Notifications

You are here

อีบุ๊ค

โครงการเทคโนโลยีคู่แฝดดิจิทัลเพื่อการบริหารจัดการอ...

TNRR

Description
การพัฒนาของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตระหว่างสรรพสิ่ง ทำให้ลักษณะการทำงานของอุปกรณ์ระบบอาคารเปลี่ยนจากระบบการรับคำสั่งจากส่วนกลางมาสู่การทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบของชุดข้อมูลดิจิทัลผ่านอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต (IoT) เมื่อนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาผนวกกับแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) ซึ่งเป็นข้อมูลอาคารในรูปแบบดิจิทัล จะเอื้อให้เกิดการจัดการข้อมูลด้วยการใช้คู่แฝดดิจิทัล ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อข้อมูลที่เกิดขึ้นทางกายภาพเข้ามายังระบบดิจิทัล โดยมีระบบการแสดงผลและการจัดการข้อมูลที่สอดคล้องกับข้อมูลกายภาพเชิงพื้นที่ของอาคารการดำเนินโครงการในครั้งนี้เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีอาคารในภาคสนาม โดยการติดตั้งอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต (IoT) ลงในต้นแบบอาคารอัจฉริยะ ซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ ตึกแถว 5 ชั้น พื้นที่อาคารรวม 270 ตร.ม. โดยประกอบด้วย อุปกรณ์ตรวจจับด้านความปลอดภัย อุปกรณ์ตรวจจับสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ควบคุมระบบปรับอากาศ อุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้ากำลังและไฟฟ้าแสงสว่าง อุปกรณ์ควบคุมม่าน และอุปกรณ์ควบคุมการเข้าออกพื้นที่ จากนั้นจึงทำการผสานข้อมูลจากเครือข่ายอุปกรณ์ดังกล่าว เข้ากับแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) ผ่านบริการจัดการข้อมูลบนระบบเครือข่าย Autodesk Forge และสร้างระบบโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ (Web Application) ที่มีอินเตอร์เฟสทั้งในรูปแบบกราฟฟิก 2 มิติ และ 3 มิติ โดยประกอบด้วย อินเตอร์เฟสเชิงพื้นที่ การจัดการสิทธิ์ผู้ใช้งาน การควบคุมอุปกรณ์อัจฉริยะ การดูข้อมูลการใช้พลังงานของอาคาร การแสดงผลสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ระบบรักษาความปลอดภัย พื้นที่ปรับแต่งเฉพาะตัว ระบบรับมือเหตุฉุกเฉิน และต้นแบบระบบอัพเดทข้อมูลอาคาร ผลจากการดำเนินงานพบว่าระบบเทคโนโลยีคู่แฝดดิจิทัล สามารถทำงานได้อย่างราบรื่นทั้งในการรับและส่งข้อมูลจากเครือข่ายอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต (IoT) ที่ติดตั้งอยู่ในต้นแบบอาคารอัจฉริยะ โดยมีการจัดการข้อมูลด้วยแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) ผ่านบริการจัดการข้อมูลบนระบบเครือข่าย Autodesk Forge ทั้งนี้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) เป็นฐานข้อมูลอาคารดิจิทัลที่ทรงประสิทธิภาพ ในการจัดการ ข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ข้อมูลการทำงานของอุปกรณ์ระบบอาคาร ข้อมูลการใช้งานเชิงพื้นที่ของผู้ใช้อาคาร และเป็นเครื่องมือในการประสานงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องกับการใช้อาคารแต่ละฝ่าย โดยการพัฒนาแบบจำลองสารสนเทศอาคารแบบเคลื่อนไหว (Dynamic BIM) จากแบบจำลองสารสนเทศอาคารดั้งเดิม (Originate BIM) ซึ่งประกอบด้วย การจัดการแบบจำลองสารสนเทศอาคารดั้งเดิม (Originate BIM) ได้แก่ การลดทอนระดับความละเอียด และการจัดการมุมมองข้อมูลกราฟฟิค 3 มิติ และการสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคารเสริม (Additive BIM) ได้แก่ การสร้างโมเดลเลือกพื้นที่เพื่อใช้งานร่วมกับ ระบบจัดการสิทธิ์ผู้ใช้งาน การสร้าง โมเดลอุปกรณ์เสมือนและพารามิเตอร์ที่จำเป็นสำหรับ การควบคุมและดูข้อมูลจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตที่ติดตั้งลงในอาคาร การสร้างโมเดลลูกบาศก์อัจฉริยะ สำหรับแสดงผลข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในอาคารและ การสร้างโมเดลพื้นผิวอัจฉริยะสำหรับใช้งานในต้นแบบระบบอัพเดทข้อมูลอาคารคำสำคัญ: คู่แฝดดิจิทัล, แบบจำลองสารสนเทศอาคาร, อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต, อาคารอัจฉริยะ<br><br>Development of Internet of Things make a great change to building equipment from one-way communication from control center to systematic two-way communication network between each device via wireless network, integration with BIM will facilitate building data management with Digital Twin Technology which is the real-time digital counterpart of a physical world with display, monitor and data management system correlate to physical data of the building.This study is a field test of digital twin technology deployment in a rental office building, 5 story with 270 sq. m. rental area by installing IoT device to create smart building prototype consist of safety sensor, environment sensor, HVAC controller, lighting controller, outlet controller, curtain controller and security and accessibility device, integrate data from IoT device with BIM via Autodesk Forge web service, develop web application with 2D and 3D interface consist of Spatial Interface, User Authorization, Smart Device Control, Power Consumption Monitoring, Indoor Environment Display, Security & Accessibility, Customized Space, Emergency Response System, Prototype of Building Update ServiceAs a result of the operation, digital twin technology working properly both in receiving and transmitting data from IoT network, installed in smart building prototype, integrated with BIM via Autodesk Forge web service to create smart building data management platform. However BIM is a powerful digital building middleware for management of physical building data, indoor environment data, building equipment operation data and building usage data, and coordination tool between building occupants, by develop Dynamic BIM from Originate BIM of the building which consist of Management of Originate BIM including Originate BIM Simplification and Display and Graphic Management, and Additive BIM Creation including Area Selection Model for User Authorization, Virtual Device for Smart Device Control, Smart Cube for Indoor Environment Display, Smart Panel for Prototype of Building Update Service.Keywords: Digital Twin, BIM, IoT, Smart Building

Date of Publication :

02/2023

Publisher :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Category :

รายงานการวิจัย

Total page :

77012 pages


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ