกหญ้าแฝกต่อการอนุรักษ์...

TNRR

Description
การศึกษาการยอมรับและอิทธิพลของการปลูกหญ้าแฝกต่อการอนุรักษ์ดินและน้ำของเกษตรกรผู้ได้รับการขุดสระน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกและไม่ปลูกหญ้าแฝก ศึกษาผลการใช้มาตรการหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำของต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมี และทางกายภาพของดินและน้ำ และเพื่อศึกษาการยอมรับ ทัศนคติ และพฤติกรรม ของเกษตรกรกลุ่มที่มีได้รับการขุดสระที่ปลูกหญ้าและไม่ปลูกหญ้าแฝก การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกหญ้าแฝก โดยใช้แบบสอบถามปลายปิด (Close-ended Questions) เป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์เกษตรกร 150 ราย และวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติก ผลการศึกษาพบว่า ระดับการศึกษา การได้รับข้อมูลข่าวสาร และการมีประสบการณ์ในการฝึกอบรม เป็นปัจจัยที่มีผลให้เกษตรกรมีการตัดสินใจปลูกหญ้าแฝกมากขึ้น โดยระดับการศึกษาและการได้รับข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับการยอมรับมาตรการหญ้าแฝก โดยมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ 0.05 ส่วนการมีประสบการณ์ในการฝึกอบรมมีความสัมพันธ์กับการยอมรับมาตรการหญ้าแฝก โดยมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ 0.01 ดินร่วนเหนียวปนทราย (SCL) และดินร่วนเหนียว (CL) เป็นชนิดของดินที่ขุดสระน้ำ โดยตัวอย่างดินทั้งสองชนิดถูกเก็บที่ระดับความลึก 0 – 15 และ 15 - 30 เซนติเมตร เพื่อมาวิเคราะห์สมบัติทางเคมี กายภาพ และชีวภาพของดิน ได้แก่ ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (เปอร์เซนต์) ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน ค่าการนำไฟฟ้าของดิน ค่าความหนาแน่นรวมของดิน และค่าความพรุนของดิน การกระจายตัวของดิน การแทรกซึมของน้ำในดิน และกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตในดิน ผลการศึกษาพบว่า ในส่วนของดินขอบสระเนื้อดินร่วนเหนียวปนทราย (SCL) ที่ระดับความลึก 0 – 15 เซนติเมตร พบว่าการปลูกหญ้าแฝกมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสมบัติดินดังกล่าว ได้แก่ ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (เปอร์เซนต์) ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน ค่าการนำไฟฟ้าของดิน ค่าความหนาแน่นรวมของดิน และค่าความพรุนของดิน ในขณะที่ในเนื้อดินร่วนเหนียว (CL) ที่ระดับความลึก 15 – 30 เซนติเมตร การปลูกหญ้าแฝกมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสมบัติดินดังกล่าว ได้แก่ ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (เปอร์เซนต์) ค่าการนำไฟฟ้าของดิน ค่าความหนาแน่นรวมของดิน และค่าความพรุนของดิน และเสถียรภาพของดิน การยอมรับมาตรการหญ้าแฝกของเกษตรกร พบว่า ระดับการยอมรับของเกษตรกรส่วนใหญ่ อยู่ในระดับการนำไปปฏิบัติ โดยเกษตรกรได้นำเอาความรู้เกี่ยวกับการชะล้างพังทลาย และการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำมาสู่การปฏิบัติปลูกหญ้าแฝกริมขอบสระน้ำ ในขณะที่ขั้นไตร่ตรองเป็นระดับการยอมรับที่น้อยที่สุดซึ่งเกษตรกรยังคงอยู่ในระหว่างการตัดสินใจว่าจะปลูกหรือไม่ปลูกหญ้าแฝก เกษตรกรยังคงพิจารณาถึงข้อจำกัดของตนเองในการปลูกหญ้าแฝกริมขอบสระ จึงส่งผลให้เกษตรกรยังไม่ยอมรับมาตรการหญ้าแฝกเพื่อไปปลูกริมขอบสระ อย่างไรก็ตามกลุ่มเกษตรกรกลุ่มดังกล่าวมีศักยภาพที่จะพัฒนาให้เป็นระดับการยอมรับในขั้นปฏิบัติหรือทดลองทำได้ ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มกระบวนการยอมรับมาตรการหญ้าแฝก ทำได้ดังนี้ 1.) การทดสอบระดับการยอมรับมาตรการหญ้าแฝก ควบคู่ไปกับการสำรวจความต้องการขุดสระ 2.) ขยายแหล่งผลิตกล้าหญ้าแฝกและแหล่งให้บริการกล้าหญ้าแฝกในศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินระดับอำเภอ เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงได้ง่าย 3.) หน่วยงานควรเพิ่มความถี่และช่องทางในการส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายและการใช้มาตรการหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ 4.) สร้างมาตรการเพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่เกษตรกร โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่มีระดับการยอมรับอยู่ในขั้นไตร่ตรอง วิธีการสร้างแรงจูงใจ เช่น การมอบหมายให้หมอดินอาสาในพื้นที่นั้นๆช่วยเกษตรกรเจ้าของแปลงวางแนวการปลูกหญ้าแฝก วางแผนการเพาะปลูก และการใช้ประโยชน์ที่ดินในระดับไร่นา 5.) สนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกหญ้าแฝก 6.) สนับสนุนการจัดตั้งธนาคารกล้าหญ้าแฝก<br><br>This study was carried out in Chaiyaphum Province to determine the factors influencing the adoption of vetiver grass as soil and water conservation, and to investigate the change of soil and water properties. It also examined the adoption, attitude, and behavior of farm households. The primary information (interviewing) was collected from 150 farm households through a structured questionnaire (Close-ended Questions), then analyzed by using logistic regression. The results revealed that the education level (EDU), information access (FIA) and training (TRAIN) increased the likelihood for the farmers to accept vetiver grass implementation and these factors were significantly correlated at 0.05, 0.05, and 0.01 respectively. The texture of sandy clay loam (SCL) and clay loam (CL) were two types of soil texture found in the farm pond project. The soil horizons from 0 – 15 and 15 – 30 cm depths were collected, under the ridge of the farm pond. The sample soils in each layer to measure the biophysical soil properties such as OM (%), pH, EC, BD (%), total porosity (%), aggregate stability, dispersive soil, water infiltration, and fauna activity. Meanwhile, water quality monitoring was turbidity, phosphate, and nitrate. The findings of the study revealed that vetiver grass affected measurements of OM (%), pH, EC, BD (%), and total porosity (%) especially, for SCL with vetiver grass, 0 – 15 cm. Moreover, the CL with vetiver grass, 15 – 30 cm. were similar to the trend of soil changes under SCL. Significantly soil properties changed were obtained in the CL with vetiver grass, 15 – 30. The differed measurement values were OM (%), EC, BD (%), total porosity (%) and soil aggregate stability. The study revealed that most farmers were adoption stage. These farmers go through in knowing about soil erosion and the benefit of vetiver grass as a technique for soil and water conservation measure. Then, the farmer has decided to apply vetiver grass as a technique to reduce soil erosion and continue its use. Meanwhile, an evaluation stage was the few farmers. The results indicate that the probability of a farmer adopting vetiver grass as soil and water conservation increased if the farmers under the farm ponds project were a person in the adoption stage. With the increase in measurement of vetiver grass adoption, it could be following; 1.) The testing of vetiver grass adoption should be criteria on farm ponds project, 2.) To distribute vetiver grass propagation plots at the district level, 3.) Training provides will presumably change the perception of the farmers towards vetiver grass technology and the awareness of positive effects of vetiver grass utilization, 4.) Effective incentives are essential to creating adoption of the vetiver grass as soil and water conservation especially, among evaluation stage persons. For example, individual land-use planning at farm levels by soil doctor volunteers is an effective incentive. Its also increasing awareness of adopting vetiver grass as soil and water conservation, 5.) Setup of vetiver grass fanatics networks and 6.) Establishment of vetiver grass banks.

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ